'คอร์รัปชัน' ไทยพุ่ง อันดับ 101 ของโลก ค่าเฉลี่ยดัชนีที่ 36

'คอร์รัปชัน' ไทยพุ่ง อันดับ 101 ของโลก ค่าเฉลี่ยดัชนีที่ 36

องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เผยแพร่ผล CPI ไทย อันดับ 101 ของโลก

องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ( Transparency International) เผยแพร่ผล CPI ค่าดัชนีรับรู้การทุจริตประจำปี ​2019 พบว่า ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 101 จากจำนวนทั้งหมด 180 ประเทศ และได้ค่าเฉลี่ยดัชนีที่ 36 (จากคะแนนเต็ม 100) ซึ่งเท่ากับค่าดัชนีในปี 2018 แต่อันดับถือว่าหล่นลง เนื่องจากในการจัดอันดับปี 2018 ไทยอยู่ในอันดับที่ 99 จาก 180 ประเทศ (ประเทศที่อันดับตัวเลขยิ่งสูงหมายถึงยิ่งมีการคอร์รัปชันมาก) ส่วนประเทศที่ถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 ในปีนี้ มี 2 ประเทศได้อันดับ 1 ร่วมกันในฐานะประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยที่สุด คือ นิวซีแลนด์และเดนมาร์ค (ได้ 87 คะแนนจาก 100 คะแนน) ขณะที่ประเทศที่ได้ชื่อว่าคอร์รัปชันมากที่สุด คือประเทศโซมาเลีย อยู่ในอันดับสุดท้ายของ 180 ประเทศ และได้ค่าดัชนี CPI เพียง 9 คะแนน (จากเต็ม 100)

157976515582

CPI มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) – 100 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด) ยิ่งค่า CPI สูง ประเทศมีความโปร่งใสมาก คอร์รัปชันต่ำ ยิ่งค่า CPI ต่ำประเทศมีความโปร่งใสน้อย คอร์รัปชันสูง


สำหรับประเทศไทยนั้น ผลสำรวจจาก WEF สำรวจนักธุรกิจถึงการจ่ายเงินสินบนเกี่ยวกับการนาเข้า-ส่งออก ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ การนำเงินของภาครัฐไปให้กับบริษัท บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดๆ เพื่อการคอร์รัปชัน และระดับคุณธรรมหรือจริยธรรมหรือธรรมภิบาลอยู่ระดับใดนั้น คะแนนดีจาก 42 ในปี 2561 เป็น 43.28 ในปี 2562

ขณะที่ EIU สำรวจนักวิเคราะห์ความเสี่ยงทั่วโลก เรื่อง การตรวจสอบการใช้งบประมาณ การใช้อำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐ และความเป็นอิสระขององค์กรตรวจสอบ คะแนนดีขึ้นจาก 37 ในปี 2561 เป็น 37.26 ในปี 2562

PRS ซึ่งสำรวจจากนักวิเคราะห์ของ PRS พบว่า การให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนต่างๆ โดยเฉพาะการนำเข้า-ส่งออก การขออนุมัติอนุญาต การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท คะแนนของไทยก็ดีขึ้นจาก 32 ในปี 2561 เป็น 32.42 ในปี 2562

IMD สำรวจนักธุรกิจทั่วโลก 4,300 คน ถึงการให้สินบนและการทุจริตคอร์รัปชันยังคงมีอยู่หรือไม่ พบว่าดีขึ้น โดยได้คะแนน 44.99 ในปี 2562 จาก 41 ในปี 2561

PERC ที่ถามนักกธุรกิจต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศว่าคุณให้คะแนนการคอร์รัปชันในประเทศที่คุณอาศัยและทำงานอยู่เท่าใด ซึ่งไทยได้คะแนน 38.36 ในปี 2562 จาก 37 ในปี 2561


