หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

นักไวรัสวิทยา คาดโอมิครอน BA.2 เป็นสายพันธุ์หลักในไทยเร็วๆนี้ เผยงานวิจัยญี่ปุ่น โอมิครอนBA.2แพร่กระจายได้ดีกว่าBA.1 ประมาณ30-40% ใช้วัคซีนชนิดเดียวกันไม่ได้ อาจถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Pi ด้านศูนย์จีโนม ระบุปลายก.พ.นี้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง ยันไม่พบเดลตาครอน

วันนี้ (16 ก.พ.2565)ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว Anan Jongkaewwattana ระบุว่า

อีกไม่นาน โอมิครอน BA.2 อาจจะเป็นโควิดสายพันธุ์หลักแทนที่ โอมิครอน BA.1 ซึ่งเป็นโอมิครอนสายพันธุ์หลักที่ระบาดเป็นวงกว้างในตอนนี้ ซึ่งไวรัสโอมิครอน BA.2 มีความสามารถในการแพร่กระจายได้ดีกว่า โอมิครอนBA.1 ประมาณ 30-40%

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้
 

  • โอมิครอน BA.2 สายพันธุ์หลักในไทย หนีภูมิได้ดีกว่า BA.1

ความแตกต่างระหว่างโอมิครอนBA.2 กับโอมิครอน BA.1 นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงบนโปรตีนหนามสไปค์ที่ต่างคนต่างมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะตัวของตัวเองแล้ว เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่งอื่นนอกโปรตีนหนามสไปค์อาจมีส่วนทำให้ โอมิครอนBA.2 มีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่า โอมิครอน BA.1

งานวิจัยชิ้นล่าสุดจากทีมญี่ปุ่นมีผลการทดลองที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจากอาสาสมัครในญี่ปุ่นเมื่อนำมาทดสอบเปรียบเทียบระหว่างไวรัส โอมิครอน BA.1 และโอมิครอน BA.2 พบว่า โอมิครอน BA.2 หนีภูมิได้สูงกว่า เช่น ภูมิจาก โมเดอร์น่าถูกโอมิครอน BA.1 หนีได้ 15 เท่า แต่ โอมิครอน BA.2 หนีได้ 18 เท่า และ ภูมิจาก แอสตร้าเซนเนก้า ถูกโอมิครอน BA.1 หนีได้ 17 เท่า แต่โอมิครอน BA.2 หนีได้ 24 เท่า

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

2. ที่น่าสนใจคือ ภูมิจากการติดเชื้อ โอมิครอน BA.1 มา ดูเหมือนจะถูก โอมิครอนBA.2 หนีได้เช่นกัน ทั้งๆที่หลายคนเชื่อว่าไวรัสสองตัวนี้เป็นกลุ่มโอมิครอนเหมือนกัน แต่ความแตกต่างระหว่างสองสายพันธุ์นี้ทำให้ภูมิจากโอมิครอน BA.1 ถูกไวรัสโอมิครอน BA.2 หนีได้มากถึง เกือบ 3 เท่า ผลจากหนูทดลองที่ได้รับวัคซีนที่ออกแบบจากสไปค์ของโอมิครอน BA.1 ก็ถูก โอมิครอน BA.2 หนีได้มากถึง 6.4 เท่า แสดงว่า โอมิครอน 2 สายพันธุ์นี้อาจจะใช้ทำเป็นวัคซีนแทนกันไม่ได้ซะทีเดียว

 

  • เผยโอมิครอนBA.2 อาจถูกเปลี่ยนชื่อเป็นPi

3. โอมิครอนBA.1 เป็นไวรัสที่ไม่รุนแรงในหนูแฮมสเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะไวรัสเปลี่ยนไปจนจับโปรตีนตัวรับของสัตว์ทดลองไม่ได้ดี หรือ ไวรัสลดความรุนแรงลงจนติดปอดหนูไม่ได้ดีเหมือนสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ แต่ โอมิครอนBA.2 ติดหนูแฮมสเตอร์ได้ดีกว่า โอมิครอนBA.1 มาก

ทีมวิจัยเชื่อว่าโอมิครอน BA.2 อาจจะไม่ใช่โอมิครอนทั่วไปเหมือน โอมิครอนBA.1 ทั้งคุณสมบัติของไวรัสที่แตกต่างกัน และ ความแตกต่างทางการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ไวรัสตัวนี้อาจจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Pi ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวถัดไปต่อจากโอมิครอน

