เทคนิค "เสริมภูมิคุ้มกันกาย-ใจ" ในยุคโควิด เปลี่ยนความกลัวสู่การเติบโต

เทคนิค "เสริมภูมิคุ้มกันกาย-ใจ" ในยุคโควิด เปลี่ยนความกลัวสู่การเติบโต

แพทย์แนะเทคนิค "เสริมภูมิคุ้มกัน กายใจ" ด้วย "โปรแกรม MIO" ใช้สมาธิ-สติ เปลี่ยน Fear Zone เป็น Growth Zone ด้วยสติ’ รับมือโควิด-19

วันนี้ (28 ก.ย. 2564) ‘เปลี่ยน Fear Zone เป็น Growth Zone ด้วยสติ’ กิจกรรมธรรมสวัสดีไลฟ์รอบพิเศษ ได้จัดกิจกรรมชวนกันผันพลังงาน เพิ่มใจให้มีพลัง From Fear to Free ด้วยแรงบันดาลใจจากองค์กรต่างๆ ที่ใช้สติฝ่าฟันโควิด-19 มาอย่างไม่ยอมจำนน

  • 3มาตรการโซนเรียนรู้ ปรับตัวกับโควิด-19

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์  ที่ปรึกษาโครงการสร้างสุขและจิตสำนึกด้วยโปรแกรมสติในองค์กร (MIO) กล่าวว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อมนุษยชาติและสร้างวิกฤตในหลายๆ เรื่อง ซึ่งภาวะการณ์โรคระบาดใหญ่ที่มนุษย์ไม่มีภูมิคุ้มกันมาก่อน ทำให้เกิดความตระหนก ยิ่งมีข่าวสารออกมาว่าโควิด ติดง่าย เสียชีวิต ทุกคนยิ่งหวาดกลัวมากขึ้น

แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ทุกคนเริ่มเข้าใจข้อเท็จจริงมากขึ้น ว่าแม้เป็นโรคระบาดใหม่ที่ติดต่อได้ง่ายแต่เป็นโรคที่ป้องกันได้ ด้วยวิถี New Normal และวัคซีน ทุกคนไม่ต้องกลัว อีกทั้งจะติดไม่ติดสามารถตรวจได้ด้วย ATK ตรงนี้เรียกว่าโซนเรียนรู้ และเกิดการปรับตัวในแต่ละคนและสามารถปรับตัวได้

นพ.ยงยุทธ อธิบายว่า โซนเรียนรู้  ทุกคนต้องเรียนรู้อยู่กับโควิด ซึ่งเป็นบทเรียนทั่วโลก เพราะไม่สามารถล็อกดาวน์ได้นาน เนื่องจากกระทบเศรษฐกิจและสังคม ต้องเรียนรู้เพื่ออยู่กับโควิด-19 ด้วย 3 มาตรการหลัก คือ 1.ต้องมีวัคซีน หัวใจสำคัญของวัคซีน คือ ป้องกันตนเอง  เพราะต่อให้การฉีดวัคซีนไม่ได้แปลว่าไม่ติดแต่สามารถช่วยลดการป่วยหนัก การเสียชีวิตได้ 2.ต้องมี  ATK เป็นการคัดกรองตนเอง เพื่อป้องกันผู้อื่น เมื่อเรารู้ว่าเราติดเชื้อเราต้องแยกกันตัวเอง ไม่ให้ไปติดผู้อื่น และ 3.New Normal ป้องกันตนเองและผู้อื่น เมื่อเรามีระยะห่างทางสังคม มีการสวมใส่หน้ากาก ถ้ามีเชื้ออยู่ก็ไม่แพร่เชื่อแก่ผู้อื่น ดังนั้น จริงๆ แล้ว ถ้าเข้าใจ 3 มาตรการนี้ ทุกคนจะอยู่กับโควิด-19 โซนการเรียนรู้ ทำให้เราปรับตัวได้

 

  • โซนพัฒนา ใช้สมาธิ-สติตามแนวจิตวิทยา

นพ.ยงยุทธ อธิบายต่อว่า สำหรับโซนพัฒนา เป็นโซนที่ไม่ใช่รอดคนเดียว แต่คนในสังคม คนที่ทำงาน ครอบครัวต้องรอดด้วย ซึ่งโซนนี้จะใช้สติตามแนวจิตวิทยา คือ สมาธิและสติขั้นสูงกว่าและสำคัญอย่างมากกับการที่เราจะทำการพัฒนาช่วยเหลือผู้อื่น เพราะจิตพื้นฐานของเรา พักเท่ากับหลัก ตื่นเท่ากับตื่น ซึ่งจิตพื้นฐานของเรานั้นชอบสะสมความคิดลบ ทำให้กลายเป็นอารมณ์และความเครียด เช่น โซนตระหนก คนเราเมื่อเจอข่าวบวกๆ จะไม่ค่อยจำ แต่ข่าวลบๆจะจำและส่งต่อไปยังผู้อื่น เป็นต้น

วิธีการที่จะออกไปจากอารมณ์และความเครียดได้ มี 2 วิธี มีดังนี้ 

  • จิตวิทยากระแสหลัก ให้ปรับปรุงจิตพื้นฐาน  เช่น จิตพื้นฐานชอบตระหนกก็ให้มาเรียนรู้ แก้ความเข้าใจเสียใหม่ จากโซนเรียนรู้
  • จิตวิทยาแนวใหม่ พัฒนาจิตขั้นสูงกว่า คือ พักจิตการฝึกสมาธิ ให้จิตทำงานอย่างสงบ มั่นคง และปล่อยวางคือการฝึกสติ ถ้าเราทำจิตขั้นสูงกว่า ไม่ใช่เพียงปรับปรุงจิตพื้นฐานให้ปรับตัวได้

แต่จะพัฒนาจิตขั้นสูงกว่า ด้วยสติและสมาธิ เมื่อจิตเราสงบ มั่นคง และสมดุล จะเป็นคุณสมบัติของจิตที่มีความโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือผู้อื่น  หรือที่เราเรียกว่า พรหมวิหาร 4 มีความรัก ความเมตตา เสียสละ และให้อภัย โดยคุณลักษณะที่ดี เหล่านี้ จะมาจากจิตขั้นสูงกว่าที่ดีมาก

การจะปรับปรุงจิตพื้นฐาน การฝึกสติในองค์กร สามารถอธิบายในเชิงจิตวิทยา โดยไม่ได้คำนึงถึงศาสนาเพื่อให้ทุกคนทุกศาสนา ได้เรียนรู้ ดังนั้น สมาธิและสติในแนวจิตวิทยา เป็นกระแสทั่วโลกในการนำมาใช้การดูแลชีวิต การทำงานของตนเอง

 

  • สมาธิ-สติ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันกายใจ

นพ.ยงยุทธ กล่าวต่อว่าการฝึกสมาธิในแนวจิตวิทยา คือ การฝึกสมาธิ สติเพื่อคลายอารมณ์และความเครียด  มีความสงบ ผ่อนคลาย โดนัยนะนี้ เป็นการฝึกให้จิตหยุดคิด ได้ด้วย 3 วิธีคือ ท่องคำ ให้นึกภาพ 1 ภาพ และให้รู้ลมหายใจ เวลาที่หยุดคิด จิตจะว่างจากความคิดมากขึ้น จิตใจก็จะสงบ และเมื่อสงบมากขึ้นจะนำไปสู่การผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ถ้าเทียบกับจิตพื้นฐานจะคิดทั้งวัน และชอบสะสมความคิดลบกลายเป็นความว้าวุ่น และความเครียด 

สมาธิ มีความสัมพันธ์กับสติ นั่นคือ สภาวะจิต ของสมาธิ จะเป็นจิตพักโดยรู้ตัวตลอดเวลา ทำให้มีสติ จิตทำงานโดยไม่วอกแวก และไม่ถูกสอดแทรกด้วยอารณ์ กระบวนการฝึก สมาธิจะทำให้ยุดคิด สติ อยู่กับกิจที่ทำอย่างต่อเนื่อง อยู่กับปัจจุบัน เทคนิค/วิธีการ สมาธิทำให้รู้ลมหายใจทั้งหมด สติ ลงหายใจทุกลงหายใจเป็นปัจจุบัน ทำให้ รู้ลมหายใจบางส่วน รู้ในกิจที่ทำ

จิตขั้นสูงกว่าของสมาธิ รู้ลมหายใจทั้งหมด หยุดคิด จิตพักโดยรู้ตัวตลอดเวลา ซึ่งกระบวนการนี้จะยากเพราะมีจิตใต้สำนึกเข้ามาแทรก ทำให้คนไม่สามารถนั่งสมาธิได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ต้องพยายามเพียงแต่ต้องจัดการ ด้วยการรู้จัดไม่คิดตาม เพราะถ้าสงบ จะง่วง ถ้าเราจัดการความง่วงได้ ก็จะทำให้นั่งสมาธิได้ ซึ่งสมาธิจะช่วยไม่ให้ภูมิคุ้มกันเราเสื่อม  เพราะถ้าจิตสงบ นิ่ง จะเพิ่มภูมิคุ้มกัน ทำให้สภาวะกาย ใจ ที่ดีขึ้น เราจะไม่สะสมความเครียดในร่างกาย

  • สติในองค์กร ยกระดับสภาวะจิตของคน

นพ.ยงยุทธ กล่าวต่อไปว่าวิธีการในโปรแกรมสติในองค์กร มีสติอยู่ 3 ลักษณะ คือ สติในตน ต้องทำงานอย่างมีพลัง และความสุข ซึ่งองค์กรเหล่านี้จะทำสมาธิ ก่อนทั้งก่อนเริ่มงาน และหลังเลิกงาน มีสติรู้ในกิจที่ทำ  สติในทีม จะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีมิตรไมตรี ในทีม มีสติสื่อสารจะมีกติกาให้รู้ลมหายใจทั้งพูดและฟัง และสติคิดบวก  เวลามีอารมณ์ ต้องรู้ลมหายใจใคร่ครวณ อย่าพึ่งรีบแสดงออกไป  หรือรีบตัดสิน

สติในองค์กร ต้องขับเคลื่อนองค์กร ด้วยกาประชุมด้วยสติสนทนาในการประชุม 2 ชนืด ถ้าวาระไหนแลกเปลี่ยนจะใช้การเรียนรู้แบบกัลยาณมิตรสนทนา รับฟังอย่างมีมติ เพื่อให้เกิดความคิดดีๆ  และแบบ 2 เมื่อมีโจทย์ปัญหาเกิดขึ้น ให้อภิปรายอย่างสร้างสรรค์  หาทางออกร่วมกันโดยคนส่วนมากมีส่วนร่วม และใช้ข้อดีต่างๆ ของแต่ละไอเดีย ซักถามอย่างมีสติ มาช่วยหาคำตอบ อย่างสร้างสรรค์ได้

ถ้าใช้เครื่องมือทั้งหมดในการฝึกอบรมจะทำให้องค์กรเหล่านี้กลายเป็นองค์กรแห่งสติ เกิดการพัฒนาคนจากภายใน การทำงานอย่างมีความสุขไปสู่ครอบครัว และสังคม เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้

  • แนะฝึกพื้นฐาน 7 วันแรกสร้างสติในองค์กร

การฝึกพื้นฐานจะอยู่ใน 7 วันแรก ตั้งแต่วันที่ 8 จะเป็นการฝึกทุกวันให้เป็นวิถีชีวิต

  • วันที่ 1 ฝึกสมาธิ ช่วยลดความว้าวุ่นใจจากโรคโควิด-19
  • วันที่ 2 ฝึกสติพื้นฐาน ช่วยให้ทำกิจต่างๆ โดยไม่รับและแพร่เชื้อโควิด-19 วันที่ 3 สติในการกิน ช่วยให้เราดูแลสุขภาพได้ดี และปลอดภัยจากโรค วันที่ 4 สติควบคุมอารมณ์ ช่วยจัดการกับอารมณ์ลบที่เกิดขึ้น
  • วันที่ 5 สติใคร่ครวญ เราได้อะไรจากวิกฤต เปลี่ยนความคิดลบเป็นความคิดบวก
  • วันที่ 6 สติ สื่อสาร ช่วยให้สื่อใจถึงใจกับคนใกล้ชิด
  • วันที่ 7 สติเมตตาให้อภัย ช่วยให้ใจเปิดกว้าง แม้ในยาววิกฤติ
  • วันที่ 8 สติเป็นวิถี สร้างตวามเข้มแข็งในจิตใจเรา และเป็นพลักให้ผู้อื่น

