ศบค. ยืนยัน ยังไม่ยกเลิก "Thailand pass" ลด 2 ขั้นตอนเพื่อความรวดเร็ว

ศบค. ยืนยัน ยังไม่ยกเลิก "Thailand pass" ลด 2 ขั้นตอนเพื่อความรวดเร็ว

ศบค. ยืนยันยังไม่ยกเลิก "Thailand pass" แต่ยกเลิก 2 ขั้นตอน คือ การจองโรงแรม และ การจองตรวจ RT-PCR ทำให้ระบบการดำเนินงานเร็วขึ้น เริ่ม 1 พ.ค. พร้อมติดตามสถานการณ์เป็นระยะ เพื่อประเมินการผ่อนคลายต่อไป

วันนี้ (28 เม.ย. 65) ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กล่าวถึงกระแสข่าวจะยกเลิกThailand pass โดยระบุว่า Thailand pass เป็นระบบที่เมื่อนักเดินทางและนักท่องเที่ยวเข้ามาจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบนี้ ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ ตรวจใบรับรองการได้วัคซีน การจองโรงแรม หลักฐานการทำประกันภัย และหลักฐานการจองการตรวจ PCT ในวันที่ 0

 

แต่จากการมาตรการที่เราผ่อนคลาย มีการยกเลิก Test & Go ทำให้ไม่มี 2 ขั้นตอน คือ การจองโรงแรม และ ยกเลิกการจองตรวจ RT-PCR ทำให้ระบบดำเนินการ Thailand pass ได้เร็วขึ้น เนื่องจากการตรวจใบรับรองวัคซีนใช้เวลาสั้นกว่าการตรวจเรื่องการจองโรงแรม เพราะการจองโรงแรม หรือ ทำ RT-PCR ต้องเช็กให้ดีว่าเป็นสถานที่ที่ได้รับการรับรองหรือไม่

 

หลังจากยกเลิก Test & Go และใช้ระบบ Thailand pass ในการติดตามคนที่ได้วัคซีนครบ ยิ่งทำให้ระบบดำเนินการได้เร็วขึ้น และทำให้สามารถอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาได้มากขึ้น ช่วยให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ไวขึ้น

 

"เพราะฉะนั้น การลงทะเบียนผ่าน Thailand pass ยังคงมีอยู่ ตอนนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาหรือติดขัดอะไร หลังจากวันที่ 1 พ.ค. อย่างไรก็ตาม ทางศบค. ต้องมีการติดตามสถานการณ์หน้างานเป็นระยะ หากสถานการณ์ดีขึ้น สามารถดำเนินไปตามแผนการผ่อนคลายได้มากขึ้นอีก" 

 

ศบค. ยืนยัน ยังไม่ยกเลิก \"Thailand pass\" ลด 2 ขั้นตอนเพื่อความรวดเร็ว

ไทยติดเชื้อรายใหม่ 14,437 ราย

 

สำหรับ “สถานการณ์โควิด-19” ในประเทศ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 14,437 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 14,336 ราย ติดเชื้อในเรือนจำ 24 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 77 ราย เป็นผู้มีผลบวกจากการตรวจหาเชื้อแบบ ATK 11,396 ราย รวมแล้วติดเชื้อรายใหม่วันนี้รวม 25,833 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 18,509 ราย อยู่ระหว่างรักษา 158,768 ราย อาการหนัก 1,827 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 850 ราย อัตราครองเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 24.1% เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 127 ราย เสียชีวิตสะสม 28,271 ราย

 

“หากดูแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อ อาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ พบว่า ทิศทางลดลงเรื่อยๆ โดยภาพรวมแนวโน้มยังทรงลดลงช้า ต้องขอบคุณพี่น้องประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ที่ร่วมกันปฏิบัติตามาตรการต่างๆ ทั้งป้องกันตนเอง มาตรการองค์กร จัดสถานที่ให้ปลอดภัย ให้บริการจุดใช้แอลกอฮอล์เจล ทำให้ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ที่มีการคาดการณ์ว่าผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น แต่ตอนนี้จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยอาการหนักน้อยลงเรื่อยๆ ทั้งนี้ หากสถานการณ์ค่อยๆ ดีขึ้นเราจะมีทิศทางแนวโน้มผ่อนคลายกิจการกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้เพื่อให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น"

 

ศบค. ยืนยัน ยังไม่ยกเลิก \"Thailand pass\" ลด 2 ขั้นตอนเพื่อความรวดเร็ว

 

เสียชีวิตจากโควิด ยังทรงๆ

 

