ตรวจสอบสิทธิ์ "เด็กเกิดใหม่" จ้าง อินฟลูเอนเซอร์ชวนคนมีลูกได้หรือ?

ตรวจสอบสิทธิ์ "เด็กเกิดใหม่" จ้าง อินฟลูเอนเซอร์ชวนคนมีลูกได้หรือ?

“เด็กเกิดน้อย” ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องด้วยกระทบต่อทั้งโครงสร้างประชากร ทำให้ฐานแคบลง ไม่มั่นคง อีกทั้งยังส่งผลต่อเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ และเกิดสังคมไร้ลูกหลาน ความอบอุ่นในครอบครัวขาดหายไป

ปี2564 ที่ผ่านมา ประชากรเด็กเกิดใหม่ พบว่า มีเพียง 544,570 คน อัตราเจริญพันธุ์รวม (TFR) ลดเหลือแค่ 1.3

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดการณ์ว่าในปี 2583 สัดส่วนวัยเด็กจะเหลือเพียง ร้อยละ 12.8 วัยทำงาน ร้อยละ 56  และวัยสูงอายุ ร้อยละ 31.2 ทำให้ภาระพึ่งพิงวัยแรงงานเพิ่มขึ้น โดยวัยแรงงาน 1.7 คน จะต้องดูแลผู้สูงอายุ 1 คน นับเป็นภาระหนักของวัยแรงงาน ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายในการดูแลตัวเอง ครอบครัว หรือบุตร

 

แคมเปณ “อินฟลูเอนเซอร์”ชักชวนคนมีลูก

ด้วยผลกระทบที่จะตามมาอีกมากมาย ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการแก้ปัญหาเด็กไทยเกิดต่ำสุดในรอบ 50 ปี ว่า ขณะนี้หลายฝ่ายเห็นปัญหาเหมือนกันว่าจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหากันตั้งแต่วันนี้ โดยมีคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์ ส่วนตัวมองว่าเรื่องนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือรัฐบาลเปลี่ยนแปลง

โดยเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีเข้าใจและตระหนักดี และพยายามให้ท่านผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ แต่ในส่วนของคณะกรรมการอนามัยเจริญพันธุ์ ก็เดินหน้าอย่างเต็มที่ ซึ่งทำแล้วระดับหนึ่ง แต่หากจะปรับเปลี่ยนค่านิยม ต้องทำให้ว้าวขึ้นมา

“เบื้องต้นได้มอบให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เชิญอินฟลูเอนเซอร์ที่มีความสุขสนุกในการเลี้ยงลูก มาเป็นตัวอย่างการวางแผนครอบครัว ซึ่งจะมีต้นแบบในแต่ละพื้นฐานรายได้ครอบครัว หากรัฐบาลช่วยกันทั้งหมดทุกกระทรวง ก็จะค่อยๆทำให้ฐานความคิดคนเริ่มเปลี่ยน อาจจะอย่างน้อย 5 ปี” ดร.สาธิต กล่าว

แนะหาสาเหตุทำไมคนไทยไม่อยากมีลูก

ทั้งนี้  เรื่องการแก้ปัญหาผู้มีบุตรยากสิ่งสำคัญคือการปรับค่านิยม อาจจะไม่ใช่เรื่องของการให้เงินทั้งหมด เพราะมีตัวอย่าง เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ที่จ่ายเงิน 1 แสนบาทกรณีมีเด็กเกิด 1คน แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ต้องปรับเปลี่ยนนโยบาย

ดังนั้น ประเทศไทยก็ต้องคิดให้ครอบคลุมทั้งระบบ ทั้งเรื่องของสวัสดิการ และในระยะยาวตั้งแต่เกิด ถึงจบปริญญาจะมีการส่งเสริมให้มีครอบครัว และมีลูกที่มีคุณภาพได้ มีการวางแผนครอบครัว

หลังจากที่ “ดร.สาธิต” ได้เสนอถึงแคมเปณ ดังกล่าว ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “น.ส.สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ หรือ อิมเมจ ศิลปินนักร้อง” ได้ออกมาโพสต์ทวิตเตอร์โดยระบุว่า “เออ ไอ้แคมเปญที่จะจ้างอินฟลูที่มีลูกมาชักจูงให้คนมีลูกมากขึ้นนี่มันเป็นไอเดียที่ไร้สาระมากเลยอะ ไปคิดให้ออกก่อนว่าคนตัดสินใจไม่มีลูกกันมากขึ้นเพราะอะไร ไม่ใช่มาผุดโปรเจกต์ละลายงบเล่นแบบนี้"

