สูงสุด 5 แสน! เปิดเงินรางวัล แจ้งเบาะแส จับโกงเลือกตั้ง "กทม.-พัทยา" 2565

สูงสุด 5 แสน! เปิดเงินรางวัล แจ้งเบาะแส จับโกงเลือกตั้ง "กทม.-พัทยา" 2565

เปิดช่องทางแจ้งจับทุจริต เลือกตั้ง "กทม.-พัทยา" 2565 พร้อมเช็คยอดเงินรางวัลผู้แจ้งเบาะแส สูงสุด 5 แสนบาท ที่นี่!

การเลือกตั้งสมาชิกสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 4 สนามในวันที่ 22 พ.ค.นี้ เป็นการเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับสุดท้ายก่อนถึงวาระเลือกตั้งใหญ่ในปี 2566 ทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่น "กทม.-พัทยา" ยกระดับความเข้นข้นทางการเมือง ในฐานะฐานเสียงที่จะมีขึ้นในเวทีระดับชาติ

แน่นอนการว่าการแข่งขันที่เข้มข้นชี้วัดตั้งแต่การเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.-4 เม.ย. ซึ่งสำนักงานคณะกรรมคการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ย้ำเตือนให้ผู้สมัครยึดแนวปฏิบัติหาเสียงให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดเคร่งครัด 

สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น 2565 เกี่ยวข้องกับกฎหมาย 2 ฉบับหลักๆ ตั้งแต่ พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียง เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2563

สำหรับลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของ กทม.และเมืองพัทยา ห้ามผู้สมัครคำเนินการ หรือยินยอมให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดดำเนินการหาเสียงในลักษณะ ดังต่อไปนี้

1.แจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับการหาเสียงโดยวิธีการวางหรือโปรย ในที่สาธารณะ

2.แจกจ่ายเอกสาร วีดิทัศน์ โดยไม่ระบุชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ของผู้จ่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวนและวันเดือนปีที่ผลิต

3.ใช้พาหนะต่าง ๆ หาเสียง หรือจัดสถานที่เวทีหาเสียง โดยไม่แจ้ ผอ.กต.จว.ทราบ

4.ใช้ถ้อยคำที่รุนแรงหรือปลุกระดม หรือก่อให้เกิดความไม่สงบในพื้นที่

5.ช่วยเหลือเงินหรือทรัพย์สินต่างๆ หรือประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินให้แก่ผู้ใดตามปกติประเพณีต่างๆ

6.หาเสียง หรือนำชื่อ สัญลักษณ์ของพรรคการเมือง คติพจน์ คำขวัญ หรือกาพบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากพรรคการเมืองหรือบุคคลนั้น

7.ห้ามมิให้พรรคการเมือง ส.ส. / ส.ว./ผ.ก./ ส.ก. เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ กระทำการใดๆ โดยมิชอบ ด้วยหน้าที่และอำนาจอันเป็นการกลั่นแกล้งผู้สมัคร

8.สำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยมีเจตนาไม่สุจริต มีลักษณะชี้นำ เพื่อผลต่อการลงคะแนนเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด

9.เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนนในระหว่างเวลา 7 วันก่อนเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการออกเสียงลงคะแนนเพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง

10.จงใจไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้

สูงสุด 5 แสน! เปิดเงินรางวัล แจ้งเบาะแส จับโกงเลือกตั้ง \"กทม.-พัทยา\" 2565

สูงสุด 5 แสน! เปิดเงินรางวัล แจ้งเบาะแส จับโกงเลือกตั้ง \"กทม.-พัทยา\" 2565

นอกจากนี้ กกต.ได้ออกแอพพลิเคชัน "ตาสับปะรด" เป็นช่องทางแจ้งเบาะแสกรณีพบเห็นการทุจริตและการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งขณะนี้อยู่ในหมวดเลือกตั้ง "กทม.-พัทยา" เพื่อเป็นช่องทางรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในรูปแบบข้อความ ภาพ เสียง หรือวีดีโอที่มาจากประชาชน

วิธีใช้แอพพลิเคชันตาสับปะรด "กรุงเทพธุรกิจ" รวบรวม มีดังนี้

1.เปิดแอพพลิเคชั่นตาสับปะรด จะพบช่องให้ "เข้าสู่ระบบ" และ "ลงทะเบียน" โดยให้เริ่มต้นใช้งานที่ช่อง "ลงทะเบียน" 

2.กดช่อง "ลงทะเบียน" จะเข้ามาที่หน้าข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งานให้กด "ยินยอม" หากไม่เห็นด้วยให้กด "ไม่ยินยอม"

3.หากกด "ยินยอม" เพื่อใช้งานจะมีช่องให้กรอกข้อมูลผู้ใช้งานสำหรับผู้ใช้ใหม่ โดยเป็นข้อมูลเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ชื่อนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และชื่อที่ใช้เป็นบัญชีผู้ใช้งานและการกำหนดรหัสเข้าใช้งาน 

