สิ่งที่ “ห้ามทำ-ต้องทำ”!  ลดเสี่ยงโควิด19 สงกรานต์2565

สิ่งที่ “ห้ามทำ-ต้องทำ”!  ลดเสี่ยงโควิด19 สงกรานต์2565

ใกล้เข้ามาแล้วกับ “สงกรานต์2565” ในปีนี้มีสิ่งไหนต้องทำ ทำได้ และห้ามทำ เพื่อลดความเสี่ยงการติดโควิดโอมิครอน และป้องกันการสูญเสียญาติผู้ใหญ่หากมีติดเชื้อแล้วอาการรุนแรง 

เตรียมตัวก่อน “สงกรานต์2565”

      ก่อนกลับบ้านช่วงสงกรานต์2565 ราว 7 วัน กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แนะนำให้ “self clean up” โดย ขอให้ลูกหลานก่อนไปหาผู้สูงอายุราว 1 สัปดาห์ต้องระมัดระวังตัวให้มาก  โดยไม่รวมกลุ่มปาร์ตี้ ไม่ไปที่แออัด ไม่พบปะผู้คนจำนวนมาก  ตรวจATK 1 ครั้งตอนกลับไปบ้าน ทั้งหมดเพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อไปแพร่ให้ผู้สูงอายุ

      อย่างไรก็ตาม  การประชุม ศบค. เมื่อ 18 มี.ค.2565 ยังเห็นชอบ มาตรการป้องกันโรคโควิด19 ในการจัดการช่วงเทศกาลสงกรานต์2565   โดยสรุป คือ จัดได้ แต่เน้นเรื่องประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำ   ถ้าจัดสันทนาการ ต้องขอนุญาตเพราะมีเรื่องของคนมาร่วมงาน

ส่วนกลุ่มเดินทางกลับภูมิลำเนานั้น ขอให้ดูแลตัวเองก่อนกลับบ้าน “สงกรานต์2565” โดยเฉพาะหากที่บ้านมีกลุ่มเสี่ยง 608 คือผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์

       ขอให้เช็คว่าได้รับ วัคซีนโควิด19 ครบหรือไม่ ขอเน้นย้ำในส่วนนี้ทั้งต้นทาง ปลายทาง และระหว่างการเดินทางห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเคยได้ยินฉิ่งฉับทัวร์ กิน ดื่ม เสพทำให้เกิดการติดเชื้อ ทั้งนี้ขอให้ตรวจ ATK ก่อนเดินทางด้วย 

ระหว่างช่วงงาน “สงกรานต์2565”

ในส่วนของระหว่างช่วงงานสงกรานต์2565 อนุญาตให้เล่นน้ำได้ตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ

ㆍพื้นที่จัดงานสงกรานต์ ที่มีการจัดเตรียมสถานที่และควบคุมกำกับ

- อนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น

การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการCOVID Free Setting และมีการกำกับอย่างเคร่งครัด

- ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จำหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน

- กำหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน(1 ต่อ 4 ตารางเมตร)

- สวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน

 พื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ฯลฯ ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟม
ㆍกิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดำหัว การรับประทานอาหารร่วมกัน ฯลฯ
-จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่นหรือคับแคบ

-สวมหน้ากากตลอดเวลา งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน

-เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน

-ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครอบตามเกณฑ์ คือ 3 เข็ม ควรได้รับวัคซีนให้ครบก่อนร่วมกิจกรรมสังสรรค์และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน
-ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงห้ามร่วมกิจกรรม 
 
หลัง”สงกรานต์2565” 7 วัน 
     ส่วนหลัง สงกรานต์2565 ให้สังเกตตัวเอง 7 วัน บางพื้นที่ให้พิจาณราเรื่องการทำงานที่บ้านให้เป็นไปตามความเหมาะสม ทั้งนี้ฝ่ายปกครองฝ่ายมั่นคงขอให้ร่วมกับสธ.อย่างเข้มงวด เพื่อให้เราผ่านเทศกาลนี้ไปด้วยความเรียบร้อย ใครฝ่าฝืนให้ดำเนินการเด็ดขาด ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีในฐานะผอ.ศบค.ฝากมา

เฝ้าระวังควบคุมกำกับ “สงกรานต์2565”

1. คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้มี "คณะทำงานควบคุม กำกับ เฝ้าระวัง" ให้เป็นไปตามมาตรการในพื้นที่จังหวัด/กรุงเทพมหานคร

2. ศปก.ต./ศปก.อ. ผู้นำชุมชน ควบคุมกำกับ เฝ้าระวัง ระดับชุมชน หมู่บ้าน ทั้งการรวมกลุ่ม บุคคลภายนอก และกิจการ/กิจกรรม/สถานประกอบ การฝ่าฝืนดำเนินการอย่างเด็ดขาด

3. ทุกหน่วยงานร่วมสื่อสารให้ประชาชน ร่วมกันเฝ้าระวังในชุมชน และแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางของรัฐ เช่น ศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน1111 Facebook ผู้พิทักษ์อนามัย (COVID Watch) Website : Thai Stop COVID Plus หรือช่องทางอื่นในพื้นที่

       “การเล่นน้ำทำได้ตามวิถีประเพณีไทย  คือ รดน้ำดำหัว  สรงน้ำพระ ไม่ควรต้องมีการประแป้ง ส่วนหากจะมัเรื่องบันเทิง สันทนาการจะต้องมีการขออนุญาตตาม พรบ.โรคติดต่อ โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะเป็นผู้พิจารณา  ส่วนบนท้องถนนก็ไม่ควรต้องมีการเล่นน้ำ แต่ถ้าหมายถึงการสาดน้ำ ที่ประชุมไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ คงเป็นส่วนที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะต้องพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่ เช่น อาจจะต้องจัดหาน้ำมาอย่างสะอาด อยู่ระยะห่าง ก็เป็นหน้าที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเป็นผู้พิจารณาอนุญาตหรือไม่ ศบค.ให้หลักการกว้างๆ”นพ.ทวีศิลป์กล่าว