"10 มาตรการลดค่าครองชีพ" บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้เงินเพิ่มเท่าไหร่ เช็คเลย

"10 มาตรการลดค่าครองชีพ" บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้เงินเพิ่มเท่าไหร่ เช็คเลย

"10 มาตรการลดค่าครองชีพ" ซึ่ง "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือ บัตรคนจน ก็ได้เงินเพิ่มด้วย จากกรณที่ ครม.เห็นชอบในหลักการมาตรการลดค่าครองชีพและมาตรการลดภาระราคาพลังงานให้กับประชาชน

เมื่อวานนี้ (22 มี.ค.2565) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการมาตรการลดค่าครองชีพและมาตรการลดภาระราคาพลังงานให้กับประชาชน เคาะ "10 มาตรการลดค่าครองชีพ" ซึ่ง "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือ บัตรคนจน ก็ได้เงินเพิ่มด้วย

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ครม.เคาะ 10 มาตรการลดค่าครองชีพ - พลังงาน ลดค่าไฟ ก๊าซ ประกันสังคม พ.ค. - ก.ค.

- "น้ำมันแพง" รัฐเตรียมช่วยค่าน้ำมันวิน จยย.157,000 คน เริ่มเมื่อไหร่ เช็คเลย

- ครม.เคาะ! ลดเงินสมทบ “ประกันสังคม” ม.33 - ม.39 - ม.40 จ่ายเดือนละเท่าไร ?

 

ผู้ถือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือ บัตรคนจน จำนวน 3.6 ล้านคนซึ่งจะได้สิทธิ์เพิ่ม คือ การเพิ่มเงินช่วยเหลือเพื่อซื้อก๊าซหุงต้ม โดยเพิ่มเงินจากเดิม 45 บาท เป็น 100 บาท

 

รวมไปถึง ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม เดือนละ 100 บาท สำหรับผู้ค่าหาบเร่แผงลอยที่ถือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" จำนวนประมาณ 5,500 คน

 

เริ่มวันไหน? 

- ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม ระยะเวลา 3 เดือน 

 

สำหรับ ไทม์ไลน์การจ่ายเงินเข้า "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือ "บัตรคนจน" มีดังนี้

 

ทุกวันที่ 1 ของเดือน (ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)

 

 

  • วงเงินซื้อสินค้า 400/500 บาทต่อเดือน (เป็นวงเงินเดิม 200/300 บาท และวงเงินจากโครงการเพิ่มกำลังซื้อ 200 บาท)
  • ส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อ 3 เดือน 
  • ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย  ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน , ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน , ค่าโดยสารรถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL) และ ขสมก. 500 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล) 

 

ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

 

เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2565 วงเงินค่าน้ำ และ ค่าไฟฟ้า ดังนี้

 

ค่าไฟฟ้า

  • เงินคืนค่าไฟฟ้า  ไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือ "บัตรคนจน" ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)

 

ค่าน้ำ

  • เงินคืนค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรฯ ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)

 

 

ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)

 

  • เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือ "บัตรคนจน" ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ)

 

สำหรับวันนี้ (22 มีนาคม 2565) กรมบัญชีกลาง ได้โอนเงินเข้าบัตรฯ ซึ่งสามารถกดเป็นเงินสดได้และสะสมในเดือนถัดไปได้ มีบัตรประจำตัวคนพิการ ได้รับเบี้ยความพิการ (บัญชีธนาคาร/อปท.) จำนวน 800 บาท เบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน โอนเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ถึงเดือนกันยายน 2565 รวมเป็นเงิน 1,000 บาท 

 

สำหรับผู้ไม่มีสมาร์ทโฟน ผ่านบัตรประชาชน เช่น ผู้ป่วยติดเตียง พิการ ผู้ป่วยสูงอายุจำนวน 200 บาท (เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มเดือน ก.พ.-เม.ย.) สามารถกดเป็นเงินสดที่ตู้เอทีเอ็มธนาคารกรุงไทย และสามารถถอนและกดเป็นเงินสดได้ สะสมในเดือนถัดไปได้

 

สรุป "10 มาตรการลดค่าครองชีพ" 

 

1.การเพิ่มเงินช่วยเหลือเพื่อซื้อก๊าซหุงต้มสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3.6 ล้านคน โดยเพิ่มเงินจากเดิม 45 บาท เป็น 100 บาท/ 3 เดือน

2.ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม เดือนละ 100 บาท สำหรับผู้ค่าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนประมาณ 5,500 คน

3.ช่วยเหลือค่าน้ำมันให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการขนส่งทางบก จำนวน 157,000 คน โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 250 บาทต่อเดือน และขอให้กรมการขนส่งทางบกกำกับราคาการให้บริการเพื่อให้พี่น้องประชาชนที่ต้องใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้างมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเท่าเดิม

4.คงราคาขายปลีกผู้ที่ใช้ก๊าซ NGV ไว้ที่ 15.59 บาทต่อกิโลกรัม

5.ผู้ขับขี่แท๊กซี่มิเตอร์ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน สามารถซื้อก๊าซได้ในราคา 13.62 บาท/กิโลกรัม

6.ช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน โดยลดค่า Ft ลง 22 สตางค์ต่อหน่วยในช่วงเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม

7.ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2565 หลังจากนั้น รัฐบาลจะเข้าไปช่วยเหลือส่วนที่ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นครึ่งนึง

8.กำกับดูแลการปรับราคาก๊าซหุงต้มในช่วงตั้งแต่เดือนเมษายน - มิถุนายน โดยใช้กองทุนน้ำมันเข้าไปช่วยลดผลกระทบจากการปรับราคาให้ไม่ขึ้นสูงเกินไป

9.ลดอัตราเงินสบทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จาก 5% เหลือ 1% เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถมีกำลังในการใช้จ่ายและผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป

10.ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 จาก 9% เหลือ 1.9% และลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ลงเหลือ 42 – 180 บาทต่อเดือน