4.ระบบจะแจ้งหมายเลข OTP ใน SMS เพื่อให้กรอกตัวเลข 4 หลักเพื่อยืนยันตัวตน

5.นำบัญชีผู้ใช้กรอกในช่องเริ่มต้นการใช้งาน เมื่อกรอกบัญชีเสร็จสิ้นจะเช้ามาที่หน้าหัวข้อความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งต่างๆ ให้กดช่อง "รายงานทุจริต" 

ต่อมาเป็นข้อตกลงการใช้บริการรายงานการทุจริตเลือกตั้ง ที่ กกต.กำหนดไว้มีดังนี้ 

1.ผู้ใช้งานต้องแจ้งข้อมูลที่เป็นจริงเท่านั้น และไม่แจ้งข้อมูลที่มีลักษณะกลั่นแกล้ง ใส่ร้าย ใส่ความ หรืออื่นใดที่มีลักษณะเช่นว่ามาแล้ว

2.ผู้ใช้งานจะต้องดำเนินการใดๆ ที่ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎหมายอื่น

3.ผู้ใช้งานจะต้องแจ้งเหตุการณ์การทุจริตเลือกตั้ง 1 ครั้ง ต่อ 1 เรื่องเท่านั้น

4.การแจ้งรายงานทุกครั้ง ผู้ใช้งานควรจะส่งรูปมาด้วยทุกครั้ง

5.เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ กรุณาบันทึกข้อมูลรายละเอียดให้ถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน

6.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งขอสงวนสิทธิในการดำเนินการยุติเรื่องกับรายงานที่มีข้อมูลลักษณะเป็นเท็จ กลั่นแกล้ง ใส่ร้ายใส่ความ หรืออื่นใดที่มีลักษณะเช่นฉ่ำมาแล้ว รวมทั้งรายงานที่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมและกฎหมายอื่น

โดยเฉพาะกติกาที่กำหนดไว้ชัดว่าผู้แจ้งที่ส่งข้อมูลแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ จึงควรตรวจสอบก่อนที่จะกดปุ่ม"ส่งข้อมูล"

จากนั้นถึงขั้นตอนสำคัญของแอพพลิเคชัน "ตาสับปะรด" โดยผู้แจ้งข้อมูลการทุจริตเลือกตั้งต้องระบุข้อมูล ดังนี้

1.จังหวัด ที่เกิดเหตุ

2.วัน/เวลา ที่เกิดเหตุ

3.สถานที่เกิดเหตุ ให้กรอกข้อมูล แขวง หรือ ตำบล/เขต หรืออำเภอ เขตเลือกตั้ง / หน่วยเลือกตั้งที่ทราบ

4.รายละเอียดการกระทำผิด ให้กรอกรายละเอียดการกระทำผิด เช่น เป็นใคร มีพฤติกรรม อย่างไร ยานพาหนะที่ใช้ ยี่ห้อ สีรถ

5.อัพโหลดหลักฐานประกอบ ตั้งแต่ ไฟล์ภาพ บันทึกเสียง และเลือกไฟล์วีดีโอ 

สูงสุด 5 แสน! เปิดเงินรางวัล แจ้งเบาะแส จับโกงเลือกตั้ง \"กทม.-พัทยา\" 2565

อย่างไรก็ตามเมื่อ "กกต." ได้รับข้อมูลแล้ว จะไปดำเนินการสอบสวนตามหลักฐานและข้อเท็จจริงในสำนวนการร้องเรียนทั้งหมด 

ที่สำคัญกรณี "ผู้แจ้งเบาะแส" หากกระบวนการสอบสวน นำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด สามารถรับเงินรางวัลจากกรณี "กกต." มีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่ โดย กกต.จะปกปิดชื่อผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ

สำหรับเงินรางวัลแจ้งเบาะแสถูกกำหนดไว้ที่ "ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารและการให้รางวัลแก่ผู้ชี้เบาะแสการกระทำการอันไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมในการเลือกตั้ง พ.ศ.2562" โดยมี "บัญชีอัตราการให้รางวัล" ในหมวด "กฎหมายว่าด้วยการเลือกต้ังสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น" แบ่งเป็นดังนี้

1.กรณี กกต.สั่งเลือกตั้งใหม่ ได้เงินรางวัลตั้งแต่ 2.5 หมื่นบาทไม่เกิน 1 แสนบาท 

2.กรณี กกต.ระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราว ได้เงินรางวัลตั้งแต่ 2.5 หมื่นบาทไม่เกิน 2 แสนบาท

3.กรณี ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลือกตั้งใหม่ ได้เงินรางวัลตั้งแต่ 2.5 หมื่นบาทไม่เกิน 4 แสนบาท 

4.กรณี ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ได้เงินรางวัลตั้งแต่ 2.5 หมื่นบาทไม่เกิน 5 แสนบาท 

สูงสุด 5 แสน! เปิดเงินรางวัล แจ้งเบาะแส จับโกงเลือกตั้ง \"กทม.-พัทยา\" 2565