‘ห้องเรียนสู้ฝุ่น’ โมเดลตั้งต้น พลเมืองตื่นรู้เรื่องฝุ่น

‘ห้องเรียนสู้ฝุ่น’ โมเดลตั้งต้น พลเมืองตื่นรู้เรื่องฝุ่น

เชียงราย เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นควันจากการเผาจากประเทศเพื่อนบ้าน ฉะนั้นการเตรียมรับมือกับสถานการณ์วิกฤตจึงสำคัญมาก “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” จึงถูกก่อตั้งขึ้นในชุมชนเพื่อให้ทุกคนในพื้นที่ได้รู้วิธีป้องกันและรับมือกับภัยฝุ่น

ช่วงเดือนมกราคม-เดือนเมษายนของทุกปี เป็นช่วงที่วิกฤตที่สุดของคนเชียงราย เพราะแทบทุกพื้นที่ต้องเผชิญกับค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานมายาวนานร่วมสิบปี การรับมือจึงสำคัญต่อคนในชุมชน "ห้องเรียนสู้ฝุ่น" จึงเกิดขึ้น

จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่พบจุดความร้อนและพื้นที่เผาไหม้น้อยที่สุดใน 9 จังหวัดภาคเหนือ จึงไม่ใช่สาเหตุหลักของค่าฝุ่นในพื้นที่ แต่ด้วยทิศทางลมที่พัดฝุ่นควันจากการเผาในพื้นที่โล่งของประเทศข้างเคียงอย่างเมียนมาร์และลาวเข้ามา พร้อมกับสภาพอากาศที่นิ่งร่วมกับความกดอากาศสูงทำให้เกิดการขังตัวของฝุ่น PM2.5 โดยเฉพาะช่วงเดือนมกราคม-เดือนเมษายนของทุกปี

ประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวยอมรับต่อปัญหานี้ โดยเอ่ยให้ข้อมูลว่า ปี 2562 ที่ผ่านมาเป็นอีกปีที่จังหวัดเชียงรายมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และอาการระคายเคืองตาด้วยสาเหตุจากฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เฉลี่ยถึง 2,200 คนต่อวัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชนในพื้นที่

เมื่อฝุ่นเล็ก คือปัญหาใหญ่ระดับชาติที่ยังไม่อาจแก้ปัญหาฝุ่นได้ในวันนี้ ขณะเดียวกันจำนวนผู้ป่วยจากสาเหตุเรื่องฝุ่นในพื้นที่เพิ่มขึ้นทุกปี พื้นฐานแรกที่จำเป็นในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นนี้คือ การสร้างองค์ความรู้และสื่อสารเพื่อให้ทุกคนในพื้นที่รู้วิธีป้องกันและรับมือกับภัยฝุ่น

ห้องเรียนสู้ฝุ่นจึงเป็นอีกทางเลือกของการสร้างพลเมืองใหม่ที่สามารถสื่อสารสร้างความตระหนักรู้แก่คนในชุมชน ถึงผลกระทบต่อสุขภาวะจากฝุ่น PM2.5 จนอาจเกิดเป็นการเปลี่ยนค่านิยมลดการเผานา-ไร่ในพื้นที่ได้ในระยะยาว ซึ่งเกิดขึ้นโดยความร่วมมือของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เติมเต็มวิสาหกิจเพื่อสังคม สภาลมหายใจจังหวัดเชียงราย สมาคมยักษ์ขาวและสมาคมสมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นรูปธรรม

161820059757

โรงเรียนสู้ฝุ่น

ไอเดียเริ่มจากเรามองว่าจะทำอย่างไรให้เด็กรู้เรื่องฝุ่น สนใจค่าฝุ่น แต่สถานีวัดฝุ่นในพื้นที่มีน้อย เพราะถ้าเด็กรู้ค่าฝุ่นเขาจะเริ่มสนใจผศ.ดร.นิอร สิริมงคลเลิศสกุล ผู้จัดการโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่นเล่าที่มาของโครงการ

