หัวเว่ย มินิ โมบาย เวิลด์คองเกรสชี้โอกาสการเติบโตในประเทศไทย

หัวเว่ย มินิ โมบาย เวิลด์คองเกรสชี้โอกาสการเติบโตในประเทศไทย

“โลกที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารที่ดีกว่า”(Better-Connected World)ในยุคคลาวด์ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

 

หัวเว่ยจัดแสดงนวัตกรรมไอซีทีล่าสุดพร้อมแชร์โอกาสการเติบโตในงานมินิ โมบาย เวิลด์ คองเกรส 2017 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ ภายในงานยังได้กล่าวถึงเทรนด์และหัวข้อต่างๆ ที่จะช่วยกำหนดทิศทางเพื่อสร้าง “โลกที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารที่ดีกว่า”(Better-Connected World)ในยุคคลาวด์ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

 

หัวเว่ยเปิดประตูต้อนรับเหล่าโอเปอเรเตอร์ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่สนใจชมผลกระทบของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่มีต่อทุกภาคส่วน อาทิ คลาวด์เน็ตเวิร์ค, 5G, วิดีโอ 4K/8K, Internet of Things (IoT) นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้แชร์วิสัยทัศน์ของบริษัทเพื่อยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ ให้เป็นแบบReal-time, On demand, All- online, DIY และ Social หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ROADS ด้วย

 

ในฐานะที่เป็นพันธมิตรด้านกลยุทธ์กับหลายๆ ประเทศที่กำลังพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญก้าวหน้าหัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าให้กับชุมชนต่าง ๆ ด้วยการทำงานร่วมกับพันธมิตรในประเทศเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าของเน็ตเวิร์คให้มากที่สุด ติดตั้งโฮมบรอดแบนด์ และปรับพื้นที่ภายในอาคารให้รองรับระบบดิจิทัล รวมถึงขับเคลื่อนการเชื่อมโยงสื่อสารเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเน็ตเวิร์คให้ดีขึ้น ตลอดจนส่งเสริมสังคมและเศรษฐกิจให้เติบโตไปด้วยกันในงานยังมีไฮไลท์เทคโนโลยีไอซีที5 เทรนด์ที่กำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลกในขณะนี้

อันได้แก่ การนำทุกสิ่งเข้าสู่เครือข่ายคลาวด์(Build All Cloud Networks), การสร้างวิดีโอให้เป็นบริการพื้นฐาน (Make Video a Basic Service),การเพิ่มคุณค่าเครือข่ายให้มากที่สุด/การพัฒนา 5G ให้ใช้งานได้จริง(Maximize Network Value/Bring 5G into Reality),ระบบปฏิบัติการดิจิทัลที่คล่องตัว (Agile Digital Operations)และการนำเทคโนโลยี IoTมาให้บริการ (IoTas a Service)

 

มร. สตีเว่น หวง รองกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เราตั้งตารอต้อนรับผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนที่จะมาร่วมในงานอันน่าตื่นตาตื่นใจนี้ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์หลักๆ และแม่แบบการดำเนินงานในอนาคตเป้าหมายของเราคือการช่วยโอเปอเรเตอร์ในประเทศไทย รวมถึงประเทศอื่นๆ ให้สามารถเห็นช่องทางใหม่ๆ ในการเพิ่มผลประกอบการและต่อยอดวงจรธุรกิจจากการพัฒนาบริการและการสร้างเครือข่าย”

 

ภายในงาน ผู้เข้าชมจะได้รับทราบข้อมูลผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นไอซีทีล่าสุด ที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ พร้อมสัมผัสนวัตกรรมจากหัวเว่ยและแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อขับเคลื่อนไปสู่อุตสาหกรรมแบบเปิดและความสำเร็จของทุกฝ่าย

 

โอกาสอีกมากมายที่รอพัฒนา

จากข้อมูลการจัดอันดับ Global Connectivity Index (GCI)[1] ที่หัวเว่ยแผยแพร่ในปี 2559 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 34 จากประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมด 50 ประเทศ โดยจัดอยู่ในกลุ่ม “Adopters”ด้วยคะแนน 37 คะแนน สิ่งนี้บ่งชี้ได้ถึงโอกาสทางด้านไอซีทีที่รอให้พัฒนาต่อได้อีกมากมาย กลุ่มประชากรที่ยังเข้าไม่ถึงโอกาส และยุทธศาสตร์ด้านไอซีทีของประเทศ จากการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเชื่อมโยงสื่อสารอย่างเต็มรูปแบบนี้เอง โครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลจะช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไป

 

“หัวเว่ยยังคงเป็นพันธมิตรที่ดีที่สุดของประเทศไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ที่พร้อมจะผลักดันอุตสาหกรรมแนวตั้งให้เข้าสู่ยุคดิจิทัล เรามีแผนให้ความช่วยเหลือด้วยการฝึกอบรมบุคลากรด้านไอซีทีของไทยให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และยังคงเดินหน้าขยายการลงทุนในด้านต่างๆ เพื่อร่วมผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลให้สัมฤทธิผลอีกด้วย” มร. หวงกล่าวเพิ่มเติม

 

หัวเว่ยได้วิเคราะห์ภูมิทัศน์ของตลาดเกิดใหม่ในปัจจุบันเพื่อกำหนดแนวทางกลยุทธ์จาก 4 มุมมอง ได้แก่ ผู้ใช้+, ครัวเรือน+, ทรัพยากร+ และประสิทธิภาพ+ การติดตั้งโฮมบรอดแบนด์อย่างรวดเร็วและการสร้างระบบอินดอร์ดิจิทัลจะช่วยปรับปรุงสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมและยกระดับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ทรัพยากรเครือข่ายที่มีอยู่จะถูกใช้เพื่อเพิ่มคุณค่าของเครือข่ายและประสิทธิภาพของสเปคตรัมให้ได้มากที่สุด พัฒนา O&M ให้ดีขึ้น และรองรับเศรษฐกิจในทุกระดับ การเชื่อมโยงผู้ใช้ทั้งหมดจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และมนุษยชาติ

 

“ในราวปี 2568 เราจะได้เห็นคนสองพันกว่าล้านคนมีการเชื่อมต่อผ่านโมบายบรอดแบนด์ และอีกกว่า 500 ล้านรายผ่านโฮมบรอดแบนด์ ความมุ่งมั่นของเราคือ การผลักดันให้โอเปอเรเตอร์ทั่วโลกสามารถต่อยอดไปสู่การเติบโตใหม่” มร. หวง อธิบาย

 

เพื่อเป็นการเติมเต็มภารกิจใน “การสร้างโลกที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารที่ดียิ่งขึ้น” หัวเว่ยได้ผลักดันให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายในอุตสาหกรรมนำประสบการณ์ด้าน “Real-time, On-demand, All-online, DIY และ Social (ROADS)” มาปรับใช้ให้เป็นมาตรฐานหลักเพื่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล หัวเว่ยจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมให้ก้าวเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล โดยเริ่มจากด้านเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมให้ทันสมัยก่อนจะไปสู่การพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ และในตอนนี้เข้าสู่ช่วงการสร้างคุณค่าเชิงพาณิชย์ของระบบดิจิทัล

 

 

 

นอกจากนี้ ยังมีขอบเขตการพัฒนาอีก 4 ขอบเขตใหญ่ๆ ที่หัวเว่ยกำลังแสวงหาหนทางเพื่อก้าวไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในระบบนิเวศน์ที่รวมเอาโอกาสและประโยชน์ต่างๆ ไว้ด้วยกัน โดยขอบเขตดังกล่าวประกอบด้วยนวัตกรรม 5G(5G Innovation), ประสบการณ์ ROADS หนทางสู่การเติบโตแนวใหม่ (ROADS to New Growth), การเพิ่มคุณค่าเครือข่ายให้ได้สูงสุด (Network Value Maximization) และการพลิกโฉมระบบปฏิบัติการ(Operations Transformation)

 

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

คุณวันดี เลิศสุพงศ์กิจ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารหัวเว่ย

โทร. 093 896 6465 หรือ 081 838 4001

อีเมล: [email protected] หรือ [email protected]

[1]http://www.huawei.com/minisite/gci/pdfs/GCI2016_Press_Release.da5.pdf