เจ็บหน้าอก อย่าคิดว่าเดี๋ยวก็หาย เสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

เจ็บหน้าอก อย่าคิดว่าเดี๋ยวก็หาย เสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

 

ถ้าคุณมีอาการเจ็บจุกแน่นกลางหน้าอก เหงื่อออก ใจสั่นร้าวไปทางแขนฝั่งซ้าย วิงเวียนศรีษะ หมดแรง หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าคุณอาจเป็น โรคหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งสามารถทำให้เสียชีวิตได้ในเสี้ยววินาที ถือเป็นภัยเงียบที่ทุกคนควรรู้ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรและมีวิธีป้องกันอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

           

โรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลันเกิดจากอะไร?

สาเหตุเกิดจากลิ่มเลือดอุดตันภายในหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอย่างเฉียบพลัน เพราะบริเวณหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจมีการตีบแคบอยู่ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว บางกรณีหลอดเลือดหัวใจตันแล้วก็มี เมื่อเกิดอาการเช่นนี้ทำให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นตาย หัวใจบีบเลือดไม่ได้ ทำให้การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ เลือดไปเลี้ยงร่างกายน้อย ทำให้เสียชีวิตได้

 

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการปวดจุกเสียดแน่นหน้าอกอย่างรุนแรงใน 30 นาทีแรก อาการจะเกิดขึ้นขณะพักหรือออกกำลังอยู่ก็ได้ มักจะมีเหงื่อออกท่วมตัว หน้าซีด ตัวเย็น บางรายคลื่นไส้อาเจียน เป็นลม หมดสติ แต่ผู้ป่วยสูงอายุหรือคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะไม่มีอาการแน่นหน้าอก แต่จะมีอาการหอบเหนื่อย ซึม กินอาหารได้น้อย

โรคนี้มีความเสี่ยงสูงในชั่วโมงแรก ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดร้ายแรง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเฉียบพลัน ดังนั้นถ้ามีอาการตามข้างต้นให้รีบมาพบแพทย์ทันที

 

วิธีรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน

ควรส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลภายใน 60 นาที หลังจากนั้นต้องเปิดหลอดเลือดที่อุดตัน ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ โดยต้องทำให้เร็วที่สุดภายใน 4-6 ชั่วโมงหลังจากที่มีอาการ วิธีนี้จะช่วยป้องกันหรือลดอาการตายของกล้ามเนื้อหัวใจได้

 

วิธีการเปิดหลอดเลือดสามารถทำได้ 2 วิธี

  1. การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด
    วิธีนี้สามารถเปิดหลอดเลือดได้มากกว่า 95% และมีโอกาสเกิดการตีบตันน้อยกว่าการใช้ยาละลายลิ่มเลือด สามารถลดอัตราการเสียชีวิตและการเกิดโรคซ้ำได้ดีกว่าการใช้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

  2. การใช้ยาละลายลิ่มเลือด
    การใช้ยาสามารถกินได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ สามารถเปิดหลอดเลือดได้ประมาณ 40-50% แต่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากยา คือทำให้เกิดเลือดออกภายในสมองได้


การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารเค็มจัด และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
  3. ไม่สูบบุหรี่

หากมีอาการตามข้างต้น อย่านิ่งนอนใจ ละเลย หรือปล่อยทิ้งไว้เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็หาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงนำไปสู่การเสียชีวิต แนะนำให้รีบเข้ามาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วนที่ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลธนบุรี http://bit.ly/2Lh24kJ