ส่วนอันดับคณะที่ลดลง ได้แก่ WJP ถามผู้เชี่ยวชาญ ถึงการใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนของข้าราชการเจ้าหน้าที่ฝ่ายตุลาการและฝ่ายนิติบัญญัติ พบว่า คะแนนลดจาก 40 ในปี 2561 เหลือ 38.28 ในปี 2562

GI สอบถามผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์ความเสี่ยง ถึงความเสี่ยงด้านทางธุรกิจ การติดสินบนเจ้าหน้าที่ และการออกนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจบางธุรกิจ คะแนนลดลงจาก 35 ในปี 2561 เหลือ 34.50 ในปี 2562

BF(TI) ที่สำรวจผู้เชี่ยวชาญในประเทศ 2 คน ถึงการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อประโยชน์มิชอบและประสิทธิภาพของรัฐบาลในการควบคุมปัญหาการทุจริตในปี 2562 ได้คะแนน 36.84 ลดลงจากปีก่อนหน้าที่ได้ 37 คะแนน และ VDem ที่สอบถามจาก นักวิชาการ นักธุรกิจ และนักวิเคราะห์ ถึงการทุจริตในภาคการเมืองมีการแพร่ขยายตัวอย่างไร พบว่า คะแนนลดลงจาก 21 ในปี 2561 เหลือ 19.57 ในปี 2562

157976725981

ทั้งนี้ การจัดอันดับประเทศที่มีการโกงกินมากที่สุดในโลกประจำปี 2020 หรือ The World’s Most Corrupt Countries ของ U.S. News & World Report เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ปีนี้ 10 ประเทศแรกที่เข้าอันดับได้แก่ อันดับ (1) โคลอมเบีย (2) เม็กซิโก (3) กานา (4) เมียนมา (5) กัวเตมาลา (6) ซาอุดิอาระเบีย (7) บราซิล (8) เคนยา (9) โบลิเวีย (10) รัสเซีย การจัดอันดับดังกล่าวเป็นการจัดตามความคิดเห็นจากการรับรู้ของประชาชน (Ranking by Perceptions) ที่เข้าร่วมการสุ่มสำรวจใน 73 ประเทศจำนวนมากกว่า 20,000 คน ซึ่งในการสำรวจผู้ตอบคำถามต้องระบุว่าพวกเขาเชื่อมโยงแต่ละประเทศกับนิยามคำว่า “corrupt” ซึ่งเป็นความเสื่อมทางจริยธรรมตามการตีความของพวกเขามากน้อยแค่ไหน ประเทศใดมีความโปร่งใส ยุติธรรมและเป็นประชาธิปไตย ประเทศใดที่พวกเขารับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการโกงกิน คอร์รัปชัน หรือการปล่อยปละละเลยของทางการให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ปีนี้ โคลอมเบีย เข้าอันดับมาเป็นที่ 1 คาดว่าจะมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการคอร์รัปชันประมาณ 14,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ทั้งนี้ปลายเดือนพ.ย.2562 รัฐบาลโคลอมเบียต้องเผชิญกับการเดินขบวนประท้วงหลายระลอก ส่วนประเทศรัสเซียซึ่งปี 2562 อยู่ในอันดับที่ 12 มาปีนี้เข้าทำเนียบ Top10 โดยเข้ามาเป็นอันดับ 10 ข่าวแง่ลบของรัสเซียที่ผู้คนรับรู้คือการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและการเลือกตั้งในหลายประเทศ รวมทั้งการใช้สารกระตุ้นในนักกีฬาโอลิมปิกซึ่งเป็นการกระทำทุจริตผิดกฏสากล ส่วนประเทศโบลิเวียที่อยู่ในอันดับ 9 นั้น เมื่อต้นปีรัฐบาลรักษาการเพิ่งประกาศจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อสวบสวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลชุดเก่าจำนวนเกือบ 600 รายซึ่งอาจจะโยงใยการทุจริต 157976189859

157976190957