รู้จัก โรคจิตระยะสั้น "โรคจิตเวช" ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน

รู้จัก โรคจิตระยะสั้น "โรคจิตเวช" ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน

ทำความรู้จัก Brief psychotic disorder โรคจิตระยะสั้น หนึ่งใน "โรคจิตเวช" ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน มีลักษณะที่สำคัญ รูปแบบ และสาเหตุมาจากอะไร

จากกรณี วาด รวี หรือ นายรวี สิริอิสสระนันท์ นักเขียนและบรรณาธิการ ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ไชน์ (Shine Publishing) เสียชีวิตลง โดยเพื่อนในวงการนักเขียน นักวิชาการ อาจารย์ และสื่อมวลชน ร่วมแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก

 

ล่าสุด เฟซบุ๊ก Thiti Meetam ได้ระบุถึงสาเหตุการเสียชีวิตของ วาด รวี ใจความหนึ่งระบุว่า เป้- วาด รวี ไม่ได้จบชีวิตตัวเอง อย่างที่บางคนเข้าใจ (ผมเองด้วย) จากการสนทนากับคุณแม่ของเขา หญิงร่างเล็ก ผอมเกร็ง วัย กว่า 70 และเก๋ ภรรยาของเขา ที่เป็นแฟนกันมาแต่มหา'ลัย ทำให้ทราบว่าเป้เป็น โรค Brief psychotic disorder มา 4-5 ปีแล้ว รักษาตามอาการ จนดีขึ้นเป็นลำดับ 2 ปีก่อน หมอให้เขาหยุดยา ไป 1 ปีเต็ม เพิ่งจะกลับมาเริ่มกินยาอีกได้ไม่ถึงปี

 

Brief psychotic disorder คืออะไร 

Brief psychotic disorder "โรคจิตระยะสั้น" หรือ "โรคจิตเฉียบพลัน" ข้อมูลจาก คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ (ฉบับแพทย์) กรมสุขภาพจิต อธิบายว่า 

- Brief psychotic disorder "โรคจิตระยะสั้น" หรือ "โรคจิตเฉียบพลัน"  มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 

  • ผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนจากเดิมที่ปกติดีไปสู่ภาวะที่มีโรคจิตชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์ (sudden onset)
  • มักเป็นหลังจากประสบเหตุการณ์กดดันรุนแรง (อาจเป็นจากหลายเหตุการณ์ร่วมกัน)
  • ผู้ป่วยจะมีอาการพูดจาสับสน วกวน
  • พบบ่อยว่ามีประสาทหลอน
  • หลงผิดอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง
  • นอกจากนี้ อาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย มีท่าทีงุนงง สับสน
  • ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการนานอย่างน้อย 1 วัน แต่ไม่เกิน 1 เดือน

โรค Brief psychotic disorder มีรูปแบบ 3 อย่างคือ

สำหรับรูปแบบของโรค ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ระบุดังนี้ 

  • Brief psychotic disorder with a stressor (แบบมีตัวทำให้เครียด) เช่น ความบาดเจ็บหรือความตายในครอบครัว
  • Brief psychotic disorder without a stressor (แบบไร้ตัวทำให้เครียด)
  • Brief psychotic disorder with postpartum onset (แบบเกิดหลังคลอด) ปกติเกิดประมาณ4 สัปดาห์หลังคลอด

 

ความชุกของโรคจิตระยะสั้น

อุบัติการณ์และความชุกของโรคนี้ยังไม่ชัดเจน แต่ทั่วไปจัดว่าไม่สามัญทั่วโลก มักเกิดในหญิงเป็น 2 เท่าของชาย ปกติจะเกิดในช่วงปลายช่วงอายุ 30-40 ปี และต้นช่วงอายุ 40-50 ปี เหตุยังไม่ชัดเจน

  • ทฤษฎีหนึ่ง ระบุว่าเกิดจาก กรรมพันธุ์ เพราะโรคสามัญกว่าในบุคคลที่สมาชิกครอบครัวมีความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) เช่น โรคซึมเศร้าหรือโรคอารมณ์สองขั้ว 
  • อีกทฤษฎีหนึ่งระบุว่า เกิดจากทักษะการรับมือกับเหตุการ์ที่ไม่ดี (poor coping skill) คือ เกิดอาการโรคโดยเป็นยุทธการป้องกันหรือหนีจากเหตุการณ์ที่น่ากลัวหรือก่อความเครียด

 

ปัจจัยเหล่านี้ อาจทำให้อ่อนแอในการเกิดอาการโรคจิตอย่างสั้น ๆ ในกรณีโดยมาก โรคนี้จุดชนวนโดยเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดหรือทำให้บอบช้ำทางกายใจ

อาการโรคจิตระยะสั้นที่พบในผู้หญิง

หญิงในภาวะที่มีฮอร์โมนเพศ คือ Estrogen น้อยอาจเกิดอาการนี้ จะมีภาวะนี้ปกติในช่วงก่อนมีประจำเดือน หลังคลอด หรือในช่วงระยะ วัยทอง โดยอาการโรคจิตบ่อยครั้งสัมพันธ์กับ โรคอารมณ์สองขั้ว หรือโรคจิตเภทที่เป็นมูลฐาน

 

อาการโรคจิต เช่นนี้ บ่อยครั้งจัดเป็น premenstrual exacerbation (อาการก่อนประจำเดือนที่เกิดเพิ่ม), menstrual psychosis (อาการโรคจิตตามรอบประจำเดือน) หรือ postpartum psychosis (อาการโรคจิตหลังคลอด) การคลอดบุตรอาจก่อโรคนี้ในหญิงบางคน หญิงประมาณ 1 ใน 10,000 คนประสบกับอาการนี้หลังจากคลอดบุตรไม่นาน

 

พิจารณาร่วมกับโรคอื่นๆ 

มีโรคหรืออาการทางแพทยอื่น ๆ ที่เป็นเหตุของอาการซึ่งแพทย์ต้องพิจารณารวม ได้แก่

  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
  • เอชไอวีและเอดส์
  • มาลาเรีย
  • ซิฟิลิส
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคพาร์คินสัน
  • ภาวะเลือดมีกลูโคสน้อย (hypoglycaemia)
  • โรคลูปัส
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • เนื้องอกในสมอง 

 

อ้างอิง : กรมสุขภาพจิต วิกิพีเดีย