เปิดโอกาส VS ลดคุณภาพ มหาลัยปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำแอดมิชชั่นช่วยเด็กจริงหรือ?

เปิดโอกาส VS ลดคุณภาพ มหาลัยปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำแอดมิชชั่นช่วยเด็กจริงหรือ?

วิกฤตเด็กเกิดใหม่น้อยลง ไม่ได้สร้างปัญหาเฉพาะโครงสร้างประชากรเท่านั้น แต่การเปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เมื่อจำนวนมหาวิทยาลัย คณะ สาขาวิชามีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสวนทางกับเด็กที่จะเข้าเรียน 

โดยในปี 2565 นี้ คาดว่าจะมีผู้สมัครเข้าระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา หรือ TCAS 2565 อาจน้อยกว่า 1 แสนคน หรือมากกว่า 1 แสนคนเพียงเล็กน้อย และอาจจะต่ำกว่าทีแคสในปี 2564 ที่มีเด็กสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพียง 1 แสนกว่าคน ลดลงจากปี 2563 ที่มีเด็กจำนวน 2 แสนกว่าคน และปี 2562 ที่มีเด็กสมัคร 3 แสนกว่าคน

ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้หลายมหาวิทยาลัยต้องมีการปรับตัว ปรับหลักสูตร และในระบบการสมัคร TCAS ได้มีการปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำในบางสาขาวิชา บางคณะ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กๆได้เข้าเรียนมากขึ้น  ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็จะได้มีเด็กมากขึ้น เพราะความอยู่รอดของมหาวิทยาลัยส่วนสำคัญ คือ จำนวนเด็กเข้าเรียน

การปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำ หมายความว่า มหาวิทยาลัยทุกแห่ง สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ คะแนนในการเปิดรับสมัครผู้เรียนในแต่ละสาขา แต่ละคณะได้ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่แตกต่าง หรือเหมือนกันก็ได้

โดยผู้เรียนสามารถตรวจสอบได้จากการประกาศของแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น คณะพยาบาลศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้มีการปรับลดคะแนนGAT จากเดิมขั้นต่ำ  600 คะแนน เป็น ขั้นต่ำ 400 คะแนนเป็นต้น

 

  • เช็กคณะ-สาขา มหาวิทยาลัยที่ปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำ

โดยขณะนี้ มีมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง ได้ปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำ "กรุงเทพธุรกิจ" ได้รวบรวมมาให้น้องๆ ได้เช็กคะแนนก่อนยื่นในรอบแอดมิชชั่น ที่จะประกาศรับสมัครในวันที่ 2-10 พ.ค.2565 นี้ ทางเว็บไซต์ https://www.mytcas.com/

เริ่มด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ได้มีการปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำ ดังนี้

1.สาขาวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) คณะมนุษยศาสตร์

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ 180 คะแนน  
  • เกณฑ์ใหม่ GAT ขั้นต่ำ 120 คะแนน  
  • เกณฑ์เดิม วิชาภาษาอังกฤษ ขั้นต่ำ 60 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ วิชาภาษาอังกฤษ ขั้นต่ำ 40 คะแนน

2.สาขาวิชาภาษาไทย (ศศ.บ.) คณะมนุษยศาสตร์

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ 180 คะแนน  
  • เกณฑ์ใหม่ GAT ขั้นต่ำ 120  คะแนน
  • เกณฑ์เดิม วิชาภาษาไทย ขั้นต่ำ 60 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ วิชาภาษาไทย ขั้นต่ำ 40 คะแนน

3.สาขาคณิตศาสตร์ (กศ.บ.) คณะวิทยาศาสตร์

  • เกณฑ์เดิม PAT 1 ขั้นต่ำ 75 คะแนน  
  • เกณฑ์ใหม่ PAT 1 ขั้นต่ำ 45  คะแนน

4.สาขาวิชาชีววิทยา (กศ.บ.) คณะวิทยาศาสตร์

  • เกณฑ์เดิม วิชาชีววิทยา ขั้นต่ำ 40  คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ วิชาชีววิทยา ไม่มีขั้นต่ำ

5.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (กศ.บ.) คณะวิทยาศาสตร์

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ 120 คะแนน  
  • เกณฑ์ใหม่ GAT ขั้นต่ำ 60  คะแนน
  • เกณฑ์เดิม PAT5 ขั้นต่ำ 120 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ PAT5 ขั้นต่ำ 90 คะแนน
  • เกณฑ์เดิม วิชาภาษาอังกฤษ  ขั้นต่ำ 30  คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ วิชาภาษาอังกฤษ ขั้นต่ำ 20 คะแนน

6.สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์  

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ 90 คะแนน  
  • เกณฑ์ใหม่ GAT ขั้นต่ำ 60  คะแนน

 

  •  ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำ เปิดโอกาสเด็กเข้าเรียนจริงหรือ

7.สาขาวิชาประวัติศาสตร์(โครงการพิเศษ)

