สำรวจ "เส้นทางศึกษาธรรมชาติ" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

สำรวจ "เส้นทางศึกษาธรรมชาติ" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

“มูลนิธิไทยรักษ์ป่า” โดย "เอ็กโก กรุ๊ป" พัฒนาและปรับปรุง "เส้นทางศึกษาธรรมชาติ" น้ำตกกรุงชิง "อุทยานแห่งชาติเขาหลวง" จ.นครศรีธรรมราช ระยะทางไปกลับ 8 กิโลเมตร ผืนป่าที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางระบบนิเวศ และขึ้นชื่อว่าเป็น "สวรรค์ของนักดูนก"

“น้ำตกกรุงชิง” ซึ่งตั้งอยู่ ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดใน อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ที่ขึ้นชื่อว่า “หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้” น้ำตกกรุงชิงชั้นที่ 2 ที่ได้รับสมญานามว่า “หนานฝนแสนห่า” กระทั่งในปี 2535 กระทรวงการคลังได้นำภาพน้ำตกชั้นนี้ พิมพ์ลงในธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

น้ำตกกรุงชิง

 

“ผืนป่ากรุงชิง” นับว่าเป็นป่าดงดิบชื้นและดงดิบเขา ที่มีระบบนิเวศอุดมอุดมสมบูรณ์ของภาคใต้ มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์อย่างโดดเด่น เช่น “มดยักษ์ปักษ์ใต้” ซึ่งเป็นมดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาด 2.5 - 3 ซม. มักอาศัยตามขอนไม้ผุขนาดใหญ่ และใต้ดินบริเวณต้นไม้ใหญ่เฉพาะในป่าดิบชื้นที่สมบูรณ์ทางภาคใต้ จึงใช้เป็นดัชนีบ่งชี้สภาพของป่ากรุงชิงได้ทางหนึ่ง 

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

มดยักษ์ปักใต้

 

“ปูภูเขาอาจารย์ไพบูลย์” เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง มีบทบาทในห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศน้ำไหลบริเวณนี้ สามารถดำรงชีวิตด้วยการขุดรูอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำและออกหากินอยู่บนดิน พบครั้งแรกที่นี่ และพบเป็นวงกว้างตามแนวเทือกเขานครศรีธรรมราชตอนเหนือ โดยตั้งชื่อตาม "ศ.ดร.ไพบูลย์ นัยเนตร" ผู้เป็นนักอนุกรมวิธานของไทยด้านสัตว์กลุ่มปู ที่สร้างผลงานด้านนี้ไว้เป็นจำนวนมาก 

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้ ปูภูเขาอาจารย์ไพบูลย์

 

รวมถึงเป็นแหล่งรวมนกสำคัญและหายากของประเทศไทย จนขึ้นชื่อว่าเป็น “สวรรค์ของนักดูนก” เกิดเป็น “เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกกรุงชิง” ภายในอุทยานแห่งชาติเขาหลวง ซึ่งมีระยะเดินเท้าไป-กลับรวม 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในฐานะเป็นอดีตฐานที่มั่นสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

นกแต้วแล้วลาย

 

ปรับปรุงเส้นทางธรรมชาติ น้ำตกกรุงชิง

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกกรุงชิง อยู่ในผืนป่าที่มีความชื้นสูง มีน้ำป่าไหลหลาก และมีกิ่งไม้ใหญ่หักโค่นในฤดูฝน ทำให้เส้นทางที่มีอยู่เดิมเสื่อมโทรม “มูลนิธิไทยรักษ์ป่า” ซึ่งจัดตั้งและสนับสนุนโดย บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ได้ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติเขาหลวง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดำเนินโครงการพัฒนาและปรับปรุงเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกกรุงชิงในปี 2561 และแล้วเสร็จในปี 2563 

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้ ป้ายสื่อความหมาย

 

พัฒนาป้ายสื่อความหมาย และนักสื่อความหมาย

 

จากนั้นได้เริ่มพัฒนา "ระบบสื่อความหมาย" และ "เนื้อหาป้ายสื่อความหมาย" ในเส้นทางในปี 2564 จำนวน 13 จุด พร้อมอบรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ (มัคคุเทศก์) รุ่นแรก 50 คน ซึ่งเป็นคนในท้องถิ่น เพื่อเป็นตัวแทนในการสื่อสารความรู้ ความสำคัญของผืนป่าแห่งนี้ให้กับนักท่องเที่ยวได้รับรู้ พร้อมส่งมอบ “เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกกรุงชิง” ระบบสื่อความหมายธรรมชาติ และแอปพลิเคชัน “กรุงชิง Virtual Nature Trail 360 องศา” แก่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักนิยมธรรมชาติ นักวิจัย เยาวชน และนักท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้ เส้นทางที่ได้รับการปรับปรุง

แหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่า

 

“เทพรัตน์ เทพพิทักษ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป และประธานกรรมการ มูลนิธิไทยรักษ์ป่า เปิดเผยว่า เอ็กโก กรุ๊ป ในฐานะธุรกิจผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคพลังงานที่มีส่วนปล่อยคาร์บอน เราดำเนินธุรกิจควบคู่กับการให้ความสำคัญต่อการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและใส่ใจ ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลากว่า 30 ปี ด้วยความเชื่อที่ว่า “ต้นทางที่ดีจะก่อกำเนิดผลลัพธ์ปลายทางที่ดี” โดยดำเนินภารกิจอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลป่าต้นน้ำที่สำคัญของประเทศให้เกิดความยั่งยืน ผ่านการก่อตั้งและสนับสนุน “มูลนิธิไทยรักษ์ป่า” มาตั้งแต่ปี 2545

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

ต้นชิง

 

หนึ่งในภารกิจสำคัญ คือ การพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ให้เป็น “ห้องเรียนธรรมชาติ” แหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ โดยเริ่มในปี 2550 ปลูกฝั่งความเข้าใจ หวงแหนเส้นทางนั้นๆ ทั้งการออกแบบปรับปรุงพัฒนาเส้นทาง ระดมความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชนรอบป่า เพื่อออกแบบเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ เน้นมาตรฐาน ปลอดภัย รบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด

 

การพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้อะไรมากกว่าการเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมดา แต่ยังสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน โดยระดมความเห็นไม่ว่าจะเป็นชุมชน ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวภายในพื้นที่ นักดูนก นักวิชาการด้านนิเวศ และนักศึกษา นำข้อมูลมาคัดเลือก ปรับปรุงเส้นทางให้เหมาะสม แข็งแรง ปลอดภัย เฉพาะในจุดที่สำคัญและจำเป็นเพื่อเปลี่ยนสภาพธรรมชาติให้น้อยที่สุด

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

 

“จุดเด่นของป่ากรุงชิง คือ มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการดูแลรักษาการใช้ประโยชน์เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกกรุงชิง” เพื่อดูแลการใช้ประโยชน์ของเส้นทางฯ ในระยะยาว ตามแนวทางการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน ให้ป่าสมบูรณ์และชุมชนมีรายได้ เป้าหมาย คือ ให้นักท่องเที่ยวมาและเรียนรู้ หวงแหน มากกว่าการมาชมวิว มัคคุเทศก์จะเป็นคนให้ข้อมูล ชุมชนมีรายได้ มีคณะกรรมการรักษาผลประโยชน์ รวมถึงมีค่ายเยาวชนไทยรักษ์ป่า โดยใช้ผืนป่ากรุงชิงเป็นศูนย์เรียนรู้”

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป

 

ร่วมมือกรมอุทยานฯ อนุรักษ์ผืนป่า

 

ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานฯ เอ็กโก กรุ๊ป และมูลนิธิไทยรักษ์ป่าตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับที่ 4 ระหว่างปี 2564-2569 สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ เพื่อดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน 

 

"เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกกรุงชิงที่ปรับปรุงใหม่นี้ มีศักยภาพในการถ่ายทอดเรื่องราวความสำคัญและเสน่ห์ของผืนป่าภาคใต้ให้กับนักท่องเที่ยวและผู้คนในวงกว้าง ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับ นักนิยมธรรมชาติ นักวิจัย และนักดูนก ซึ่งจะช่วยพัฒนางานอนุรักษ์ในเชิงลึกและในระยะยาวต่อไป”

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

 

“กรุงชิง” สวรรค์ของนักดูนก

 

เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกกรุงชิง เป็นบ้านของสัตว์หลากชนิดและมีรายงานพบนกมากถึง 320 ชนิด ทั้งนกประจำถิ่น และนกอพยพ ยังตอกย้ำถึงความสมบูรณ์ของป่าความหลากหลายของนกในกรุงชิง ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งดูนกสำหรับผู้ชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น “กลุ่มนกพญาปากว้าง” อย่าง นกพญาปากกว้างเล็ก นกพญาปากกว้างดำ และนกเขียวปากงุ้ม หรือ “กลุ่มนกกระเต็น” เช่น นกกระเต็นสามนิ้วหลังดำ นกกระเต็นสร้อยคอน้ำตาล และนกกระเต็นลาย นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มนกหัวขวาน กลุ่มนกกลางคืน กลุ่มนกพื้นป่า เป็นต้น

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้ นกเขียวปากงุ้ม

 

“สุเชษฐ์ จิตอารีย์” หรือ “พี่เชษฐ์” ในวัย 40 ปี นักสื่อความหมายธรรมชาติ และนักดูนกแห่งผืนป่ากรุงชิง เล่าว่า ผืนป่ากรุงชิงนับเป็นป่าที่มีอุดมสมบูรณ์ มีนกนานาชนิดและเรียกได้ว่าเป็น สวรรค์ของนักดูนก ด้วยความที่ตนเองเป็นคนท้องถิ่น จึงใช้เวลาว่างเริ่มศึกษามาเป็นเวลากว่า 2 ปี จากงานอดิเรก จนกลายเป็นอาชีพเสริม

 

“ผมเกิดใน ต.กรุงชิง และ มีอาชีพทำสวนยางไม่ได้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเลย แต่ก่อนมีไกด์พาดูนกแต่ช่วงหลังไม่มีจึงเริ่มศึกษาด้วยตัวเอง หลังจากนั้น มีนักดูนกที่ไหว้วานให้พาไปดู ทำให้เขาเจอนกที่เด่นในกรุงชิง คือ นกเขียวปากงุ้ม เกิดการรู้จักกันปากต่อปาก ทำให้มีคนที่สนใจเริ่มให้พาไปส่องนกเรื่อยๆ”

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้

สุเชษฐ์ จิตอารีย์

 

พี่เชษฐ์ เล่าต่อไปว่า ใน 1 ปี เริ่มตั้งแต่ ม.ค. – เม.ย. นกจะมาใกล้อุทยานเยอะ พอฤดูฝนอาจจะหาดูได้แต่ไม่เจอเท่าในช่วงต้นปี “นกคอสามสี” เป็นนกที่ตนเองก็ยังคงเฝ้ารอที่จะได้เจอตลอด 2 ปี เพราะเป็นนกที่นักดูนกเคยถ่ายได้ และยังไม่เจออีกเลยตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ส่วนนกที่เห็นง่ายที่สุด คือ “นกเงือกหัวหงอก” ทั้งนี้ เมื่อมีการเปิดอบรมนักสื่อความหมายฯ จึงสนใจเพราะถือเป็นการต่อยอดให้รู้จักเส้นทางธรรมชาติน้ำตกกรุงชิงมากยิ่งขึ้น

 

“ที่นี่เป็นที่ดูนก ที่ดีที่สุดในนครศรีธรรมราช นกใต้มีเยอะที่สุดในผืนป่ากรุงชิง ในฐานะคนท้องถิ่น อยากให้ป่าอุดมสมบูรณ์แบบนี้ต่อไป นักท่องเที่ยวที่ต้องการศึกษาธรรมชาติจะได้มากันเยอะๆ ที่นี่วันเดียวก็เที่ยวไม่หมด เพราะมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อากาศดี ต้นไม้สมบูรณ์ น้ำตกสวย อยากให้ทุกคนที่มาเที่ยวกรุงชิง เดินไปถึงน้ำตกให้เห็นว่าสวยแค่ไหน” พี่เชษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้ นกกระเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล

 

เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าต้นน้ำ

 

ที่ผ่านมา มูลนิธิไทยรักษ์ป่า ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้พัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ดังนี้ 

จังหวัดเชียงใหม่

  • ปี 2550 บุกเบิกและพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
  • ปี 2558 เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกมณฑาธาร อุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย
  • ปี 2561 เส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอย อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
  • ปี 2562 เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ป่าน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
  • ปี 2564 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ อ่างกา อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • ปี 2560 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ น้ำตกพรหมโลก กะโรม และอ้ายเขียว อุทยานแห่งชาติเขาหลวง
  • ปี 2561 เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกกรุงชิง อุทยานแห่งชาติเขาหลวง

 

สำรวจ \"เส้นทางศึกษาธรรมชาติ\" น้ำตกกรุงชิง ใต้หลังคาสีเขียวแห่งภาคใต้