"เวียงป่าเป้า" ทำไมมีศูนย์เรียนรู้ด้านอวกาศ สอนอะไร

"เวียงป่าเป้า" ทำไมมีศูนย์เรียนรู้ด้านอวกาศ สอนอะไร

“กมธ.ดีอีเอส” จับมือ “GISTDA” เปิดศูนย์เรียนรู้ด้านอวกาศเวียงป่าเป้า ตั้งเป้าสร้างฐานความเข้มแข็งให้ชุมชนทั่วประเทศด้วยเทคโนโลยีอวกาศ

คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เปิด “โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีอวกาศ หรือ Space Technology Laboratory” ณ วิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป้า อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

การจัดตั้งศูนย์นี้ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในการส่งต่อคุณค่าให้กับประชาชนและสังคม โดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ให้กับเยาวชน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะให้เยาวชนหันมาสนใจเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อจะนำไปพัฒนาต่อยอดสร้างประโยชน์มากขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมให้คนไทยสามารถสร้างอาชีพด้านอวกาศในอนาคต

ตลอดจนการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดย กมธ.ดีอีเอส พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อสานฝันให้กับเยาวชนไทยต่อไป
    
ด้านพันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กมธ.ดีอีเอส กล่าวว่า โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อขยายการรับรู้และการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเทคโนโลยีดาวเทียมและการประยุกต์ใช้ ให้ลงสู่ชุมชนให้มากขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดของการสร้างดาวเทียมที่เปลี่ยนไปมากจากในอดีต 

ทั้งนี้ในอดีตการสร้างดาวเทียมหรือส่งดาวเทียม จะสามารถทำได้ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีบุคลากร วิศวกรที่มีความรู้ ความชำนาญเป็นพิเศษและมีแต่ต้นทุนในการสร้างสูงมาก แต่ในปัจจุบันโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาก็สามารถสร้างดาวเทียมเพื่อการศึกษาและวิจัยได้เองแล้ว

โดยมีต้นทุนที่ต่ำลงมากแต่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งาน และการดำเนินงานในครั้งนี้ยังเป็นการขยายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย 
    
เรื่องของเทคโนโลยีอวกาศเป็นเรื่องที่หลายคนหลายหน่วยงานให้ความสนใจทั้งในภาครัฐและโดยเฉพาะในภาคธุรกิจ จะเห็นได้จากจำนวนของบริษัทและผู้ประกอบและบริษัทที่สนใจและเข้ามาดำเนินงานในธุรกิจดาวเทียมและอุตสาหกรรมอวกาศที่มีเพิ่มมากขึ้น และสามารถผลิตชิ้นส่วนด้านการบินและอากาศยานเพื่อส่งออก

\"เวียงป่าเป้า\" ทำไมมีศูนย์เรียนรู้ด้านอวกาศ สอนอะไร

หรือแม้แต่การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับการพัฒนาประเทศ 

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าหลายประเทศได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในด้านดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานและมีการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ เอกชนและกลุ่ม start-up เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ตรงจุดและทันต่อเหตุการณ์ การใช้งานในภาคการเกษตรก็ถูกยกระดับกลายเป็นธุรกิจระดับที่สตาร์ทอัพที่เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น 

จากแนวความคิดดังกล่าว จึงได้มีการร่วมหารือในแนวทางและลงมือปฏิบัติ โดยเริ่มต้นในระดับเยาวชน กมธ.ดีอีเอส , GISTDA พร้อมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้ร่วมหารือกันด้วยวัตถุประสงค์ที่เห็นพ้องต้องกันคือ

ต้องการพัฒนาพื้นที่ในส่วนภูมิภาค และสร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านกิจการอวกาศที่ทันสมัย ยกระดับการเรียนรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลดาวเทียมและการประยุกต์ใช้งาน

\"เวียงป่าเป้า\" ทำไมมีศูนย์เรียนรู้ด้านอวกาศ สอนอะไร

เช่น ใช้ในการวางแผนจัดการทรัพยากรน้ำ ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประเมินผลกระทบจากภัยพิบัติ เพื่อการแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้า และลดผลกระทบหรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งต่อบุคคลและทรัพย์สิน 
    
ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวว่า ศูนย์การเรียนรู้นี้จะทำให้ภาคเหนือมีศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศ ดาวเทียมสำรวจโลก ภูมิสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ที่ทันสมัย

เด็กนักเรียนได้ตระหนักและเข้าถึงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้เกิดแรงบันดาลใจในการอยากเรียนรู้และอาจนำไปสู่อาชีพ กิจการในอนาคต 

สำหรับประชาชนและคนในพื้นที่จะได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการดูแลชุมชน รวมถึงทรัพยากรต่างๆ ในพื้นที่ เช่น การติดตามภัยและเตรียมความพร้อมจากไฟป่าและหมอกควันหรือน้ำท่วม หรือแม้แต่การสนับสนุนข้อมูลภัยแล้งหรือสภาพอากาศสำหรับการเตรียมการ การติดตามการเพาะปลูกและดูแลพืชอย่างเหมาะสม เป็นต้น 

\"เวียงป่าเป้า\" ทำไมมีศูนย์เรียนรู้ด้านอวกาศ สอนอะไร
    
อีกหนึ่งความสำคัญที่ต้องกล่าวถึงคือ วิทยาลัยเวียงป่าเป้าที่ให้การสนับสนุนสถานที่ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอวกาศอย่างจริงจัง โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือต้องการให้เยาวชนในพื้นที่ได้เรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศ และตระหนักในเรื่องของสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่อาศัยอยู่ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้งานในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม 

การเริ่มต้นในวันนี้กับกลุ่มเยาวชนจึงเป็นสิ่งที่ดี อนาคตเราจะได้เห็นประเทศไทยจะก้าวไกลในด้านภารกิจอวกาศและสามารถต่อยอดไปสู่เศรษฐกิจอวกาศและเวทีระดับโลก

อีกทั้งเป็นการเน้นย้ำบทบาทของประเทศไทย ที่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการให้มีใช้ประโยชน์จากอวกาศ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็น 1 ในยุทธศาสตร์สำคัญตามแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาอีกด้วย.