  • เกณฑ์เดิม วิชาภาษาไทย ขั้นต่ำ 5  คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ วิชาภาษาไทย ไม่มีขั้นต่ำ
  • เกณฑ์เดิม วิชาสังคมศึกษา  ขั้นต่ำ 10  คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ วิชาสังคมศึกษา ไม่มีขั้นต่ำ
  • เกณฑ์เดิม วิชาภาษาอังกฤษ ขั้นต่ำ 5  คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ วิชาภาษาอังกฤษ  ไม่มีขั้นต่ำ
  • เกณฑ์เดิม ผลรวมของคะแนนรวมทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่า 18,00 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ ผลรวมของคะแนนรวมทั้งหมด ต้องไม่น้อยกว่า 15,000 คะแนน

8.สาขาวิชาการจัดการภาคบริการและท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน

  • เกณฑ์เดิม วิชาภาษาอังกฤษ ขั้นต่ำ 50 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ วิชาภาษาอังกฤษ  ไม่มีขั้นต่ำ

9.สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน

  • เกณฑ์เดิม วิชาภาษาอังกฤษ ขั้นต่ำ 50  คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ วิชาภาษาอังกฤษ ไม่มีขั้นต่ำ

ขณะที่ ม.บูรพา ได้มีการปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำ ในสาขาวิชาโควตา 12 จังหวัด ดังนี้

1. หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ 180 คะแนน  PAT2 ขั้นต่ำ 90 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ GAT ขั้นต่ำ 140 คะแนน  PAT2 ขั้นต่ำ 80 คะแนน 

2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครื่องสำอาง คณะเภสัชศาสตร์

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ 180 คะแนน PAT2 ขั้นต่ำ 80 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ GAT ขั้นต่ำ 140 คะแนน PAT2 ขั้นต่ำ 70 คะแนน

3. สาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • เกณฑ์เดิม PAT ภาษาเกาหลี ขั้นต่ำ 150 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ PAT ภาษาเกาหลี ขั้นต่ำ 120 คะแนน

4. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

  • เกณฑ์เดิม PAT ภาษาญี่ปุ่น ขั้นต่ำ 130 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ PAT ภาษาญี่ปุ่น ขั้นต่ำ 120 คะแนน

เช่นเดียวกับ ม.เกษตรศาสตร์ มีหลายคณะ-สาขาวิชาที่ปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำลง และบางคณะ-สาขาวิชาปรับเพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำ อาทิ

1.คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ  140 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ GAT  ขั้นต่ำ 130 คะแนน
  • เกณฑ์เดิม PAT 1 ขั้นต่ำ 50  คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ PAT 1 ขั้นต่ำ  40 คะแนน
  • เกณฑ์เดิม PAT 3  ขั้นต่ำ 90 คะแนน
  •  เกณฑ์ใหม่ PAT3 ขั้นต่ำ   70 คะแนน

2.คณะศึกษาศาสตร์ เอกคหกรรมศาสตรศึกษา

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ 50  คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ GAT ขั้นต่ำ 120 คะแนน

3.คณะเศรษฐศาสตร์

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ 120 คะแนน
  •  เกณฑ์ใหม่ GAT ขั้นต่ำ  140 คะแนน

4.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงบูรณาการ 

  • เกณฑ์เดิม  PAT 4 ขั้นต่ำ 100 คะแนน
  •  เกณฑ์ใหม่  PAT 4 ขั้นต่ำ  120 คะแนน

5.คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา

  • เกณฑ์เดิม GAT ขั้นต่ำ 90 คะแนน
  • เกณฑ์ใหม่ GAT ขั้นต่ำ  24  คะแนน
     

นอกจากนั้น ในส่วนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ได้ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ปรับเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่ใช้ในการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ TCAS รอบที่ 2 แบบที่ 2 โควตา Quota ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2565 ดังนี้ 

เปิดโอกาส VS ลดคุณภาพ มหาลัยปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำแอดมิชชั่นช่วยเด็กจริงหรือ?

 

อย่างไรก็ตาม ต่อให้การปรับคะแนน จะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์เพื่อดึงเด็กเข้าเรียนของมหาวิทยาลัย แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาอย่างชัดเจน ไม่ใช่เพียงการเปิดโอกาสให้น้องๆ ได้เลือกเรียน สอบติดมหาวิทยาลัยได้  แต่หมายถึงคุณภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ  

การที่หลายๆ หลักสูตรปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำลง หรือไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำ เด็กๆ น้องๆ สามารถยื่นเลือกคณะเหล่านั้น สอบติดได้ แต่เมื่อไปเรียนจริงๆ พวกเขาอาจจะไม่สามารถเรียนได้ ฉะนั้น การเลือกเข้าเรียนคณะ มหาวิทยาลัยที่ตนเองต้องการ ขอให้น้องๆ พิจารณาให้ดีถึงความต้องการ ความถนัด ความชอบของตนเอง ความฝันของตนเองร่วมด้วย