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่า สำหรับสถานการณ์การเสียชีวิตในวันที่ 127 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตของการติดเชื้อระลอก ม.ค. 65 อยู่ที่ 0.33% แนวโน้มยังทรงๆ จำนวน 100 กว่าราย กว่า 19 วันแล้ว ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข หรือ EOC ได้มีการพูดคุยรายละเอียดผู้เสียชีวิตจากผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน รวมทั้งการรายงานจากประเทศต่างๆ ที่อาจจะต้องมีการวิเคราะห์ว่าผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่มเสียชีวิตจากการติดโควิด หรือ เสียชีวิตจากโรคหลักและตรวจพบโควิดร่วมด้วย

 

ศบค. ยืนยัน ยังไม่ยกเลิก \"Thailand pass\" ลด 2 ขั้นตอนเพื่อความรวดเร็ว

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่า ส่วนใหญ่ ผู้เสียชีวิตที่รายงานทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่สูงอายุ มีโรคประจำตัว ด้วยวัยและตัวโรค มีความเสี่ยงเสียชีวิต ดังนั้น ควรแยกกันให้ชัดเจนว่าเสียชีวิตจากโควิดจริงหรือไม่ กรมควบคุมโรค ได้แยกข้อมูลเป็น 2 กลุ่ม จากการเสียชีวิตวันนี้ 127 คน พบว่า

  • กลุ่มที่ 1 เสียชีวิตจากโควิด 66 ราย (52%)
  • กลุ่มที่ 2 คือ 61 ราย (48%) เสียชีวิตจากโรคประจำตัวและตรวจพบโควิด

 

"เป็นที่มาว่าการวิเคราะห์สถานการณ์ผู้เสียชีวิตต้องแยกว่า เสียชีวิตจากโควิดมากน้อยแค่ไหน หากดูข้อมูลพื้นฐานทั้งเพศ อายุ ค่ากลางอายุทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกันมาก และเป็นกลุ่มสูงวัยและมีโรคประจำตัว" พญ.สุมนี กล่าว 

 

ศบค. ยืนยัน ยังไม่ยกเลิก \"Thailand pass\" ลด 2 ขั้นตอนเพื่อความรวดเร็ว

 

10 จังหวัดป่วยปอดอักเสบสูงสุด

 

สำหรับ 10 จังหวัดที่มีผู้ป่วยปอดอักเสบสูงสุด ได้แก่ กทม. 160 ราย, นครราชสีมา 87 ราย, ขอนแก่น 77 ราย, กาญจนบุรี 71 ราย, สมุทรปราการ 59 ราย, สุพรรณบุรี 58 ราย, อุบลราชธานี 56 ราย, นนทบุรี 49 ราย, อุดรธานี 48 ราย และพิษณุโลก 46 ราย

 

โดยแนวโน้มภาพรวมอัตราครองเตียงระดับ 2-3 อยู่ที่ 24.1% จากสัปดาห์ก่อนอยู่ที่กว่า 30% เมื่อดูแต่ละจังหวัดที่มีผู้ป่วยปอดอักเสบส่วนใหญ่เป็นจังหวัดใหญ่ อัตราครองเตียงส่วนใหญ่อยู่ที่ 30% อยู่ที่ศักยภาพและการรองรับแต่ละจังหวัด แต่ภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ระบบสาธารณสุขรับได้

 

ศบค. ยืนยัน ยังไม่ยกเลิก \"Thailand pass\" ลด 2 ขั้นตอนเพื่อความรวดเร็ว

 

ไทยฉีดวัคซีน 132 ล้านโดส

 

จำนวนการได้รับ "วัคซีนโควิด-19" สะสม (28 ก.พ. 2564 - 27 เม.ย. 2565) รวม 132,976,433 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น 

  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,207,917 ราย
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 51,124,100 ราย
  • จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 25,644,416 ราย

 

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 27 เมษายน 2565

 

ยอดฉีดทั่วประเทศ 150,767 โดส

  • เข็มที่ 1 : 23,594 ราย
  • เข็มที่ 2 : 49,580 ราย
  • เข็มที่ 3 : 77,593 ราย

 

ศบค. ยืนยัน ยังไม่ยกเลิก \"Thailand pass\" ลด 2 ขั้นตอนเพื่อความรวดเร็ว

 

นอกจากนี้ สำหรับตัวเลขการฉีดวัคซีนในปัจจุบัน มีผู้ฉีดเข็มสามไปแล้วจำนวน 36.9% ทั้งนี้ การจะเข้าสู่การให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ต้องให้มีผู้ฉีดวัคซีนเพิ่ม ทำตามมาตรการป้องกันโรค

 

"การฉีดวัคซีนตามเป้าหมายสู่โรคประจำถิ่น ต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเกิน 60% จึงขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดการแพร่ระบาด ลดอัตราการป่วยตาย ให้ได้น้อยกว่า 0.1% ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ที่ 0.33% ดังนั้น ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนช่วยกันเพื่อให้เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นได้ไวขึ้น" พญ.สุมนี กล่าว