โควิด-19 "ชายแดนใต้" ยังสูง สวนทาง กทม. ปริมณฑล ต่างจังหวัด

โควิด-19 "ชายแดนใต้" ยังสูง สวนทาง กทม. ปริมณฑล ต่างจังหวัด

ศบค. รายงานสถานการณ์โควิด-19 วันที่ 18 ต.ค. 64 แนวโน้ม 4 จังหวัดภาคใต้ยังสูง สัดส่วน 23% ของภาพรวมประเทศ เสียชีวิตกว่า 21 ราย นายกฯ สั่งการ ตั้งศูนย์บูรณาการโควิดฯ 4 จังหวัดภาคใต้

วันนี้ (18 ต.ค. 64) ที่ทำเนียบรัฐบาล “พญ.สุมนี วัชรสินธุ์” ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงาน “สถานการณ์การโควิด-19” ล่าสุด พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 10,111 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศ 10,046 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 24 ราย ผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 41 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 1,793,812 ราย

 

ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 63 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมถึง 18,242 ราย ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตสะสม 18,336 ราย ผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่ 107,226 ราย กลุ่มคนไข้อาการหนัก 28,831 และใส่เครื่องช่วยหายใจ 644 ราย ยอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 10,612 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564 จำนวน 1,640,824 ราย

 

โควิด-19 \"ชายแดนใต้\" ยังสูง สวนทาง กทม. ปริมณฑล ต่างจังหวัด

 

  • แนวโน้ม ภาคใต้ยังเพิ่ม

 

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่า แนวโน้มภาพรวมประเทศ กทม.ปริมณฑล แนวโน้มลดลง เหลือ 16% แต่เมื่อดูต่างจังหวัด 67 จังหวัด ทิศทางแนวโน้มลดลงเช่นกัน แต่ลดลงอย่างช้าๆ สัดส่วน 61% ขณะที่ ชายแดนใต้ 4 จังหวัด มีทิศทางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สัดส่วน 23% ซึ่งทางศบค. ชุดเล็ก มีความเป็นห่วง ได้มีการพูดคุยหารือ และวิเคราะห์สาเหตุการติดเชื้อในชายแดนใต้

 

โควิด-19 \"ชายแดนใต้\" ยังสูง สวนทาง กทม. ปริมณฑล ต่างจังหวัด

  • "ภาคใต้" เสียชีวิต 21 ราย

 

ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของผู้เสียชีวิตวันนี้ โดยผู้เสียชีวิตเพิ่ม 63 ราย เป็นชายมากกว่าหญิง มีรายงานผู้เสียชีวิตจากภาคใต้ 21 ราย จากนครศรีธรรมราช 8 ราย ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดละ 3 ราย สุราษฎร์ธานี นราธิวาส จังหวัดละ 2 ราย ยะลา ชุมพร สตูล จังหวัดละ 1 ราย ทั้งนี้ 94% ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ก็ยังมาจากกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและโรคประจำตัว

 

โควิด-19 \"ชายแดนใต้\" ยังสูง สวนทาง กทม. ปริมณฑล ต่างจังหวัด

 

  • 5 จังหวัด ภาคใต้ ติดอันดับติดเชื้อรายวันสูงสุด

 

ทั้งนี้หากดูใน 10 จังหวัดติดเชื้อรายวันสูงสุด พบว่า อันดับ 1 ยังเป็นกทม. 1,046 ราย และมีจังหวัดในภาคใต้กว่า 5 อันดับ ได้แก่ ยะลา นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส นอกจากนี้ ยังมีระยอง ชลบุรี เชียงใหม่ สมุทรปราการ

 

จากการวิเคราะห์จังหวัดที่ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด ในภาคใต้ ตั้งแต่ 1 เม.ย. – กลางเดือน ต.ค. พบว่าปัจจัยเสี่ยง นอกจากจะมาจากสถานบันเทิงแล้ว ยังมาจากเรือนจำ ผู้ต้องขัง โรงงาน และผู้มีอาการทางเดินหายใจที่มาจากพื้นที่เสี่ยง และยังพบผู้ติดเชื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน มาเลเซีย เกิดการแพร่กระจายเชื้อใน ยะลา นราธิวาส และปัตตานี

 

โควิด-19 \"ชายแดนใต้\" ยังสูง สวนทาง กทม. ปริมณฑล ต่างจังหวัด

 

  • คลัสเตอร์อื่นๆ

 

สำหรับคลัสเตอร์อื่นๆ ยังคงให้ความสำคัญ และเฝ้าระวังต่อเนื่อง คือ คลัสเตอร์แคมป์ก่อสร้าง ที่จันทบุรี ระยอง , ชลบุรี ติดเชื้อจากสหกรณ์กองทุนสวนยาง , ล้งผลไม้ พบมากในจันทบุรี , คลัสเตอร์งานศพ ยังมีต่อเนื่องในหลายจังหวัด ได้แก่ ลำพูด ขอนแก่น เลย สระแก้ว กาญจนบุรี

  • จัดตั้งศูนย์บูรณาการโควิดฯ ภาคใต้

 

พญ. สุมนี กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์ภาคใต้ที่มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น และมีผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในภาคใต้จากที่รายงานวันนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการ ให้จัดตั้งศูนย์บูรณาการแก้ไข สถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา

 

โดยมี พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการศูนย์ โดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ได้มีการลงนามไปวานนี้ (17 ต.ค. 64) และวันนี้ มีผลบังคับใช้ โดย ศบค. ชุดเล็ก ยังได้มีการหารือ โดยจะมีการส่งผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมควบคุมโรค ได้ลงไปช่วยสอบสวนโรคในพื้นที่ภาคใต้เพิ่มเติม