นอกจากจัดระดมทุนผลิตเครื่องวัดฝุ่นยักษ์ขาวและแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นการรวมตัวของภาคีที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปติดตั้งอยู่ทุกโรงเรียนในชุมชน เพื่อให้สามารถทราบค่าฝุ่นได้ตลอดเวลา

แต่เพราะงานนี้เทคโนโลยีอย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องสร้างพลเมืองรุ่นใหม่ ที่มีความตื่นรู้ เข้าใจปัญหาฝุ่นและสร้างพลังขับเคลื่อนลุกขึ้นมาแก้ปัญหาอีกด้วย ผศ.ดร.นิอร จึงเริ่มไอเดียที่จะเชิญครูและผู้อำนวยการจากหลายโรงเรียนมาอบรม ในเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อให้ความรู้เรื่องปัญหาฝุ่นด้านต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ

เราติดอาวุธให้กับคุณครู ให้เขามาเรียนกับเรา 2 วัน เรามาเปิดใจเขาใหม่ เราได้บุคลากรทางการแพทย์มาช่วยเล่าถึงเรื่องฝุ่น ผลกระทบและอันตรายด้านสุขภาพ และเครือข่ายหลายภาคส่วนที่มาช่วยเสริมองค์ความรู้ ตลอดสองวันมันเปลี่ยนเขาได้ บรรยากาศในห้องอบรมเห็นชัดมาก ครูบางคนบอกหลานเข้าโรงพยาบาลป่วยบ่อยมาก แต่ไม่เคยรู้สาเหตุ พอได้ทราบข้อเท็จจริง มันกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนตื่นตัวและให้ความร่วมมือ ตอนนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับทุกโรงเรียนในพื้นที่ บางท่านตอนแรกบ่นเหมือนไม่อยากทำ แต่พออบรมจบ สิ่งที่เราเห็นคือการตื่นตัว เขากลับไปแล้วเขาตั้งใจทำจริง ในช่วงแรกเราไม่เคยบอกเลยมีการประกวดรางวัล แต่ทุกคนก็ทำกันเอง บางแห่งประกาศให้เรียนตั้งแต่อนุบาลเลย ทั้งที่จริง เราออกแบบสำหรับเด็กชั้น .4 ถึง .6 เท่านั้น

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่คลุกคลีเรื่องฝุ่นมาหลายปี ทำให้เธอเข้าใจปัญหาและกลไกต่าง ตลอดจนรู้ว่าไม่ง่ายในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ และไม่น่าจะแก้ปัญหาฝุ่นได้สำเร็จในเร็ววัน

จริง เมื่อก่อนเราเคยทำแบบกระจายไปทั่ว ไม่ได้โฟกัสเด็กเลย มุ่งไปที่เทคโนโลยีอย่างเดียว ทำแอพลิเคชัน ทำแนวกันไฟ ทำไปเรื่อยทั้งเหนื่อย และทั้งยากลำบาก แต่รู้สึกว่าสุดท้ายไม่ใช่ทางแก้ปัญหา เพราะกำลังเราน้อย ปัญหาฝุ่นเป็นเรื่องซับซ้อน ทำอย่างไรก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงมาตลอดสิบปี ก็ยังมีควันหนักทุกปี เคยเกือบถอดใจแล้ว คิดว่าจะพัก หันมาทำแค่ในบ้านเราให้ปลอดภัยพอแค่ดูแลลูกเรา แต่พอดีวันหนึ่งความคิดเราเปลี่ยนหลังมีโอกาสได้ขึ้นไปดอยผศ.ดร.นิอร บอกเล่าต่อว่าภาพที่ได้เห็นทำให้ไม่อาจทนดูดายได้ต่อไป

