"วราวุธ" ภูมิใจประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบรรพชีวิน ชี้เป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์สภาพแวดล้อมได้ในอนาคต

"วราวุธ" ภูมิใจประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบรรพชีวิน ชี้เป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์สภาพแวดล้อมได้ในอนาคต

"วราวุธ" ภูมิใจประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบรรพชีวิน ชี้เป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์สภาพแวดล้อมได้ในอนาคต

เมื่อเวลา 09.00น. วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ที่โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออร์คิด จังหวัดขอนแก่น นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมวิชาการด้านบรรพชีวิน ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 6 (The 6th International Palaeontological Congress, IPC6)หรือ IPC6 ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ระหว่างวันที่ 7-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 

นายวราวุธ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นประโยชน์กับนักบรรพชีวินจากทั่วทุกมุมโลกที่มาร่วมประชุมที่ได้มานำเสนอผลงานความก้าวหน้า และแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ทางวิชาการด้านบรรพชีวิน ซึ่งองค์ความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ในการคาดการณ์สภาพแวดล้อมที่จะมีผลกระทบกับมนุษย์ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมในครั้งนี้ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน และสิ่งที่สำคัญเราสามารถ ดูอดีต แล้วมองถึงอนาคตได้ โดยกระทรวงทรัพยากรฯ มีความพร้อมที่จะประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมมือกันรักษาซากดึกดำบรรพ์ ให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เพื่อสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อไป

 

\"วราวุธ\" ภูมิใจประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบรรพชีวิน ชี้เป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์สภาพแวดล้อมได้ในอนาคต

นายวราวุธ ยังกล่าวถึงความสำเร็จของประเทศไทยเรื่องซากดึกดำบรรพ์ไทรโลไบต์ บริเวณเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ ในพื้นที่ ที่ทำให้อุทยานธรณีโลกสตูลได้รับการประเมินให้เป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) และซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน จังหวัดตาก ที่พบว่ามีขนาดใหญ่และยาวมากถึง 69.7 เมตร จนได้รับการบันทึกสถิติโลก (Guinness World Record) ว่าเป็นไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งตรงพื้นที่นี้สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้ชุมชนในพื้นที่ได้อีกด้วย

 

\"วราวุธ\" ภูมิใจประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบรรพชีวิน ชี้เป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์สภาพแวดล้อมได้ในอนาคต

 

\"วราวุธ\" ภูมิใจประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบรรพชีวิน ชี้เป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์สภาพแวดล้อมได้ในอนาคต

สำหรับคำว่า "บรรพชีวินวิทยา" คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่าง ๆ ของสัตว์และพืชนั้น ๆ ที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน

นักบรรพชีวินวิทยาจะศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่าง ๆ ของสัตว์และพืชนั้น ๆ ที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ 

ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) จึงเหมือนสมุดบันทึกของโลกที่บอกให้เราทราบถึงสภาพแวดล้อม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตถึงปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยซากดึกดำบรรพ์ทุกประเภท มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทยมากกว่า 30,000 ชิ้น จาก 404 แหล่ง ในพื้นที่ 13 จังหวัด และในปัจจุบันแหล่งซากดึกดำบรรพ์ของประเทศไทยอยู่ภายใต้การคุ้มครองของ พรบ.คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551

 

\"วราวุธ\" ภูมิใจประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบรรพชีวิน ชี้เป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์สภาพแวดล้อมได้ในอนาคต

 

\"วราวุธ\" ภูมิใจประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบรรพชีวิน ชี้เป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์สภาพแวดล้อมได้ในอนาคต