เบรกลาออก 'ฐากร' ยืดถึง 1 ก.ค. 63

เบรกลาออก 'ฐากร' ยืดถึง 1 ก.ค. 63

ประธานกสททช.เซ็นคำสั่งระงับจดหมายลาออก “ฐากร” ออกไปตามเดิมที่ขอมีผล 18 พ.ค.นี้ ระบุบ้านเมืองเจอผลกระทบโควิด อีกทั้งยังมีภาระกิจสำคัญที่ต้องสานต่อหากขาดหัวเรือใหญ่จะไม่ต่อเนื่อง ระบุให้มีผลวันที่ 1 ก.ค.แทน

2.การจัดหาผู้ประกอบการดาวเทียมทดแทนไทยคม 5 หลังจากที่บมจ.ไทยคม จะหมดอายุสัญญาสัมปทานกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในเดือนก.ย.ปี 2564 และ 3.การจัดสรรคลื่นความถี่ 3500 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาประมูลในกิจการโทรคมนาคมเป็นต้น ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าหน่วยงานขณะนี้ อาจมีผลให้ขาดความต่อเนื่อง และไม่สามารถบรรลุภารกิจดังกล่าวได้ 

ดังนั้น จึงเห็นควรยับยั้งการลาออกจากตำแหน่งของนายฐากรไว้ก่อน เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 60 วรรคหนึ่งแห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมพ. ศ. 2553 จึงมีคำสั่งให้นายฐากร พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการกสทช.ไปเป็นวันที่ 1 ก.ค.2563

ทั้งนี้ นายฐากรมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการประมูลคลื่นความถี่ในไทย ตั้งแต่ปี 2555 การจัดประมูล 3จีคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ทำเงินรวมเข้ารัฐ 41,625 ล้านบาท ต่อมาปี 2558 ประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทำเงินเข้ารัฐอีก 80,778 ล้านบาท และในปีเดียวกันมีการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ได้เงินรวมเข้ารัฐมากเป็นประวัติการณ์คือ 151,952 ล้านบาท

ต่อมาปี 2561จัดประมูล คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ทำเงินประมูลเข้ารัฐ 25,022 ล้านบาทและปี 2562 คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ได้เงินกว่า 56,544 ล้านบาท และล่าสุดเมื่อวันที่ 16 ก.พ.ประมูล 5จีทำรายได้ถึง 100,521 ล้านบาท ดังนั้น หากรวมการจัดประมูล 5 ครั้งช่วงเวลา 9 ปี ทำเงินเข้ารัฐได้เกิน 490,714 ล้านบาท