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

  • คนติดโควิดเพิ่มจาก โอมิครอน BA.2

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล  กล่าวว่า ศูนย์จีโนม ได้ถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโควิด-19 ทั้งตัวจากส่งตรวจพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ช่วง ม.ค.-ก.พ.2565 จำนวน 192 ตัวอย่าง พบเป็น

  • โอมิครอน BA.1 จำนวน 169 รายหรือ 88%
  • BA.1.1 จำนวน 5 ราย หรือ 5%
  • โอมิครอน BA.2 จำนวน 2 รายหรือ 1.05%
  • เดลตา AY 85 จำนวน 14 รายหรือ 7.3%
  • อัลฟาจำนวน 2 ราย หรือ 1.04%
  • หากเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำยังพบเป็นเดลตาเกือบ 100%

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

ขณะที่ฐานข้อมูลกลางโควิดโลกหรือ GISIAD ช่วง 40 วันที่ผ่านมาที่ สถาบันการแพทย์ทั้งรัฐและเอกชนในประเทศไทยถอดรหัสพันธุกรรมและอัปโหลดเข้าไป พบ เป็น

  • โอมิครอน BA.1.1 จำนวน 60% 
  • BA.1 หรือตัวแม่เดิมลดลงเหลือ 19%
  • BA.2 จำนวน 2%
  • เดลตา AY85 จำนวน 14 %

ทั้งนี้ BA.1.1 เป็นการแตกกิ่งก้านจากสายพันธ์ุหลัก BA.1 เล็กน้อยเท่านั้น ไม่มีผลก่อให้เกิดอะไรมากขึ้น

 

  • คาดเดือน ก.พ.ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดน่าจะลง

ทั้งนี้โอมิครอน BA.2 ในไทยขณะนี้น่าจะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลที่ติดตามพบคุณสมบัติ BA.2 มีการกลายพันธ์ุมากที่สุด จึงส่งผลต่อการแพร่ระบาดหรือการติดเชื้อได้ไวที่สุด แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดความรุนแรงของโรคหรือเสียชีวิตต่างจากโอมิครอนหลัก

ขณะที่ ค่าเฉลี่ยผู้ป่วย 1 คนจะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นหรือค่า R-0 สายพันธ์ุอู่ฮั่นอยู่ที่ 2.5 เดลตา 6.5-8 โอมิครอน BA.1 อยู่ที่ 8-15 แต่ BA.2 น่าจะเทียบเคียงหัดอาจจะถึง 18 เพราะไวมาก แต่การติดเชื้อไวในระยะหลังจะเห็นว่าไม่ได้แปรไปตามความรุนแรง

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

ประเทศที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นโอมิครอนมากที่สุดขณะนี้คือ เดนมาร์ก ตามด้วยอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ส่วนแอฟริกาใต้ผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงไปมาก ส่วน อัตราเสียชีวิตจากโอมิครอนก็ต่ำกว่าเดลตา อัลฟาอย่างมาก

สำหรับ ประเทศไทย โอมิครอนเข้ามาประมาณ ก.พ.ทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยเป็น BA.1 แต่อัตราผู้เสียชีวิตน้อยมาก เพราะมีการฉีดวัคซีนมาก รวมถึงมีอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เข้าไปค้นหาช่วยเหลือผู้ป่วยเชิงรุก แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นขณะนี้ มาจาก BA.2 ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น คาดว่าไม่เกินครึ่งเดือนหรือประมาณปลาย ก.พ.ตัวเลขน่าจะลง เทียบเคียงจากประเทศอื่นๆ ที่มีสถานการณ์ระบาดมาก่อน

  • ยืนยันไทยไม่พบเดลตาครอนในประเทศ

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าวต่อว่า เดลตาครอน ลูกผสมระหว่างโอมิครอนและเดลตา ในอังกฤษได้ประกาศเป็นเอกสารยืนยันว่าพบเดลตาครอนที่ให้จับตา ไม่มีการระบุจำนวนชัดเจน แต่น่าจะพบมากกว่า 1 ราย แต่ยังไม่พบความรุนแรงในการก่อโรค หรือหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้มากกว่าโอมิครอน เนื่องจากลูกผสมเดลตาครอนตัวนี้เป็นการนำชิ้นส่วน ยีน ORF1ab จากเดลตา ที่ไม่ได้ก่อความรุนแรงโรค

