ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

ยุคที่ทุกอย่างสามารถซื้อขายได้ผ่านดิจิทัล ศิลปินหลายคนก็กำลังทำเงินมหาศาลจากการขายภาพดิจิทัลผ่านทางคริปโตอาร์ท ในรูปแบบเหรียญที่ไม่สามารถทดแทนได้เช่นเดียวกัน ทว่าในแวดวงการศึกษาไทยต้องยอมรับว่า ศิลปะ หรือ งานอาร์ตต่างๆ ได้รับควานนิยมเฉพาะกลุ่มเท่านั้น  

ด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการใช้ชีวิตของผู้คน “วิทยาลัยเพาะช่าง” หนึ่งในวิทยาเขตของ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)รัตนโกสินทร์” ที่อยู่มาอย่างยาวนาน 109 ปี ได้ประกาศแยกออกมาเป็น “สถาบันศิลปะ โรงเรียนเพาะช่าง” ในวันที่ 7 ม.ค.2565 ที่ผ่านมา  เพื่อเป็นสถาบันศิลปะที่อยู่ในกลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ ควบคู่กับศิลปวัฒนธรรม ความเป็นไทยของประเทศ

  • วิทยาลัยเพาะช่าง แยกจากมทร.ปี65

ผศ.บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส ผู้อำนวยการวิทยาลัยเพาะช่าง เล่าว่าวิทยาลัยเพาะช่างได้มีเจตจำนงต้องการแยกตัวออกจากมทร.รัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีความพร้อมและศักยภาพในการเป็นสถาบันอุดมศึกษา ในกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมนวัตกรรม ที่มีบริบทในการสนับสนุนให้เป็นสถาบันศิลปะของชาติควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพราะประเทศที่เจริญแล้ว ศิลปวัฒนธรรมต้องเจริญก้าวหน้าร่วมด้วย อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงอว. ที่ได้จัดกลุ่มมหาวิทยาลัยและสนับสนุนมหาวิทยาลัยด้านศิลปวัฒนธรรม

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

“ตอนนี้แม้จะยังไม่ได้แยกออกมาจากมทร.รัตนโกสินทร์อย่างชัดเจน เนื่องจากกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยมีพ.ร.บ.ของตนเอง และหากจะให้วิทยาลัยเพาะช่างแยกออกมาก็ต้องมีการพิจารณาในหลายๆ ด้าน แต่เชื่อว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารจากอว.จะสนับสนุนและยินยอมให้วิทยาลัยเพาะช่างแยกออกมา เพื่อความเจริญก้าวหน้าด้านศิลปะ ทะนุบำรุงศิลปะวิชาการช่าง และรากเหง้าของศิลปวัฒนธรรมไทย” ผศ.ดร.บรรลุ กล่าว

หลังจากนี้อาจจะยังไม่แน่ชัดว่ามทร.รัตนโกสินทร์ จะสรุปผลอย่างไร ซึ่งถ้าเกิดมหาวิทยาลัยยอมให้ทาง “วิทยาลัยเพาะช่าง” แยกออกจากมหาวิทยาลัยทางคณาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยเพาะช่างก็พร้อมทำงานเต็มที่

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

 

  • ก้าวต่อไปของวิทยาลัยเพาะช่าง

ทั้งนี้  “โรงเรียนเพาะช่าง” กำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในวันที่ 7 มกราคม 2456 ด้วยพระราชดำริที่จะทำนุบำรุงศิลปะวิชาการช่างของไทย ให้เจริญตามพระราชประสงค์ของพระบรมชนกนาถ

ผศ.บรรลุ เล่าต่อว่าวิทยาลัยเพาะช่างได้ดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการขอแยกจากมทร.รัตนโกสินทร์มาเป็นระยะเวลามา 4 ปี คาดว่าปีนี้ทางมทร.จะยอมให้วิทยาลัยเพาะช่างแยกออก เพราะวิทยาลัยเพาะช่างมีรากเหง้าศิลปวัฒนธรรม ในการดูแลทะนุศิลปวัฒนธรรม ชุมชนพื้นถิ่นของชาติบ้านเมือง

