'Work From Home' ช่วยลดการระบาด 'โควิด-19' ​ระลอกใหม่ได้ยังไง?

'Work From Home' ช่วยลดการระบาด 'โควิด-19' ​ระลอกใหม่ได้ยังไง?

ศบค.เคาะมาตรการให้ "Work From Home" เพื่อลดการแพร่เชื้อ "โควิด-19" ​ระลอกใหม่ที่มีจำนวน "คนติดโควิด" เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด แล้วการทำงานที่บ้าน หรือ "Work From Home" จะสามารถช่วยฝ่าวิกฤติครั้งนี้ได้อย่างไร?

หน่วยงานราชการและเอกชน เริ่มออกประกาศให้พนักงาน "Work From Home" กันแล้ว และขอความร่วมมือให้คนไทยอยู่บ้าน งดการเดินทาง หวังแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กลับมาระบาดอีกครั้งเป็นระลอกที่ 3

แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นโยบาย Work From Home ถูกใช้เป็นหนึ่งในมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาด เนื่องจากหน้าที่การงานทำให้ประชาชนต้องเดินทางเพื่อทำหน้าที่ของตนเองตามปกติ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ด้วยหวังว่าเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่สามารถลดการระบาดได้

  • Work From Home คืออะไร ? 

"Work From Home" หรือที่หลายคนย่อว่า "WFH" ความหมายตรงๆ คือ "การทำงานที่บ้าน" หรือ "ทำงานจากที่บ้าน" เทรนด์การทำงานยุคใหม่ที่ตามมากับเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาไปจนทำให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แบบเรียลไทม์ในต้นทุนที่ต่ำลง ที่ทำให้สามารถสื่อสารเรื่องการทำงานราวกับอยู่ในที่เดียวกันได้ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านอุปกรณ์ส่วนตัว อย่างแลปท็อป สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์พกพา ฯลฯ

การ Work Form Home ในต่างประเทศได้รับความนิยมตั้งแต่ก่อนโควิดระบาด และกลายเป็นเทรนด์ การทำงานในบ้านเรานิยมใช้กลุ่มธุรกิจยุคใหม่ เช่น กลุ่มสตาร์ทอัพ ฟรีแลนซ์ หรือ gig economy หรือกลุ่มผู้ทำงานแบบอิสระ รวมถึงองค์กรใหญ่บางองค์ที่พยายามเปลี่ยนตัวเองให้ทันยุคสมัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ยิ่งไปกว่านั้นการ Work Form Home ยังขยายวงกว้างในช่วงที่ "โควิด-19" ระบาดรอบแรกที่หลังจากท่าทีของการระบาดลดลงหน่วยงานต่างๆ ก็เริ่มกลับไปทำงานแบบเดิม และสถานการณ์ก็ดูเหมือนจะคลี่คลาย ก่อนจะกลับมาระบาดซ้ำรุนแรงในช่วงเดือน เม.ย. 64 นี้

  • work from home ช่วยสกัด "โควิด-19" ได้อย่างไร? 

หลักจากมีการระบาดของโควิด-19 มาสักระยะ คงทราบกันดีว่ากระจายของ "ไวรัสโคโรโน่า" หรือ "โควิด-19" รุนแรงและกระจายเป็นวงกว้างมากกว่าโรคซาร์สซึ่งเป็นโรคระบาดในตระกูลเดียวกันที่เคยมีมาก่อนหน้านี้

โควิด-19 ระบาดโดยการแพร่กระจายเชื้อได้หลายรูปแบบ โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยแห่งชาติระบุว่า โควิดจะแพร่กระจายผ่านฝอยละอองเป็นหลัก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจออก ฝอยละอองเหล่านี้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยอยู่ในอากาศ และจะตกลงบนพื้นหรือพื้นผิวอย่างรวดเร็ว

โดยมีการติดเชื้อได้จากการหายใจเอาไวรัสเข้าสู่ร่างกายเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือโดยการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสแล้วสัมผัสตา จมูก หรือปากของตนเอง ดังนั้นการ "เว้นระยะห่างทางสังคม" หรือ "Social Distancing" ลดการพบปะ พูดคุย สัมผัสใกล้ชิด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาด เพราะย่ิง "ไวรัส" แพร่ได้ไกล ได้เร็วเท่าไรยิ่งต้องอยู่ห่างกันมากเท่านั้น

"Work From Home" จึงเป็นหนึ่งวิธีปฏิบัติที่สำคัญ ที่จะช่วยให้คนส่วนใหญ่รักษาระยะห่างกับสังคมได้ โดยสามารถลดการพบปะ พูดคุย หรือรวมตัวอยู่ในพื้นที่แออัด ซึ่งเป็นวิธีที่จะขช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างดี 

  • งานที่ Work Form Home ไม่ได้ ต้องทำอย่างไร? 

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกอาชีพ หรือทุกตำแหน่งจะสามารถ Work Form Home ได้ เช่นกลุ่มผู้ให้บริการต่างๆ โดยเฉพาะบริการที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคที่มีโรคระบาด อย่าง "แพทย์" "พยาบาล" "บุคลากรทางการแพทย์" ฯลฯ หรือแม้แต่ "ร้านอาหาร" ต่างๆ ที่ยังจำเป็นต้องดำเนินกิจการต่ออย่างระมัดระวัง และหาช่องทางที่รับส่งที่ความเสี่ยงต่ำที่สุด เช่น การทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเป็นประจำ ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสร่วม เว้นระยะห่างการเดิน นั่ง ในสถานที่ต่างๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ ช่วง เม.ย. 64 ยังพบว่าอาการของผู้ป่วยโควิดในไทย เริ่มมีลักษณะอาการที่ต่างไปจากเดิมในช่วงการระบาดครั้งแรก คล้ายกับที่ต่างประเทศเคยเป็นก่อนหน้านี้ 
"อาการโควิด-19" แบบเดิม การระบาดระลอก 1 และ 2 

ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับความรุนแรงมาก ไม่ว่าจะเป็น การคัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ ส่วนบางรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีอาการปอดบวม หรือหายใจลำบากร่วมด้วย

โดยอาการที่พบบ่อยที่สุด คือ มีไข้ (ไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง), ไอแห้งๆ, ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย, ไอมีเสมหะ, หายใจลำบาก, เจ็บคอ, ปวดหัว, จมูกไม่ได้กลิ่น, ลิ้นไม่รับรส
"อาการโควิด-19" แบบใหม่ การระบาดระลอก 3 

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่าจากการสังเกตอาการทางคลินิกของ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นวัยหนุ่มสาว มีอาการน้อยมาก หลายรายมีอาการ ตาแดง น้ำมูกไหล ผื่นขึ้น 

ดังนั้นหากพบอาการข้างต้น ขอให้ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อให้คำแนะนำหรือตรวจสอบต่อไป และเป็นการลดความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคในวงกว้าง