ย้อนมหากาพย์ "ไทยคม-ดีอีเอส" หลังอนุญาโตฯชี้ขาดไทยคม7-8อยู่นอกสัมปทาน

ย้อนมหากาพย์ "ไทยคม-ดีอีเอส" หลังอนุญาโตฯชี้ขาดไทยคม7-8อยู่นอกสัมปทาน

ไทยคมได้เฮ! หลังต่อสู้ข้อพิพาทกับดีอีเอสมายาวนาน ท้ายที่สุดอนุญาโตตุลาการมีคำสั่งชี้ขาดให้ไทยคม 7 และ 8 ไม่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานแต่เป็นดาวเทียมรับไลเซ่นส์จากกสทช.

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทดาวเทียมไทยแห่งแรกของประเทศ ซึ่งได้ดำเนินธุรกิจมายาวนานร่วม 3 ทศวรรษ ในฐานะคู่สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (สัญญาสัมปทาน) กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ซึ่งสัญญาดังกล่าว มีอายุ 30 ปี ตั้งแต่ 11 กันยายน 2534 - 10 กันยายน 2564

บริษัทฯได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานตามสัญญาและเจตนารณ์ของสัญญามาโดยตลอดในการดำเนินการตามสัญญาสัมปทานจนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ได้มีการจัดสร้างดาวเทียมด้วยต้นทุนของบริษัทฯ และโอนกรรมสิทธิ์ในดาวเทียมให้เป็นทรัพย์สินของภาครัฐไปแล้วจำนวน 6 ดวง รวมมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท 

พร้อมกับได้นำส่งค่าส่วนแบ่งรายได้ของดาวเทียมทั้ง 6 ดวงรวมกันเป็นรายได้ให้แก่ภาครัฐ จนถึงปัจจุบัน เป็นเงิน 13,852.84 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าค่าตอบแทนขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในสัญญาคือ 1,415 ล้านบาทจำนวนมาก

อีกทั้ง บริษัทยังมีส่วนสำคัญในการจองสิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมให้กับประเทศและช่วยดำเนินการรักษาสิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมไม่ให้ประเทศไทยต้องเสียสิทธิตลอดมาทั้งที่การดำเนินการบางกรณีมิใช่หน้าที่ตามสัญญาสัมปทานในการดำเนินโครงการดาวเทียมสื่อสาร รัฐยังได้รับการส่งมอบดาวเทียมบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตดวงแรกของโลก คือดาวเทียมไทยคม 4 หรือ (ไอพีสตาร์)

ย้อนมหากาพย์ "ไทยคม-ดีอีเอส" หลังอนุญาโตฯชี้ขาดไทยคม7-8อยู่นอกสัมปทาน

โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ จึงตั้งใจและมุ่งมั่นที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของสังคม ประเทศชาติ และผู้ถือหุ้นทุกรายการจัดสรรวงโคจรด้วยการประมูลตามประกาศของ กสทช. เมื่อกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง โดยในปัจจุบัน กสทช. มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรวงโคจร สำหรับการยิงดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นใช้งาน ซึ่ง กสทช. ได้มีการออกประกาศหลักเกณฑ์ในการจัดสรรวงโคจรด้วยการประมูล

โดยเปิดกว้างให้เอกชนทุกรายที่เป็นบริษัทไทยสามารถเข้าประมูลได้ ในกรณีที่เอกชนรายใด ไม่มีประสบการณ์ในการประกอบกิจการดาวเทียมมาก่อน ก็อนุญาตให้ไปร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่นที่เป็นบริษัทไทยหรือบริษัทต่างชาติก็ได้ที่มีประสบการณ์และร่วมกันมาเข้าประมูลวงโคจรได้ โดยวัตถุประสงค์ในการประมูล ก็เพื่อเป็นการรักษาวงโคจรที่มีอยู่ของประเทศ เพราะหากไม่มีดาวเทียมขึ้นไปใช้งานตามเวลาที่กำหนดประเทศไทยก็จะเสียสิทธิในการใช้วงโคจรดังกล่าว และเพื่อเป็นการนำรายได้จากการประมูลเข้าประเทศด้วย

นอกจากนี้ก็ยังมีการออกหลักเกณฑ์เพื่อเปิดเสรี ในการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมอีกด้วย โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบการดาวเทียมของต่างประเทศมาให้บริการในประเทศไทยได้

ย้อนมหากาพย์ "ไทยคม-ดีอีเอส" หลังอนุญาโตฯชี้ขาดไทยคม7-8อยู่นอกสัมปทาน

กรณีดาวเทียมไทยคม 7 และ ไทยคม 8 ประเด็นดังกล่าว ไทยคมดำเนินโครงการดาวเทียมไทยคม 7 และ ดาวเทียมไทยคม 8 โดยได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 จาก กสทช. และได้รับอนุญาตให้นำวงโคจรมาใช้กับดาวเทียมไทยคม 7 และไทยคม 8 จาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในปัจจุบัน) และผ่านการพิจารณาเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งการที่ กสทช. ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ให้แก่บริษัทฯ นั้นเป็นการปฏิบัติตามพ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคมที่กำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาต เทียบเคียงได้กับ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ผู้ประกอบการมือถือทุกรายได้สิ้นสุดการให้บริการภายใต้สัญญาสัมปทาน และดำเนินการ 

ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กสทช. เช่น ในการประมูลคลื่นความถี่ 3G 4G และ 5G ที่ผ่านมาการดำเนินโครงการดาวเทียมไทยคม 7 มีจุดเริ่มต้น มาจากการที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ บริษัทฯ ช่วยรักษาวงโคจรตำแหน่ง 120 องศาตะวันออก ที่กำลังจะหมดอายุลง ซึ่งหากดำเนินการไม่ทัน ประเทศไทยก็จะเสียสิทธิในวงโคจร 120 องศาตะวันออกไปแล้วบริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากภาครัฐ และเห็นชอบโดยมติ ครม. ให้ดำเนินการตามแผนการรักษาสิทธิวงโคจร โดยการสร้างดาวเทียมไทยคม 7 ร่วมกับพันธมิตรต่างประเทศ

โดยมีกรรมสิทธิ์ในส่วนของไทย ซึ่งเป็นแนวทางที่มีการปฏิบัติกันอยู่แล้วในอุตสาหกรรมดาวเทียม ณ เวลาที่เริ่มดำเนินโครงการไทยคม 7 และ ไทยคม 8 นั้น เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในการประกอบกิจการดาวเทียมแล้ว และบริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการภายใต้ระบบใบนุญาตตามกฎหมายใหม่ (พรบ กสทช) โดยได้รับอนุญาตจากภาครัฐครบถ้วนแต่มีประเด็นว่า การทำโครงการดาวเทียมใหม่จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายใหม่

แต่กระทรวงดีอีเอสโต้แย้งว่าต้องอยู่ภายใต้สัมปทานเพราะสัญญาสัมปทานยังไม่สิ้นสุด จึงนำไปสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ 

และในท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 6 ต.ค.ที่ผ่านมา อนุญาโตฯได้มีคำสั่งชี้ขาดมาแล้วมาดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมที่ไม่อยู่ภายใต้สัญญาสัมทปาน