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

วิทยาลัยเพาะช่าง มีการอนุรักษ์ความเป็นไทย  มีภาควิชาศิลปะประจำชาติซึ่งไม่มีที่อื่นเปิดรับ  ดังนั้น บทบาทของวิทยาลัยเพาะช่างมุ่งผลิตบุคลากรให้มีทักษะความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม การออกแบบ ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีมาใช้ อันนำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ธุรกิจศิลป์  

“ขณะนี้ครูบาอาจารย์ต้องปรับตัว เรียนรู้ และยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพราะถ้าอาจารย์มีความตื่นตัวในการเรียนรู้  พัฒนาตนเองทั้งองค์ความรู้และการใช้อุปกรณ์ดิจิตอลมาปรับใช้ในการทำงานด้านศิลปะ พร้อมการฝึกทักษะศตวรรษที่ 21 กระบวนการที่จะรองรับ”ผศ.บรรลุ กล่าว

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

นอกจากนั้น มีการปรับหลักสูตรเพาะช่าง เน้นพื้นฐานทางศิลปะ และทักษะปฎิบัติที่ไม่เหมือนที่อื่นๆ ทั้งทักษะความคิดที่มือสมองแตกต่างกัน มีความชัดเจนในการทำงาน ทำให้เด็กเข้าใจกระบวนการทำงานและการเรียนเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพ ควบคู่กับอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

 

  • ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้

“วิทยาลัยเพาะช่าง” สอนระดับปริญญาตรีใน 3 ภาควิชา 14 หลักสูตร และในอนาคตจะทำการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีเพิ่มอีก 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 3 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพอีก 1 หลักสูตร ซึ่งขณะนี้เรามีความพร้อมทั้งทางด้านอาคารสถานที่ และบุคลากร

ดร.ขวัญรัตน์ จินดา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย เล่าว่าศิลปประจำชาติ ศิลปหัตถกรรม วิจิตรศิลป์ และออกแบบ ทุกสาขาจะเน้นทักษะปฎิบัติที่มีความชัดเจน เน้นอัตลักษณ์ความเป็นไทย กระบวนการคิดแบบไทย ศิลปะ ประณีตศิลป์ และการเรียนการสอนไม่ใช่ปลูกฝังให้ความรู้อย่างเดียว แต่ต้องสร้างความเข้าใจศิลปะ ความเป็นไทย อนุรักษ์สืบสานต่อยอดพัฒนาและสร้างสรรค์

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

“มทร.รัตนโกสินทร์ มีการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาโดยนำเรื่องเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะการเรียนรู้ในปัจจุบันต้องมีเรื่องเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่การเรียนศิลปะ บางเรื่อง ไม่สามารถนำเทคโนโลยี หรือปัญญาประดิษฐ์ AI เข้ามาแทนที่ได้ ทำให้ขณะนี้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยกับวิทยาลัยเพาะช่าง มีความแตกต่างกันมาก”ดร.ขวัญรัตน์ กล่าว

ภาคกิจหลักของวิทยาลัยเพาะช่าง เป็นเพียงหน้าที่เดียวของมหาวิทยาลัย ทำให้ไม่สามารถจัดกระบวนการสอนได้เต็มรูปแบบ ทั้งในเรื่องการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ศิลปท้องถิ่น  วิทยาลัยเพาะช่างมีการพัฒนาแผน ให้การเรียนรู้ของเด็กนึกถึงรากเหง้า วิถีชีวิตของคนไทยควบคู่การนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้ให้เกิดการพัฒนาฝีมือและแรงงาน ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

  • 3 ภาควิชาสร้างอัตลักษณ์ไทย

ปัจจุบัน “วิทยาลัยเพาะช่าง” เทียบเท่ากับ 1 คณะ มีนักเรียนนักศึกษาทั้งหมดประมาณ 1,000-2,000 คน มีนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียน 400 คนต่อปี เป็นหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต แบ่งการเรียนการสอน 3 ภาควิชาศิลปะประจำชาติ  ภาควิชาวิจิตรศิลป์ และภาควิชาออกแบบ ซึ่งการเรียนการสอนตามรายวิชาแล้ว จะมีการเสริมในรายละเอียด พื้นฐานวิถีการคิดความเป็นไทย เพราะวิทยาลัยเพาะช่างอยากให้เด็กไทย คนรุ่นใหม่กลับมาคิดแบบภูมิปัญญาไทย และมีกระบวนการนำเทคโนโลยีมาใช้