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

ขณะที่จีโนมส่วนอื่นเช่นส่วนที่สร้างหนามแหลม (ยีน S) และส่วนที่สร้างอนุภาคไวรัสส่วนอื่นๆ เช่น ยีน N ได้มาจากโอมิครอน BA.1

ดังนั้น คุณสมบัติหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันก็ไม่แตกต่างจากโอมิครอน จึงยังไม่พบอาการทางคลินิกที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงโรคมากขึ้น ส่วนไทยก็ยังไม่พบเดลตาครอน ทั้งนี้ เดลตาครอนที่พบในอังกฤษไม่รุนแรง แต่หากเป็นที่อื่นซึ่งอนาคตจะพบหรือไม่ยังตอบไม่ได้ว่าจะรุนแรงหรือไม่

  • ถอนตัวทดสอบเฟส3 วัคซีนโควิดเจนสอง

ด้าน ดร.ภก.นรภัทร ปีสิริกานต์ รกน.ผอก.ผลิตวัคซีนจากไวรัส องค์การเภสัชกรรม ได้โพสเฟสบุ๊ก Norapath Tong Pesirikan  ระบุว่า แอสตร้าเซนเนก้าตัดสินใจถอนการทดสอบคลินิกเฟส 3 ของวัคซีนโควิดเจนสองในชื่อ AZD2816 เป็นที่เรียบร้อย

โดยวัคซีนรุ่นสองดังกล่าวเริ่มทดสอบตั้งแต่กลางปี 64 เพื่อ target สายพันธุ์แอฟริกันหรือเบตา แต่หลังจากทดสอบพบว่าทั้งเจนหนึ่ง (Vaxzevria, AZD1222) และสองของ แอสตร้าเซนเนก้าไม่ได้สร้างระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ปัจจุบันอย่างโอมิครอนมากชัดเจน

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

แอสตร้าเซนเนก้า จึงสรุปว่าการ switch ไป gen 2 จึงไม่มีความจำเป็น และจะยังคงใช้เจน 1 ในการทำตลาดต่อไป

อย่างไรก็ตามในปีนี้ แอสตร้าเซนเนก้าจะส่งม้ามืดอย่าง Evushield (AZD7442) ซึ่งเป็นยาฉีดชนิดแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อเชื้อโควิด มาใช้ทำตลาด โดยมีเป้าหมายทั้ง “ป้องกันและรักษา” โควิด ซึ่งองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาให้การอนุมัติทะเบียนฉุกเฉินกับยาดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย และไทยเองก็น่าจะมี cocktail mAb ตัวนี้ออกมาในไม่ช้าเช่นกัน

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

  • มุมมองแอสตร้าฯต่อวัคซีนรุ่นใหม่

สำหรับมุมมองของ แอสตร้าเซนเนก้า ต่อ วัคซีนรุ่นใหม่ที่จำเพาะต่อโอมิครอนของทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์น่า ที่กำลังเข้าสู่เฟสทางคลินิกอยู่นั้นอาจจะกลายเป็นว่าสายพันธุ์ที่ระบาดในขณะนั้นถูกแทนที่ด้วยสายพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็ว ก่อนที่วัคซีนจะออกสู่ตลาดเสียด้วยซำ้

โดยเฉพาะรอบนี้ที่วัคซีน mRNA ต่อโอมิครอน อย่างเช่น mRNA1273.529 ของ บ.โมเดินน่า ที่จำเพาะต่อโอมิครอนมากจนการ cross react ไปยังสายพันธุ์โควิดอื่นได้ไม่ดีเท่าตัวเก่า

หวั่นโอมิครอนBA.2 เป็นสายพันธุ์หลักไทย วัคซีนอาจใช้ตัวเดียวกับBA.1 ไม่ได้

สำหรับข้อมูลการใช้วัคซีนที่จำเพาะต่อโอมิครอนของโมเดอร์น่า เป็นบูสเตอร์ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อโอมิครอนได้กว่า 42 เท่า (เทียบกับตัวเจนแรก mRNA-1273 ต่อโอมิครอนได้ภูมิสูงขึ้น 5 เท่า)

ด้วยเหตุนี้วัคซีนรุ่นใหม่ต่อจากนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่บริษัทวิจัยจะใช้วัคซีนที่มาจากการผสมหลายสายพันธุ์ให้ครอบคลุมเบตาโคโรนาไวรัสเป็นอย่างน้อย ไปจนถึงการคลุมยกกลุ่มของ Pan-sarbecovirus และโควิดจะเป็นเพียงหนึ่งในนั้น