เราเห็นเด็กบนนั้นเขาแพ้เขม่าควันหนักมาก แพ้ฝุ่นจนแสบตา น้ำตาไหลตลอดเวลา วิชาพละก็ไม่ได้เรียนครูก็ไม่ทราบสาเหตุหรืออันตราย คิดว่าเดี๋ยวก็หาย แต่เรามองแล้ว คิดว่าไม่ใช่ละ เพราะเขาแพ้ตลอดเวลาและทำไมเป็นทีเดียวตั้งหลายสิบกว่าคน เราเลยเริ่มค้นข้อมูล พบว่าอาการมันคือผลกระทบจากฝุ่นควัน ซึ่งเคยมีวิจัยชี้ว่าเด็กบนดอยเขาได้รับผลกระทบ เป็นหนักกว่าเด็กในเมืองถึง 7 เท่า เราก็เลยพาเขาไปตรวจปัสสาวะ ปรากฎใช่จริง และพบว่าเขามีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งได้ ก็เลยคุยกับทาง สสส. ว่าเราไม่อยากทำเทคโนโลยีแล้ว แต่อยากทำเรื่องนี้ คือการสร้างพลเมืองใหม่ อย่างน้อยขอหวังกับคนรุ่นใหม่ลูกหลานเราต้องรู้ ปลอดภัย

161820083737

เผาลมหายใจ

เราทำงานเรื่องนี้มาหลายปี คือเราเข้าใจความจำเป็นของเขานะ ว่าทำไมถึงเผา เข้าใจว่าเป็นปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินต่าง ความซับซ้อนอุปสงค์อุปทาน แต่ปัญหาคือ สิ่งที่คุณทำอยู่เป็นการเผาลมหายใจตัวเอง ลูกหลานคุณอยู่นะผศ.ดร.นิอร เอ่ย

สำหรับแนวคิดการออกแบบพัฒนาหลักสูตร ผศ.ดร.นิอรเผยว่าเริ่มจากการคิดแบบคนเป็นพ่อแม่ ว่าอยากให้เรียนรู้อะไรบ้าง ควรรู้เรื่องไหนก่อน และหลังออกแบบแล้ว ยังส่งให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยประเมินหลักสูตรอีกทีเพื่อให้ครอบคลุมสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ซึ่งได้รูปแบบเนื้อหาทั้งวิชาการและอีก 10 กิจกรรมเรียนรู้

ดิฉันว่าวันนี้ อาจไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามแล้วว่า มีไฟป่ากี่จุด ไม่ต้องหาว่าใครเป็นคนเผา แต่หันมาแก้ปัญหาดีกว่า เรามองไปข้างหน้า สร้างพลเมืองรุ่นใหม่ เหมือนอย่างที่พ่อหลวงพูดว่า เราอาจจะเจอเด็กสักคนที่คิดนวัตกรรมอะไรขึ้นมาก็ได้ หรืออย่างน้อยเขาโตกันไปก็จะเป็นเกษตรกรที่เลือกทางเลือกใหม่ เขาจะเป็นคนที่ไม่เผาในอนาคต ซึ่งหลายกรณีพอเด็กไปพูดพ่อแม่เริ่มเชื่อ ทั้งที่เมื่อก่อนเขาไม่สนใจ

สามนาทีสู้ฝุ่น

เช่นเดียวกับโรงเรียนอื่น ในเครือข่าย ห้องเรียนสู้ฝุ่น ทุกวันตอนเช้าเหมือนจะเป็นภารกิจสำคัญไปแล้วสำหรับเยาวชนที่โรงเรียน บ้านเลาลี .แม่สรวย .เชียงราย ที่จะวิ่งไปดูค่าฝุ่นที่เครื่องยักษ์ขาวทุกเช้าแล้วจดค่าที่ได้มารายงานช่วงเข้าแถวหน้าเสาธงให้ครูและนักเรียนได้รับทราบ นับเป็นการใช้เวลาสามนาทีที่คุ้มค่า เพราะได้สร้างความตื่นรู้เรื่องฝุ่นอย่างดีให้กับเยาวชนเหล่านี้

ชยากร ประมูลเชื้อ ครูผู้สอนหลักสูตรห้องเรียนสู้ฝุ่นที่โรงเรียนบ้านเลาลี เล่าว่าหลังมีโอกาสอบรม ทางโรงเรียนก็มีนโยบายจัดการเรียนการสอนเรื่องฝุ่นในระดับชั้นประถม 4-6 พอเด็กเล็กน้องเขาเห็นพี่ๆ รายงานค่าฝุ่น เขาก็สนใจ อยากนำเสนอสนใจว่าพี่ๆ ทำอะไร อยากทำบ้างอยากรู้บ้าง ทางโรงเรียนจึงปรับหลักสูตรใหม่ โดยมีนโยบายจัดสอนหลักสูตรในทุกระดับชั้นตั้งแต่ระดับอนุบาล โดยได้นำคู่มือมาปรับบางกิจกรรมให้เหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัย

เรามีกิจกรรมสองรูปแบบ ภายในห้องเรียน นอกห้องเรียน เป็นใบงานให้เขาไปศึกษา สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ เด็กเขาเริ่มสนใจปัญหา เมื่อก่อนเด็กไม่สนใจฝุ่น ไม่มองว่ามีปัญหาเกี่ยวข้องกับเขา พอมีเครื่องวัดฝุ่นยักษ์ขาวเดี๋ยวนี้ตอนเที่ยงก็จะมาดูกล่องยักษ์ขาวแล้วว่าค่าฝุ่นสีไหน ก็จะเริ่มใส่หน้ากาก และไม่ออกไปเล่นข้างนอก บางคนสนใจถามข้อมูลเราต่อ โดยเฉพาะเด็กโตจะเริ่มคิดว่าเขาทำอย่างไรให้ฝุ่นลดลง ก็จะนำข้อมูลไปบอกกับที่บ้าน และเนื่องจากโรงเรียนเราส่วนใหญ่เป็นเด็กชาติพันธุ์ พ่อแม่หลายคนพูดไทยไม่ได้ เด็กเหล่านี้ก็จะเป็นล่ามตัวแทนเราที่ไปบอกพ่อแม่ให้ฟังถึงอันตราย บางคนบอกพ่อแม่ห้ามเผา ทำให้เขาก็เริ่มคิดแล้วว่า ถ้าไม่เผาควรจะทำอย่างไร

  161820119511

วัคซีนการเรียนรู้

เช่นเดียวกับที่ โรงเรียนบ้านป่าแฝ-หนองอ้อ-สันทรายมูล เคยประสบกับปัญหาฝุ่นควันจนต้องหยุดทำการเรียนการสอน แต่เมื่อได้เข้าร่วมโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่นในเดือนตุลาคม 2563 ทางโรงเรียนได้เพิ่มกิจกรรมห้องเรียนสู้ฝุ่นเสริมหลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา

ผลคือ เด็ก มีความรู้สามารถอ่านค่าจากเครื่องวัดค่าฝุ่น และติดธงสีต่าง เพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์ 2 ครั้งต่อวัน คือ ในช่วงเช้าและเที่ยง หากแกนนำนักเรียนปักธงสีแดง หมายถึง มีค่าฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่ 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรขึ้นไป เด็กนักเรียนจะงดกิจกรรมกลางแจ้ง พร้อมกันนี้ยังได้นำความรู้เรื่องการไม่เผานา-ไร่ ส่งต่อยังผู้ปกครอง แนะนำการกำจัดฟางข้าวด้วยการหมักทำปุ๋ยทดแทนการเผา เพื่อป้องกันการเกิดฝุ่นควันในพื้นที่

ดร.พัชรินทร์ จันทาพูน ผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวว่า  ห้องเรียนสู้ฝุ่น เป็นเสมือนการฉีดวัคซีนการเรียนรู้ให้กับเยาวชน ซึ่งสิ่งที่เห็นประโยชน์ได้ชัดคือ เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งในโรงเรียน อีกทั้งโครงการยังขยายผลสู่ชุมชนด้วย

พื้นที่โรงเรียนบ้านป่าแฝฯ เจอภัยฝุ่นหนัก เป็นอันดับหนึ่งของประเทศหลายปีติดต่อกัน ทั้งที่ฮ็อตสปอตเราน้อย โรงเรียนมองว่าการจัดการเรียนรู้แบบนี้เป็นการให้ภูมิคุ้มกันด้านการเรียนรู้กับเขา เมื่อเด็กได้ความรู้จากกิจกรรม เขาได้รู้ที่มาปัญหา อันตรายจากฝุ่นควัน และรู้วิธีการป้องกันตัวเอง ที่สำคัญเราได้รับความร่วมมือจากหลายส่วน เช่น ชุมชนก็ลดการเผาในพื้นที่เกษตร ประกอบกับองค์การบริหารส่วนตำบลก็เข้ามาช่วยจัดการขยะโดยไม่ต้องเผา ทางโรงพยาบาลเสริมสุขภาพตำบลก็ให้ความรู้ เพราะเด็กเขาส่งต่อความรู้ถึงผู้ปกครอง โรงเรียนก็ทำสาส์นถึงผู้ใหญ่บ้านอ่านเสียงตามสายในชุมชน

พลเมืองตื่นรู้

โดยล่าสุดเพิ่งมีการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาต่อยอดและขยายผล ห้องเรียนสู้ฝุ่นในบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาสังคม จังหวัดเชียงรายไปเมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมานี้ อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้งนี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดและขยายผลห้องเรียนสู้ฝุ่นในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในสังกัด อบจ.เชียงราย ทั้งหมด 41 โรง รวม .เชียงราย มี 51 โรง โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมกันสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ ฝุ่นควัน และมลพิษข้ามแดนด้วยการเสริมสร้างทรัพยากรด้านความรู้ พัฒนากลไกการมีส่วนร่วม พร้อมยังมอบรางวัลและเกียรติบัตรแก่โรงเรียนในโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่น 10 โรงใน .เชียงราย ต้นแบบการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่น PM2.5 อย่างเป็นรูปธรรม

ชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. เอ่ยหน้าที่ของสสส.คือ การจุดประกายและกระตุ้นให้ชุมชนรู้จักป้องกันตนเองห้องเรียนสู้ฝุ่นถือเป็นการขับเคลื่อนอย่างมีพลัง และจะเป็นโมเดลตั้งต้นที่จะขยายผลต่อไปในพื้นที่อื่นทั่วประเทศ

เราได้ต้นแบบ เราได้โรงเรียนและชุมชนที่เป็นตัวอย่างที่ดี และได้รับการยืนยันว่าชุมชนต้องการการผลักดัน ซึ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่ดีในการขยับเขยื้อนงานไปสู่ภาคนโยบาย และขยายผลไปยังพื้นที่อื่น แต่สิ่งสำคัญที่สุดของเป้าหมายโครงการนี้คือ ทำให้ชุมชนรู้จักป้องกันตนเองได้ เข้าใจสถานการณ์ เห็นความสำคัญคุณภาพชีวิตของเด็กเยาวชน ชุมชนเหล่านี้ถือเป็นพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ที่สามารถจัดการปัญหาของตัวเองได้ เราคาดหวังว่าจะได้ขยายห้องเรียนสู้ฝุ่นไปไกลกว่า 3 จังหวัด เด็ก สามารถจัดการสุขภาวะตัวเองได้ เพราะพวกเขาเป็นพลเมืองตื่นรู้

เชื่อว่าอีกไม่นานห้องเรียนสู้ฝุ่นอาจเป็นอีกทางออกในการสื่อสารส่งต่อองค์ความรู้สู้ภัยฝุ่น เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาวะเด็กและประชากรไทยที่กำลังขยายผลสู่ทั่วประเทศในอนาคตเร็วๆ นี้

161820145681

161820150730

161820154375

161820159575