แม้ด้านศิลปะประจำชาติ ภาควิชาวิจิตรศิลป์ จะต้องเน้นการสร้างสรรค์จากความคิดสร้างสรรค์ การลงมือปฎิบัติ แต่ในส่วนของภาคออกแบบ นอกจากภาคปฎิบัติเป็นหลักแล้ว ยังมีการนำเรื่องของเทคโนโลยีมาใช้ค่อนข้างมาก ทั้งการสร้างงานออกแบบ 3 มิติ เรียนพื้นฐานความรู้และประยุกต์ใช้ ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือทุนนวัตกรรม  โดยสร้างโครงการการเรียนการสอน รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก สร้างงานเรียนรู้วิชาการตลอดชีวิตดร.ขวัญรัตน์ กล่าว

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

วิทยาลัยเพาะช่าง ได้มีความพยายามปรับหลักสูตรโดยเน้นพื้นฐานทางศิลปะ บูรณาการเข้ากับเทคโนโลยี เพื่อให้เด็กสามารถใช้เครื่องมือดิจิตอลต่างๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานได้ แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นไทย และทักษะปฎิบัติ   

รวมถึงความผู้ประกอบการของตนเอง เพราะเด็กเรียนศิลปะส่วนใหญ่มีความเป็นเจ้านายของตัวเอง เด็กส่วนใหญ่ได้ประกอบอาชีพอิสระ ตั้งแต่เรียนอยู่ปี 1 และปี2 อยู่แล้ว  เมื่อจบออกไปก็จะมีเส้นทางอาชีพของตัวเองชัดเจน อีกทั้งมีการเรียนกฎหมายธุรกิจ เพื่อเรียนรู้การจดลิขสิทธิ์ ผลงานต่างๆ เป็นต้น

  • ผลิต “นักธุรกิจศิลป์” ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

ดร.ขวัญรัตน์ กล่าวต่อไปว่าขณะนี้วิทยาลัยเพาะช่างต้องทำตามหลักสูตรที่มทร.จัดให้ แต่หากวิทยาลัยเพาะช่างได้แยกออกมาได้ จะมีการผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน สร้างศิลปินที่มีผลงานในเชิงศิลปะ ความเป็นไทย และธุรกิจศิลป์ พาณิชย์ศิลป์ ซึ่งศิลปะตอบสนองด้านสุนทรียะ และตอนนี้ Soft Powerเป็นส่วนที่เพาะช่างต้องสร้างอัตลักษณ์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ศิลปะทดแทนด้วย AI ไม่ได้ “เพาะช่าง”เตรียมเป็นสถาบันศิลปะปี65

ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ชาติ ให้ความสำคัญกับการดึงธุรกิจ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งวิทยาลัยเพาะช่างได้มีการดำเนินการนำเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรม มาสู่การพัฒนานักเรียนนักศึกษานำไปสู่การสร้างรายได้ และมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทางท่องเที่ยวให้แก่ประเทศร่วมด้วย  เพราะประเทศไหนมีเกียรติต้องยอมรับสุนทรียะ เป็นความมั่นคง ซึ่งศิลปวัฒนธรรม ไม่ใช่เพียงการยกมือไหว้ รอยยิ้มเท่านั้น แต่ต้องสร้างภาพลักษณ์เชิญชวน สร้างแนวปฎิบัติศิลปวัฒนธรรมเข้าไปสู่สังคมโลก งานเศรษฐกิจ หรือศิลปะร่วมสมัย

“เด็กที่จะเลือกเรียนรายวิชาด้านศิลปะนั้น จะต้องมีใจรัก  นิยมชอบในการทำงานด้านสุนทรียะ เรียนรู้การทำงานด้วยใจ และเกิดเป็น Soft Power ขึ้นในตัวเด็ก ซึ่ง เพาะช่าง เห็นความสำคัญของประเทศชาติ ได้มีการปรับตัว ปรับหลักสูตร ให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ที่ทักษะความรู้ทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ ร่วมอนุรักษ์ สืบทอดศิลปความเป็นไทยควบคู่การใช้เทคโนโลยีดิจิตอล” ดร.ขวัญรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย