"เอปสัน" จับมือ "WWF" ฟื้นฟูสามเหลี่ยมปะการัง

"เอปสัน" จับมือ "WWF"  ฟื้นฟูสามเหลี่ยมปะการัง

เอปสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล "WWF" ขยายผลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล แก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำงานร่วมกับเยาวชน นักวิทยาศาสตร์ในแต่ละพื้นที่ สร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจและชุมชนท้องถิ่น

นายซิ่ว จิน เกียด   กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาค เอปสัน สิงคโปร์กล่าวว่า เอปสัน ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยร่วมมือกับ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF และชุมชนท้องถิ่นเพื่อบันดาลให้เกิดอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” ด้วยการขยายผลการฟื้นฟูทะลบริเวณ “สามเหลี่ยมปะการัง” ส่วนหนึ่งของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนยังมีพื้นที่ยื่นครอบคลุมไปทางทิศใต้เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิคบางส่วนด้วย 

 

พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยของปลากว่า 6,000ชนิด รวมถึงร้อยละ 76 ของชนิดปะการังบนโลก เป็นพื้นที่ป่าโกงกางที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดของโลก  ศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลอย่างแท้จริง พื้นที่บริเวณนี้ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนกว่า 130 ล้านคนโดยตรงในปัจจุบัน เพราะเป็นทั้งแหล่งอาหารและอาชีพสำหรับผู้คนโดยรอบ รวมถึงยังเป็นแหล่งอาหารสำหรับผู้คนอีกหลายพันล้านคนทั่วโลกอีกด้วย

รวมทั้งขยายงานฟื้นฟู ปะการัง ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทยและสิงคโปร์ รวมถึงปฏิบัติการฟื้นฟูป่าชายเลนในฟิลิปปินส์ ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่น โดยเน้นเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นและกำหนดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักมีบทบาทในการบริหารจัดการตลอดจนบำรุงรักษาทรัพยากรชายฝั่งในระยะยาว 

 

นอกจากนี้ยังสนับสนุน WWF ขับเคลื่อนให้ทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภคของเวียดนาม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคเศรษฐกิจให้ลงสู่ระดับต่ำ ด้วยการสร้างตัวอย่างธุรกิจที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำเร็จ ตั้งเป้าจะยุติการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ความรู้แก่ภาคส่วนต่างๆ จัดสัมมนาออนไลน์ จัดทำพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ด้านการลดการใช้พลังงานและคาร์บอน รวมถึงการรณรงค์ปกป้องผืนป่า      

นายอาร์ รากูนาธาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WWF สิงคโปร์ กล่าวงานอนุรักษ์จะเกิดผลได้อย่างยั่งยืนต่อเมื่อพันธมิตรต่างจริงใจและร่วมมือกันอย่างแท้จริง มุ่งมั่นทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจังและเพียรพยายามอย่างมีความหมายที่จะช่วยให้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อสอดคล้องกับการเสริมพลังทางเศรษฐกิจตลอดจนมนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติ