สรุปผลงาน "อัศวิน" นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. 5 ปี 5 เดือน ทำอะไรให้คนกรุงเทพฯ

สรุปผลงาน "อัศวิน" นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. 5 ปี 5 เดือน ทำอะไรให้คนกรุงเทพฯ

สรุปผลงาน "อัศวิน ขวัญเมือง" ยุค คสช.แต่งตั้ง ก่อนลาออก 24 มี.ค. นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. 5 ปี 5 เดือนอีก 5 วัน ทำอะไรบ้างให้คนกรุงเทพฯ

ชัดเจนแล้วว่า วันที่ 24 มี.ค.2565 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ยื่นใบลาออกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) จากตำแหน่ง ผู้ว่าฯกทม.อย่างเป็นทางการ ปิดฉากได้รับแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2559 เป็นเวลา 5 ปี 5 เดือนกับอีก 5 วัน เพื่อประกาศตัวเตรียมลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.อิสระ ในนามกลุ่ม "รักษ์กรุงเทพ" 

สำหรับ พล.ต.อ.อัศวิน เป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 8 และผู้สมัครอิสระคนที่ 4 ต่อจาก น.ต.ศิธา ศิธาทิวารี ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร จากพรรคก้าวไกล นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ นายประยูร ครองยศ จากพรรคไทยศรีวิไลย์ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ และนายอุเทน ชาติภิญโญ ผู้สมัครอิสระ 

สรุปผลงาน \"อัศวิน\" นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. 5 ปี 5 เดือน ทำอะไรให้คนกรุงเทพฯ

สำหรับการเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ของพล.ต.อ.อัศวิน เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2559 ถือเป็นผู้ว่าฯ กทม.ที่มาจากการแต่งตั้งในรอบ 38 ปี ต่อจาก "อาษา เมฆสวรรค์" ซึ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อปี 2527 แต่ที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่า พล.ต.อ.อัศวินได้รับความคาดหวังจากคนกรุงเทพฯในฐานะ "พ่อเมือง" ถึงแม้จะมีที่มาจากการแต่งตั้งก็ตาม

เมื่อโครงสร้างและงบประมาณบริหาร กทม.ในแต่ละปี เทียบเท่ากระทรวงใหญ่ในหลายกระทรวง โดยเฉพาะงบประมาณบริหารประจำปีมากกว่า 7 หมื่นล้านบาท รวมงบประมาณระยะเวลา 10 ปีระหว่างปี 2555-2565 มีจำนวนมากถึง 792,248 ล้านบาท

อ่านประกอบ : ผ่าสถิติงบ กทม. 7.9 หมื่นล้าน ก่อนถึงวันเลือกตั้ง "ผู้ว่าฯกทม." 22 พ.ค.65

สรุปผลงาน \"อัศวิน\" นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. 5 ปี 5 เดือน ทำอะไรให้คนกรุงเทพฯ

ทั้งนี้ หากตรวจสอบไปที่ผลงานเด่น พล.ต.อ.อัศวินตั้งแต่รับตำแหน่งที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2559-2565 มีดังนี้

• สถานที่ท่องเที่ยว 

คลองโอ่งอ่าง พัฒนาพื้นที่ปี 2560 เปิดใช้เป็นทางการในวันลอยกระทง 2563 

• ถนน-อุโมงค์-ทางลอดคนเดิน

โครงการสร้างทางลอดแยกมไหสวรรค์ เปิดใช้งาน เม.ย.60

โครงการก่อสร้างถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า เปิดใช้งาน ก.พ.61

โครงการก่อสร้างทางลอดถนนพัฒนาการ-รามคำแหง-ถาวรธวัช เปิดใช้งาน ธ.ค.61

โครงการขยายถนนสุทธาวาส และก่อสร้างสะพานข้ามแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ เปิดใช้งาน ก.พ.64

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแยกถนนสุทธาวาส ตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ เปิดใช้งาน ก.พ.64

โครงการก่อสร้างต่อเชื่อมถนนกาญจนาภิเษก-ถนนพุทธมณฑลสาย 2 เปิดใช้งาน เม.ย.64 

โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนนมหาราช เปิดใช้งาน ก.พ.65 

โครงการปรับปรุงถนนเลียบคลองบางเขน เปิดใช้งาน มี.ค.65

• สวนสาธารณะ

ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน เปิดใช้งาน เม.ย.61

สวนสิริภิรมย์ เขตมีนบุรี เปิดใช้งาน พ.ค.61

สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ เขตพระนคร เปิดใช้งาน ก.ค.61

สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 7 เขตบางบอน เปิดใช้งาน ก.ย.61 

สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค เปิดใช้งาน ส.ค.62

สวนวนาภิรมย์ร่มเกล้า เขตลาดกระบัง เปิดใช้งาน ม.ค.64

สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา เขตพระนคร เปิดใช้งาน มิ.ย.63

สวนวัดหัวลำโพงรุกขนิเวศน์ เขตบางรัก เปิดใช้งาน ก.ย.64

สวนสาธารณะคลองช่องนนทรี เขตบางรัก เขตสาทร และเขตยานนาวา เปิดใช้งาน ธ.ค.64

สวนเทียนทะเลพัฒนาพฤกษาภิรมย์ เขตบางขุนเทียน เปิดใช้งาน มี.ค.65 

สรุปผลงาน \"อัศวิน\" นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. 5 ปี 5 เดือน ทำอะไรให้คนกรุงเทพฯ

• การศึกษา 

เพิ่มค่าอาหารในโรงเรียน กทม. ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 วันละ 40 บาท โดยอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนในสังกัด437 โรงเรียน คนละ 25 บาทต่อวัน นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดสรรค่าอาหารกลางวันสมทบเพิ่มอีกคนละ 4 บาท/วัน จากที่ได้รับเงินอุดหนุนรัฐบาล 21 บาท รวมเป็น 25 บาท/วัน 

เพิ่มหลักสูตรฝึกอาชีพในโรงเรียน อาทิ ช่างเสริมสวย อาหารว่าง และแฟชั่นดีไซน์ 

โครงการทุนเอราวัณ ระดับปริญญาตรี 

เปิดหลักสูตรภาควิชาบรรเทาสาธารณภัย มหาวิทยาลัยนวมินราธิราช

• การจราจร

ให้บริการเรือไฟฟ้าเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม  ตั้งแต่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงท่าเรือตลาดเทวราช ครอบคลุมเขตพระนครเขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตปทุมวัน เปิดใช้งาน พ.ย.65 

ให้บริการเรือไฟฟ้าคลองแสนแสบ ส่วนต่อขยายช่วง "วัดศรีบุญเรือง-สำนักงานเขตมีนบุรี" เปิดใช้งาน ก.พ.65

ให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เปิดให้บริการ เม.ย.60 และส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เปิดให้บริการ ธ.ค.63 และโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ระยะที่ 1 (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สถานีคลองสาน) เปิดให้บริการ ธ.ค.63 

• สุขภาพ

เปิดอาคารผู้ป่วยนอก (โอพีดี) โรงพยาบาล คลองสามวา เขตคลองสามวา เปิดให้บริการ ก.ย.2560

เปิดโรงพยาบาลบางนา เปิดให้บริการ ธ.ค.61

• ทัศนียภาพ

นำสายสื่อสารหรือสายไฟฟ้าลงดิน 21 เส้นทาง อาทิ ถนนราชปรารภ ถนนพหลโยธินและถนนลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษกถึงถนนพระราม 9 และถนนรัชดาภิเษกถึงถนนอโศก ถนนพระราม 4 ถนนพระราม 3 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนวิทยุ ถนนนานาเหนือ ถนนชิดลม 

• ป้องกันน้ำท่วม

อุโมงค์ระบายน้ำหนองบอน เปิดใช้ปี 2565 

ธนาคารน้ำใต้ดิน บริเวณใต้วงเวียนบางเขน เปิดใช้งานปี 2561

ธนาคารน้ำใต้ดิน บริเวณใต้ถนนอโศกดินแดง เปิดใช้งานปี 2561

• ความปลอดภัย

เพิ่มสถานีดับเพลิงและกู้ภัย 11 แห่ง อาทิ สถานีดับเพลิงและกู้ภัยดอนเมือง เปิดใช้งาน ก.ย.62 , สถานีดับเพลิงและกู้ภัยร่มเกล้าเปิดใช้งาน ส.ค.63 , สถานีดับเพลิงและกู้ภัยพหลโยธิน เปิดใช้งาน ต.ค.63 

เพิ่มกล้องวงจรปิดติดตั้งใหม่ 20,217 ตัว

• เทคโนโลยี

เปิดแอปพลิเคชัน "BMA Q" บริการจองคิวล่วงหน้าผ่านเปิดใช้งาน มิ.ย.63

เปิดแอปพลิเคชัน "หมอ กทม." บริการนัดหมายบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลในสังกัด กทม. เปิดใช้งาน มี.ค.65

เปิดป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่ Smart Bus Shelter เปิดใช้งาน ก.ค.63

สรุปผลงาน \"อัศวิน\" นั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม. 5 ปี 5 เดือน ทำอะไรให้คนกรุงเทพฯ