สรุปแนวปฏิบัติ "ค่าใช้จ่าย-ผู้ช่วยหาเสียง" เลือกตั้ง ส.ก.-ผู้ว่าฯกทม. 22 พ.ย.65

สรุปแนวปฏิบัติ "ค่าใช้จ่าย-ผู้ช่วยหาเสียง" เลือกตั้ง ส.ก.-ผู้ว่าฯกทม. 22 พ.ย.65

สรุปแนวปฏิบัติผู้สมัคร เลือกตั้งท้องถิ่น "กทม.-พัทยา" พร้อมเช็คคู่มือ "ประเภทค่าใช้จ่าย-ผู้ช่วยหาเสียง" เตรียมพร้อมก่อนหย่อนบัตร 22 พ.ค.65

การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น 4 สนามในวันที่ 22 พ.ค.นี้ เป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับสุดท้ายก่อนถึงวาระเลือกตั้งใหญ่ในปี 2566 ทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่น "กทม.-พัทยา" ยกระดับความเข้นข้นทางการเมือง ในฐานะฐานเสียงที่จะมีขึ้นในเวทีระดับชาติ

หากนับตามปฏิทินการจัดเลือกตั้งหลังจากวันที่ 4 เม.ย.2565 กกต.จะประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครเลือกตั้งภายในวันที่ 11 เม.ย.65 จากนั้นวันที่ 26 เม.ย.65 ประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,374,131 คน (ข้อมูลคำนวณถึงวันที่ 22 พ.ค.65) แบ่งเป็นเพศชาย 1,996,104 คน และเพศหญิง 2,378,027 คน 

การเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯกทม.-ส.ก.-นายกเมืองพัทยา-สมาชิกสภาเมืองพัทยา" ได้กำหนดแนวปฏิบัติหาเสียงให้ถูกต้องตาม "ระเบียบ กกต.ว่า ด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2563" อย่างเคร่งครัด ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดให้ "ผู้สมัคร" สามารถมี "ผู้ช่วยหาเสียง" ในเขตเลือกตั้งได้ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ในหมวด 3 ข้อ 15 ดังนี้

1.ผู้สมัครแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ช่วยหาเสียง หน้าที่ และค่าตอบแทน หลักฐานอื่น ให้ผู้อานวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบก่อนวันดำเนินการ

2.จัดหาเสื้อผ้า สิ่งของ อาหาร หรือเครื่องดื่มสำหรับผู้ช่วยหาเสียง

3.แจ้งค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง ให้ผู้อานวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบ

4.ค่าตอบแทนสำหรับ ผู้ช่วยหาเสียง ตามอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ

5.กรณีแจ้งเปลี่ยนตัวผู้ช่วยหาเสียง ไม่เกิน 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ช่วยหาเสียง 

ขณะเดียวกันในประกาศ กกต. เรื่อง "ประเภทของค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563" ได้กำหนดประเภท "ค่าใช้จ่าย" ในการเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯกทม.-ส.ก.นายกเมืองพัทยา-สมาชิกสภาเมืองพัทยา" ทั้งหมด 12 ข้อที่ผู้สมัครควรรู้ ดังนี้ 

1.ค่าใช้จ่ายในการสมัครรับเลือกตั้ง ค่าสมัครรับเลือกตั้ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

2.ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างผู้ช่วยหาเสียง ค่าจ้างในการปิดป้ายโฆษณาหาเสียง

3.ค่าจ้างทำของ ค่าจ้างทำเสื้อแจ็กเก็ต หมวก และเสื้อยืดหรืออื่นๆ

4.ค่าโฆษณาในสื่อต่างๆ ค่าสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ค่าผลิตสื่อเพื่อการออกอากาศ และค่าโฆษณาอื่น

5.ค่าจัดทำป้าย เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ 

6.ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือค่าบริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ยูทูป แอพพลิเคชั่น อีเมล์ เอสเอ็มเอส สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น

7.ค่าจัดซื้อหรือเช่าวัสดุและอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการหาเสี่ยงเลือกตั้ง

8.ค่าเช่าสถานที่ และค่าตกแต่งสถานที่ ค่าเช่าสำนักงาน ค่าเช่าสถานที่

9.ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าเช่าหรือค่าจ้างเหมารถยนต์ เรือยนต์ หรือยานพาหนะอื่นๆ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าเช่าที่พัก

10.ค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการทางไปรษณีย์

11.ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ช่วยหาเสียง ค่าอบรม ค่าอาหารและเครื่องดื่ม

12.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ที่สำคัญทุกการเลือกตั้งท้องถิ่น กกต.ได้เปิดให้บริการ "สายด่วน 1444" เพื่อเป็นช่องทางให้กับประชาชน ติดต่อสอบถามข้อมูลการเลือกตั้งทั้ง 4 สนาม โดยเปิดให้บริการเวลา 08.30-16.30 น. ในวันและเวลาราชการ 

ส่วนกรณีที่ประชาชนต้องการทราบข้อมูลที่มีความชัดเจน เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติ ที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้ข้อมูล สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด เว็บไซต์ของสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด และแอพพลิเคชั่น "สมาร์ทโหวต (Smart Vote)" แอพพลิเคชั่น "ตาสับปะรด"

อ่านที่เกี่ยวข้อง : เปิดยอดเงินรางวัลแจ้งเบาะแส จับโกง เลือกตั้ง "กทม.-พัทยา" 2565