 

  • โควิดตัวเร่งเปลี่ยนความกลัวเป็นเจริญเติบโต

ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต  ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถานและหุบเขาโพธิสัตว์  ที่ปรึกษาโครงการขับเคลื่อนครอบครัวอบอุ่นด้วยสติในองค์กร (Mindfulness Family) กล่าวว่า ความกลัวไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว และบางอย่างจะใช้ความกลัวเป็นปุ๋ยที่จะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่อิสรภาพ ซึ่งไม่อยากให้มองว่าความกลัวไม่ดี เพราะจะทำให้ไม่ร่าเริงพอที่จะเป็นนักสู้ในสังเวียนของชีวิต

"คนที่ไม่ได้ฝึกจิต จะมีความรู้สึกวิตกกังวล ระแวงกับสิ่งที่จะมาถึงเรา คือ การป้องกันตัว แต่มีการป้องกันตัวที่ดี คือ ฝึกเป็นคนที่รู้ทันความกลัว ความไม่อยากให้เป็น และปล่อยวาง ซึ่งใครที่ฝึกจิตที่ดีแล้ว จะเป็นคนที่ยอมรับความจริงได้"ท่านแม่ชีศันสนีย์ กล่าว

การพัฒนาจิตให้มีความแจ่มใส ตื่นรู้ จะเห็นความกลัวเป็นปรากฎการณ์ที่ต้องเรียนรู้ และดูแลหัวใจของตนเอง อาจเป็นอีกมุมหนึ่งที่ต้องใช้ช่วงโควิด-19 คือความอ่อนโยนกับตัวเอง หากมีความกลัวมากจนวิตกกังวล จะทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะถ้าภาษาในการปฎิบัติจริงๆ เราป่วยด้วยความกลัว  เรากำลังเจ็บป่วยทางกายด้วยอาการป่วยทางจิตจากความกลัวที่รัดตัวเองเอาไว้ แต่ถ้ารู้ทันความกลัว ความกลัวไม่ได้ต่างจากธรรมชาติอื่นๆ ก็มีการคลายตัวเช่นเดียวกัน 

"การเห็นความกลัว ยอมรับความกลัว และรู้จักการจัดการความกลัว เราจะเรียนรู้การไม่ยอมจำนง ซึ่งนี้เป็นการเรียนรู้การปฎิบัติ การฝึกสติ สมาธิ ปัญญา จะเป็นคนไม่ยอมจำนง เราจะขวนขวายเรียนรู้ และทำให้เกิดการเติบโต จะไม่จมอยู่กับความกลัว แต่จะพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ อย่างยอมรับความจริง" ท่านแม่ชีศันสนีย์ กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ แนวคิดโปรแกรมสร้างสุขด้วยสติในองค์กร (Mindfulness in Organization : MIO) นั่นคือ สภาวะจิตของคนทั่วไป โดยปกติจะมีแค่สภาวะของการหลับและการตื่น เท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีสภาวะจิตขั้นสูงขึ้นไปอีก เป็นสภาวะที่ร่างกายยัง ตื่นอยู่ไม่ได้หลับ แต่จิตใจสงบ ผ่อนคลายมีความสุขโดยสภาวะนี้จะมีคลื่นสมอง ที่พิเศษแตกต่างจากช่วงเวลาตื่น หลับและฝันอย่างเห็นได้ชัด

ด้วยสภาวะจิต ขั้นสูงนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถพัฒนาได้โดยการพัฒนา“สมาธิและสติ” นั่นเอง เมื่อบุคคลได้รับการพัฒนาสมาธิและสติแล้วจะสามารถดำ เนินชีวิตและ ทำ งานได้อย่างมีความสุข ปราศจากทุกข์ บรรเทาโรคทางกายและโรคทางจิต และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อสามารถนำ “สติ” มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ วัน ในการทำงาน ในชีวิตครอบครัวและ ในการสร้างสัมพันธภาพในสังคมแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล สามารถติดตามได้ใน แอพพลิเคชั่น Thaimio หรือเว็บไซต์ http://www.thaimio.com/