เปิดโทษ! ปลอมใบรับรองวัคซีนโควิด-19 ผิดกฎหมายร้ายแรงขนาดไหน?

เปิดโทษ! ปลอมใบรับรองวัคซีนโควิด-19 ผิดกฎหมายร้ายแรงขนาดไหน?

อย่าหาทำ! ส่องโทษ "ปลอมแปลงเอกสารฉีดวัคซีนโควิด-19” ผิดกฎหมายมาตราอะไร โทษร้ายแรงแค่ไหน จำคุกกี่ปี ?

จากกรณีที่มีการรับจ้าง “ปลอมแปลงทำใบฉีดวัคซีนโควิด-19” บนโซเชียลมีเดีย เพื่อให้คนที่ไม่อยากฉีดวัคซีน หลบหลีกและนำไปเป็นหลักฐานยืนยันในการอนุมัติตามสถานที่ต่างๆ ล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีสธ. ได้สั่งกำชับให้กรมควบคุมโรคตรวจสอบอย่างหนัก

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนรู้ การปลอมแปลงเอกสาร เข้าข่ายความผิดอาญามาตราไหน มีโทษอย่างไร จำคุกสูงสุดกี่ปี?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

 

1. ความผิดจากการปลอมเอกสาร เป็นอย่างไร?

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 บอกว่า หากใครปลอมเอกสารทั้งฉบับ ปลอมแปลงส่วนใดส่วนหนึ่ง รวมทั้งเติม-ตัดทอน แก้ไขข้อความจากเอกสารตัวจริง แม้กระทั่งประทับตราปลอม ลงลายมือชื่อปลอม ทั้งหมดนี้จะส่งผลเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน 

ถ้าหากใครหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารฉบับจริง ผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ผู้ใดที่กรอกข้อความลงในกระดาษ หรือวัตถุอื่นๆ โดยที่มีลายมือชื่อคนอื่นซึ่งไม่ได้รับความยินยอม หรือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง ถ้านำเอกสารไปใช้ในเรื่องที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ถือเป็นผู้ปลอมแปลงเอกสาร จัดเป็นผู้ที่ต้องระวางโทษเช่นกัน

2. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสาร?

คำว่า “เอกสาร” ตามประมวลกฎหมายอาญา หมายยถึง กระดาษ หรือวัตถุที่มีความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแบบแผน ด้วยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความหมายได้

การปลอมแปลงเอกสาร ไม่จำเป็นต้องมีเอกสารตัวจริงก็ได้ และไม่ต้องทำให้เหมือนของจริงก็สามารถเอาผิดโทษฐานปลอมแปลงเอกสารได้เช่นกัน เพราะเจตนาทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง

3. ความเคลื่อนไหวของ อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาร
ณสุข (สธ.)

วันที่ 14 ธ.ค. 64 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า การออกใบรับรองวัคซีนปลอม อาจส่งผลอันตรายต่อตนเองและคนรอบข้าง และยังมีความผิดทางอาญา ไม่คุ้มค่าที่จะทำ พร้อมกันนี้ได้สั่งให้กรมควบคุมโรคตรวจสอบโดยด่วน และย้ำว่า หากทราบเบาะแส ให้แจ้งไปยังตำรวจ 

ทั้งนี้ยังกล่าวอีกว่า หากเป็นใบฉีดวัคซีนของจริงที่ออกให้โดยสถานที่ฉีดหรือสถานพยาบาล จะมี QR Code ที่แสดงผลผู้ให้บริหาร วันที่รับริการ ยี่ห้อวัคซีน สถานที่ฉีด เลขรหัสขวด ซึ่งจะเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่า ใบรับรองนี้เป็นเอกสารจริงหรือเอกสารปลอม

------------------------

อ้างอิง: Athiwat Lawyer, กระทรวงการต่างประเทศ