#ล้างหนี้กยศ. มีหนี้ก็ต้องใช้ ..ใช่ทางออกแก้ปัญหาหนี้จริงหรือ?

#ล้างหนี้กยศ. มีหนี้ก็ต้องใช้ ..ใช่ทางออกแก้ปัญหาหนี้จริงหรือ?

ดราม่า! เกิดขึ้นทันที เมื่อมีการประกาศล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อยืนแก้ไขกฎหมายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)ต่อรัฐสภาให้รัฐบาลมีกลไกเข้ามาเป็นลูกหนี้แทนผู้กู้หลังสำเร็จการศึกษา 2 ปี

กระแส #ล้างหนี้ กยศ. ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ และเกิดเสียงแตกวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ถึงกรณีดังกล่าว ทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยต่อข้อเรียกร้อง โดยส่วนใหญ่จะเอนไปทาง ไม่เห็นด้วย

“หนี้ กยศ.” ถือว่าเป็นประเด็นที่มีข้อเรียกร้องมาตลอด แต่จะเป็นข้อเรียกร้องให้กลับมาใช้หนี้กยศ. การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา สร้างโอกาสเท่าเทียมทางการศึกษา ทว่าที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มักจะถูกมองว่าเป็นหนี้ให้เปล่า และช่วงแรกๆ การปล่อยให้กู้กยศ. จะเป็นอิสระ คนรวย คนจน หรือคนมีฐานอะไรก็กู้ได้หมด จนกระทั่งได้มีการปรับเกณฑ์ ระเบียบ และเกิดเป็นมาตรการมากมาย ให้ทุกคนที่กู้หนี้กยศ. กลับมาใช้หนี้คืน เพื่อส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้แก่รุ่นน้องต่อไป

#ล้างหนี้กยศ. มีหนี้ก็ต้องใช้ ..ใช่ทางออกแก้ปัญหาหนี้จริงหรือ?

กรณีล่าสุด # ล้างหนี้กยศ. นั้น ส่งผลให้ผู้กู้หนี้กยศ. และชาวเน็ตส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่ให้มีการล้างหนี้ เพราะกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ไม่ใช่กองทุนให้ทุนการศึกษา ให้เงินฟรี แต่เมื่อยืมไปแล้วก็ต้องจ่ายคืน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ล้างหนี้ กยศ. เปิดที่มาแฮชแท็กร้อน ล่าชื่อแก้กฎหมาย อ้างความเหลื่อมล้ำ

                        ลูกหนี้ "กยศ." ต้องรู้! กู้แล้วไม่คืน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?

                        ชำระ "หนี้กยศ." วันสุดท้าย 5 ก.ค. นี้ เช็กวิธีจ่ายง่ายๆ ผ่าน "กยศ. Connect"

                        กยศ. 2565 เปิดให้กู้ยืมเงินพรุ่งนี้ (1 เม.ย.) เช็กเลยรายละเอียด - ขั้นตอน

 

 

  • ปล่อยกู้กว่า 6.2 ล้านราย วงเงินกว่า 6.92 แสนล้านบาท

จากสถิติข้อมูลของ กยศ. ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 พบว่า ขณะนี้ มีผู้กู้ยืมเงินกองทุน จำนวน 6,217,458 ราย อยู่ระหว่างชำระหนี้ 3,458,429 ราย อยู่ในช่วงปลดหนี้ 1,056,958 ราย ชำระหนี้เสร็จสิ้น 1,633,702 ราย  เสียชีวิตและทุพพลภาพ 68,369 อยู่ในกระบวนการฟ้องร้อง 1 ล้านราย มูลหนี้ 1.2 แสนล้านบาท

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง ฐานะประธานกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่ากองทุนคิดอัตราดอกเบี้ยเพียง 1% เท่านั้น แต่ในช่วงโควิดกองทุนก็ได้ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาผลกระทบ สำหรับลูกค้าที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ เหลือ 0.01%

#ล้างหนี้กยศ. มีหนี้ก็ต้องใช้ ..ใช่ทางออกแก้ปัญหาหนี้จริงหรือ?

ส่วนกรณีที่มีข่าวระบุว่าเบี้ยปรับของกองทุนมีอัตราที่ค่อนข้างสูง ขอเรียนชี้แจงว่า ผู้กู้รายใดถูกดำเนินคดี ศาลจะพิพากษาให้ชำระเบี้ยปรับในอัตรา 7.5% ต่อปี อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาผลกระทบโควิด ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นมา กยศ.ก็ได้มีมาตรการลดหย่อน โดยลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือเพียง 0.5% ต่อปี ขณะเดียวกันในช่วงโควิด กยศ.ยังได้ชะลอฟ้องร้องดำเนินคดีลูกหนี้กว่า 1.8 แสนราย คิดเป็นวงเงินเฉลี่ยรายละ 1.2 แสนบาท

  • การยกหนี้กยศ. ไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้กยศ.

นายนพดล เภรีฤกษ์ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้แจงกรณีล่ารายชื่อยกหนี้ กยศ. ว่า การยกหนี้ กยศ. ไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้ กยศ. แต่จะทำให้ผู้กู้ขาดวินัยทางการเงิน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต แต่รัฐบาลเข้าใจปัญหาของหนี้ กยศ. ตามกฎหมายปัจจุบัน จึงได้เสนอแก้ไขให้การชำระหนี้ กยศ. ยังคงเป็นไปตามหลัก เป็นหนี้ต้องใช้หนี้ แต่ผ่อนปรนการชำระหนี้ กยศ. ให้สอดคล้องกับรายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

 

  • เปิดใจศิษย์เก่าหนี้กยศ. มีหนี้ก็ควรใช้ ส่งต่อโอกาสแก่ผู้อื่น

"พูม ชินโชติกร" เจ้าของธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ อดีตศิษย์เก่าหนี้กยศ. เล่าว่าครอบครัวของเขามีพี่น้องทั้งหมด 3 คน และคุณพ่อทำงานเป็นเซลล์ เขาและน้องทั้ง 2 คน จะอยู่บ้านกับคุณแม่มาด้วยตลอด ซึ่งช่วยประถมศึกษา เราก็เริ่มรู้แล้วว่าที่บ้านเราไม่ใช่ฐานะดี เราจึงพยายามเรียนหนังสือให้ดี จนสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทางบ้านก็เริ่มมีปัญหาการเงินมากขึ้น จึงได้เริ่มกู้เงินกยศ.เรียนมาตั้งแต่ตอนนั้น

"พูม" เล่าต่อว่า เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ตอนเรียนมหาวิทยาลัย ทั้งค่าเทอม ค่าใช้จ่ายทั้งในการเรียน และการใช้ชีวิต เขาใช้เงินกยศ.ทั้งหมด  แต่หลังจากจบการศึกษา ในช่วงแรกๆ เขาไม่ได้จ่ายเงินตรงตามกำหนด เพราะด้วยการสื่อสาร หรือการดำเนินการต่างๆ เขาไม่ได้เข้าใจทั้งหมด 4-5 ปีแรกเขาจะชำระเงินกยศ.เป็นรายปี โดยรอโบนัสแล้วค่อยจ่าย ซึ่งไม่ตรงกับกำหนดวันจ่าย ทำให้เขาถูกเสียค่าเบี้ยปรับ แต่ตอนนั้นเขารับได้ เพราะค่าเบี้ยปรับไม่มาก

จนกระทั่งเงินเดือนมากขึ้น ก็เริ่มจ่ายรายได้ โดยแบ่งเงิน 10% ของเงินเดือนมาไว้ใช้หนี้กยศ. และเมื่อออกมาทำธุรกิจของตัวเอง มีเงินมากขึ้น จึงได้ไปชำระหนี้ กยศ.ทั้งหมด ซึ่งเขาใช้หนี้กยศ.ทั้งหมดเป็นเวลา 10 ปี ก่อนที่จะครบกำหนดชำระหนี้

#ล้างหนี้กยศ. มีหนี้ก็ต้องใช้ ..ใช่ทางออกแก้ปัญหาหนี้จริงหรือ?

  • ชำระหนี้ไม่ได้ตามกำหนด  กยศ.พร้อมปรับโครงสร้างหนี้

"ถ้าไม่มีการศึกษาที่ดี ไม่มีครอบครัวที่คอยสั่งสอน อาจจะทำให้ผมไม่มีโอกาสและไม่ได้มายืนตรงจุดนี้ ที่เป็นเจ้าของโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น เมื่อผมได้รับโอกาส ก็อยากจะส่งต่อโอกาสไปยังผู้อื่น และการชำระหนี้กยศ. ซึ่งดอกเบี้ยถูกมาก ตั้งแต่ผมต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน ดอกเบี้ยกยศ. 1% ถูกที่สุด แถมเมื่อเรามีปัญหาด้านการเงิน หรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ขอให้ไปหารือกับกยศ.เพื่อปรับโครงสร้างหนี้" พูม กล่าว 

"การศึกษา" สำคัญมาก หากใครมีโอกาสได้เรียนหนังสือขอให้เรียนให้สูงที่สุด เพราะการศึกษา ไม่ได้เพียงให้เรามีความรู้ แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้เรามีหน้าที่การงาน ที่ดี มีความก้าวหน้า ฉะนั้น เมื่อ กยศ.เป็นกองทุนเงินกู้ยืม เพื่อให้โอกาสทางการศึกษา เมื่อได้รับก็ควรจะเป็นผู้ส่งต่อให้แก่ผู้อื่นด้วย 

"พูม" เล่าต่อไปว่า การชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมในรูปแบบไหน ถือเป็นวินัยทางการเงินที่ทุกคนควรจะมี และเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องฝึก ต้องเข้าใจการเงินของตัวเอง ถ้าเงินเดือนไม่พอจ่าย ไม่ว่าจะ ชำระหนี้ กยศ. หรือ ชำระหนี้อื่นๆ ขอให้ไปหารือกับทาง กยศ. หรือทางธนาคาร เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ให้เราสามารถมีการเงินที่ดี ซึ่งเชื่อว่าทางกยศ. หรือทุกธนาคารเอง ก็ไม่อยากเสียหนี้ อยากให้ทุกคนมาชำระหนี้ 

"กรณีการล้างหนี้ กยศ.ที่เกิดขึ้น โดยส่วนตัว ผมมองว่า เมื่อเรากู้ยืมเงินมา ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมแบบไหน เราควรชำระหนี้ และการชำระหนี้กยศ. ไม่ได้เพียงช่วยให้วินัยทางการเงินของเราดีขึ้น แต่ยังเป็นการส่งต่อโอกาสให้แก่ผู้อื่น หากล้างหนี้ โดยรัฐบาลไปหมด เมื่อรัฐบาลไม่มีเงิน กยศ.ไม่มีเงิน แล้วเขาจะเอาเงินที่ไหนไปสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้อื่น ประเทศไทยยังมีผู้ที่ต้องการกู้ยืมเงินเรียนอีกมาก อยากให้ทุกคนที่ได้รับโอกาสชำระหนี้ เพื่อส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้อื่น"พูม กล่าว

  • เปิดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ผู้กู้ยืมเงินกยศ.

ขณะที่ข้อมูลจาก กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และเพจกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พบว่าปัจจุบันมีนโยบายช่วยเหลือผู้กู้ยืม เบื้องต้นคือ ขยายเวลามาตรการลดหย่อนหนี้จากเดิม 30 มิถุนายน 2565 เป็นสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 พร้อมมีมาตรการลดหย่อนหนี้ ประกอบด้วย

1. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากเดิม 1% ต่อปี เป็น 0.01% ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุนและไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้

ในปีการศึกษา 2565 กองทุนได้เตรียมเงินงบประมาณให้กู้ยืมจำนวน 38,000 ล้านบาท เพื่อรองรับนักเรียน นักศึกษา จำนวนกว่า 600,000 ราย ซึ่งเป็นวงเงินที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และสามารถกู้ยืมได้โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ให้มีแหล่งทุนนำไปใช้เป็นค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายดำรงชีพ และพร้อมปล่อยกู้เพิ่มมากกว่านี้หากมีความต้องการมากขึ้น โดยจะใช้เงินสภาพคล่องของกองทุน ไม่เป็นภาระงบประมาณของรัฐบาล

#ล้างหนี้กยศ. มีหนี้ก็ต้องใช้ ..ใช่ทางออกแก้ปัญหาหนี้จริงหรือ?

2. ลดเงินต้น 5% สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และต้องการปิดบัญชีในคราวเดียว

3. ลดเบี้ยปรับ 100% สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชำระหนี้ปิดบัญชี ดังนี้

 3.1 ผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี สามารถชำระได้ที่ธนาคารกรุงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา

3.2 ผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดำเนินคดีแล้ว ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิและนัดหมายวันที่ประสงค์จะชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่ studentloan.or.th โดยผู้กู้ยืมเงินต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนปิดบัญชี

4. ลดเบี้ยปรับ 80% สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ)

 5. ลดอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

  • วิธีนับระยะเวลาครบกำหนดชำระหนี้กยศ.

#ล้างหนี้กยศ. มีหนี้ก็ต้องใช้ ..ใช่ทางออกแก้ปัญหาหนี้จริงหรือ? #ล้างหนี้กยศ. มีหนี้ก็ต้องใช้ ..ใช่ทางออกแก้ปัญหาหนี้จริงหรือ?

 

อย่างไรก็ตาม กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียน ตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491

ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา

ปัจจุบัน พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2560 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น

 เนื่องจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 และกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคตตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 ที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 มีการบริหารจัดการและการดำเนินการที่มีข้อจำกัด และไม่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตกำลังคนและการพัฒนาประเทศสมควรบูรณาการการบริหารจัดการและการดำเนินการของกองทุน กยศ. และกองทุน กรอ. ให้เป็นเอกภาพอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และเพิ่มมาตรการในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง: กยศ.studentloan