รู้ไว้ "ตับอักเสบเฉียบพลันในเด็ก"ติดต่อทางไหน กรมการแพทย์บอกมีกว่า 50 สาย

รู้ไว้ "ตับอักเสบเฉียบพลันในเด็ก"ติดต่อทางไหน กรมการแพทย์บอกมีกว่า 50 สาย

กรมการแพทย์  เฝ้าระวังโรคตับอักเสบระบาดรุนแรงในเด็ก โดยกลุ่มเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี เป็นโรคนี้มากที่สุด

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยว่า มีประกาศแจ้งเตือนจากองค์การอนามัยโลก พบว่ามีผู้ป่วยเด็กเป็นตับอักเสบเฉียบพลันเพิ่มสูงขึ้นโดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี มีอาการท้องเสีย อาเจียน มักไม่มีไข้ ต่อมาพบว่ามีตับอักเสบรุนแรงตามมา และพบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดภาวะตับวายตามมา โดยสาเหตุไม่ได้เกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิดเอ-อี โดยหนึ่งในสามของผู้ป่วยตรวจพบการติดเชื้อ Adenovirus และในผู้ป่วยบางรายมีการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ร่วมด้วย Adenovirus เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด ละอองฝอยของสิ่งคัดหลั่งทางระบบทางเดินหายใจ สัมผัสจากสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ
 

   โดยมีเกือบ 50 สายพันธ์ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยเด็กมักมาด้วยอาการทางระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก โดยทั่วไป Adenovirus ไม่ทำให้เกิดตับอักเสบในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันปกติ จึงมีข้อสันนิษฐานว่าในช่วงการระบาดของโรคโควิดที่ผ่านมา ทำให้ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ Adenovirus ในเด็กน้อยลง เนื่องจากการติดเชื้อลดลง หรืออาจมีการกลายพันธ์ของเชื้อ Adenovirus หรืออาจเกี่ยวข้องกับเชื้อโควิด ทำให้ผู้ป่วยเด็กที่มีภูมิคุ้มกันปกติเมื่อติดเชื้อ Adenovirus แล้วเกิดตับอักเสบรุนแรงตามมาได้
     รู้ไว้ \"ตับอักเสบเฉียบพลันในเด็ก\"ติดต่อทางไหน กรมการแพทย์บอกมีกว่า 50 สาย

      นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า ตับอักเสบเฉียบพลัน คือ ภาวะที่มีการอักเสบของตับอย่างเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยมักมีอาการไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด โดยสาเหตุของตับอักเสบเฉียบพลันในเด็ก อาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ - อี ไข้เลือดออก ยา/สารพิษ ภูมิคุ้มกันทำลายตับ หรือโรคพันธุกรรมทางตับ เป็นต้น
     สำหรับการรักษา ขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนตับอักเสบเฉียบพลันซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ Adenovirus นั้น การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ไม่มียารักษาเฉพาะ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนเกิดภาวะตับวาย ผู้ป่วยมักมีการเปลี่ยนแปลงของระดับการรับรู้ ซึมลง เลือดออกผิดปกติ และอาจเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจากการติดเชื้อ adenovirus ในประเทศไทย