อีกทั้ง ทำให้เกิดกระดานแสดงความคิดเห็นในหลายกลุ่มโซเซียล อย่าง ผู้ใช้ kaopoon Talk ใน Blockdit   ระบุว่า ไปเห็นทวิตของคุณอิมเมจที่พูดถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมออกแคมเปญรณรงค์ให้คนมีลูกด้วยการจ้าง อินฟลูเอนเซอร์ มาประชาสัมพันธ์และเชิญชวน คือยังไงดีล่ะ .. จะบอกว่าผมคิดเหมือนคุณอิมเมจทุกอย่างเลยครับ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กเกิดน้อยนั้น ล่าสุด  กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน  กระทรวงศึกษาธิการ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยกุมาร แพทย์แห่งประเทศไทย ได้ แถลงทางออกประเทศไทย ในยุคเกิดน้อย ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้มีการนำเสนอสิ่งที่ดำเนินการ และสิ่งที่จะทำต่อไป

 

เช็คสิทธิ์ "เด็กเกิดใหม่" พ่อแม่จะได้รับหากมีลูก

โดยสรุปแล้ว มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พ่อแม่ และเด็กจะได้รับ เพื่อแก้ปัญหา “เด็กเกิดยาก"

เริ่มจาก กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย จะได้รับสิทธิ์ดังต่อไปนี้

 -  สิทธิตรวจดาวน์ซินโดรม ครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์ในทุกกลุ่มอายุ และทุกการตั้งครรภ์

-  การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากแก่หญิงตั้งครรภ

-  การคัดกรองธาลัสซีเมียในคู่ของหญิงตั้งครรภ์

-  การตรวจเลือดคัดกรองเบาหวานในกลุ่มอายุ 25 - 59 ปี

-  การเพิ่มสิทธิการตรวจคัดกรองซิฟิลิส และในคู่ของหญิงตั้งครรภ์ทุกราย

-  การกําหนดให้การรักษาภาวะมีบุตรยากและการผสมเทียม

-  การจัดบริการแบบ ONE STOP SERVICE ณ คลินิก ฝากครรภ์

กรมสนับสนุนบริการ สุขภาพ กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา "เด็กเกิดยาก ดังนี้ 

- เฝ้าระวัง คุมเข้มการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ทางการแพทย

- การแก้พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการ เจริญพันธุ์ ทางการแพทย์ หรือกฎหมายอุ้มบุญ

- โดยส่วนที่จะ ปรับแก้ไข คือ สามารถรับจ้างอุ้มบุญได้ โดยคนที่จะมาเป็นแม่ ที่อุ้มบุญต้องขึ้นทะเบียนและมีรายได้ เพื่อจะได้ไม่ไปลักลอบ รับจ้างผิดกฎหมาย เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาทาอุ้มบุญในไทย รวมถึงเปิดฝากไข่ สเปิร์ม และตัวอ่อนได้ด้วย

- หญิงที่รับ ตั้งครรภ์แทนต้องเป็นสายเลือดเดียวกันกับคู่สมรสฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งและเคยมีบุตรมาแล้ว โดยคลอดทารกตามธรรมชาติไม่เกิน 3 ครั้ง หากผ่าคลอดต้องไม่เกิน 1 ครั้ง และมีอายุระหว่าง 20 - 40 ปี

- หญิงรับตั้งครรภ์แทนรับอุ้มได้ไม่เกิน2 ครั้ง คู่สมรสที่ใช้วิธีการอุ้มบุญต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด และห้ามเลือกเพศทารก

วิวาห์ สร้างชาติ แพลตฟอร์ม กระตุ้นชวนคนมีลูก

กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง จะมีการดำเนินการ ดังนี้ 

- ให้คู่สมรสเข้าร่วมแพลตฟอร์ม “วิวาห์ สร้างชาติ” เพื่อยกระดับการสร้างความรู้ด้านอนามัย การเจริญ พันธุ์

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีดังนี้ 

-  จัดตั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย อายุต่ำกว่า 3 ปี และ จัดให้บริการทางการศึกษาให้กับเด็กอายุ 2 – 5 ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายปัจจุบัน

-  การพัฒนาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็ก

-  การส่งเสริมการทํางานของ รพ.สต. เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนในพื้นที่

  • พม.จ่ายเงินอุดหนุน ดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิด 

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน

-  จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (Child Support Grant) ให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อย สมาชิกครัวเรือนมีรายได้ เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปีแก่เด็กที่มีสัญชาติไทย และเกิดตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป รายละ 600 บาท ต่อเดือน จนมีอายุครบ 6 ปี

-  เชื่อมโยงฐานข้อมูลเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรก เกิด กับฐานข้อมูลคลังสุขภาพ (HDC)

-  การขับเคลื่อนมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติที่เป็น มาตรฐานกลางของประเทศ

-  การพัฒนาระบบฐานข้อมูล Big Dataด้านเด็กและเยาวชน

กรมกิจการสตรีและ สถาบันครอบครัว เสนอแนวทางดังนี้ 

- สนับสนุนขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพครอบครัว

- พัฒนาระบบการให้คําปรึกษา Family Line / Web Application “เพื่อนครอบครัว” พัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย

- การเชื่อมโยงฐานข้อมูล Family Big Data

- ให้คนมีบุตรเพิ่มมากขึ้น เช่น การอนุญาตให้ข้าราชการหญิงลาคลอดได้เพิ่มขึ้น สนับสนุนให้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือน การอนุญาตให้ข้าราชการชายลาเพื่อดูแลภรรยาและบุตร หรือการให้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีเวลาเปิด - ปิดให้สอดคล้องกับวิถี ชีวิตคนงานทํางานตามบริบทพื้นที่

  • สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตน จัดตั้งมุมนมแม่

ขณะที่ กระทรวงแรงงาน โดยกรมการสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน มีการส่งเสริมแก้ปัญหา เด็กเกิดยาก ดังนี้ 

- ส่งเสริมการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบการ

- ส่งนมแม่ถึงลูกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

- ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กเพื่อผู้ใช้แรงงาน เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ

- การส่งเสริมการฉีดวัคซีนโควิด – 19 ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

สำนักงานประกันสังคม จัดสิทธิประโยชน์ สวัสดิการแก่ผู้ประกันตน ดังนี้ 

- สิทธิการลาคลอด หญิงตั้งครรภ์สามารถลาคลอดได้ 98 วัน ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการลา คลอดบุตร แบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนโดยเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน

- ผู้ประกันตนจะได้ค่าตรวจและฝากครรภ์ จํานวน 1,500 บาท ไม่เกิน 5 ครั้ง พร้อมจ่ายค่าคลอดบุตร เพิ่ม เป็น 15,000 บาท

- ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร 800 บาท ต่อบุตร 1 คน โดยได้รับคราวละ ไม่เกิน 3 คน จนกว่า บุตรจะมีอายุครบ 6 ปี

- การเสริมวิตามินก่อนตั้งครรภ์ วิตามินโฟลิก ก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน ต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์จนถึง 6 เดือนหลังคลอดขณะให้นมบุตร

- การจัดตั้งมุมนมแม่

- การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กเพื่อผู้ใช้แรงงาน ให้นายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการให้ความสําคัญในการจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ สําหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ปี เพื่อช่วยแบ่ง เบาภาระใน การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้เดือนละ 4,000 บาท

แนวทางการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มวัยแรงงาน

- บริการตรวจสุขภาพให้กับ ผู้ประกันตนจํานวน 14 รายการ เช่น ตรวจการได้ยิน ตรวจเต้านม ตรวจตา ตรวจไต X-ray ปอด เป็นต้น

  • ศธ.ลดค่าใช้จ่าย  ดึงเด็กกลับมาเรียน

กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีแผนช่วยส่งเสริมคนมีลูก ดังนี้ 

- ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

โครงการพาน้องกลับมาเรียน โดยร่วมกันค้นหาและติดตาม น้อง ๆ ที่หลุดจากระบบการศึกษาให้เข้าสู่ระบบการศึกษา

- มาตรการการลดช่องว่างการเรียนรู้ (Learning Gaps) และ ลดผลกระทบด้านความรู้ที่ขาดหายไป (Learning Loss)

- โครงการ “SAFE สถานศึกษาปลอดภัย” ให้นักเรียนเกิดความ ปลอดภัยในทุกด้าน ทั้งด้าน ร่างกาย และจิตใจเกิดการ เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข เพื่อน าไปสู่การยกระดับ คุณภาพ การศึกษ

-  มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา เพื่อบรรเทา ผลกระทบของผู้ปกครองและนักเรียน ตั้งแต่ระดับอนุบาล

  • เสนอจ่ายค่าเลี้ยงดูคนละครึ่งในระยะยาว 

ในส่วนของ ราชวิทยาลัยสูตินรี แพทย์แห่งประเทศไทย จะดำเนินการดังนี้ 

- การผลักดันให้การรักษาภาวะมีบุตรยากเป็นสิทธิประโยชน์ ร่วมกับกรมอนามัย

ราชวิทยาลัยกุมาร แพทย์แห่งประเทศไทย

- ฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางทารกแรกเกิดให้มีศักยภาพและ ปริมาณเพิ่มขึ้น

- ขยายการฝึกอบรมในเรื่องพัฒนาการของเด็ก

- ปรับปรุงและให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการพัฒนาการและ การเลี้ยงดูเด็ก ผ่านทางสื่อต่าง ๆ

- ให้วัคซีนและความรู้ต่าง ๆ ในการป้องกันโรค

- ช่วยพิทักษ์สิทธิเด็ก

-เสนอรัฐบาลให้ดำเนินการ จ่ายค่าเลี้ยงดูคนละครึ่งในระยะยาว