ยกฟ้องคดีถุงมือยาง อคส. 2 พันล. อธิบดีศาลฯแย้ง แฉพฤติการณ์ละเอียด

ศาลคดีทุจริตฯภาค 1 ยกฟ้องคดี ‘อดีตบิ๊ก อคส.-เอกชน’ พร้อมพวก 21 ราย คดีจัดซื้อถุงมือยาง 2 พันล้านบาท แต่อธิบดีผู้พิพากษาฯ ทำความเห็นแย้ง แฉพฤติการณ์ละเอียด
เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2568 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 1 อ่านคำพิพากษาคดีระหว่างอัยการสูงสุด (อสส.) โดยพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ภาค 1 โจทก์ พันตำรวจเอกรุ่งโรจน์ พุทธิยาวัฒน์ อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง องค์การคลังสินค้า (อคส.) จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 21 คน กรณี อคส.จัดซื้อถุงมือยาง โดยจ่ายเงินล่วงหน้า 2,000,000,000 บาท
วันนี้ เวลา 9.30 นาฬิกา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 อ่านคำพิพากษาในคดี หมายเลขดำที่ อท77/2567 คดีหมายเลขแดงที่ อท44 /2568 ระหว่างอัยการสูงสุด โดยพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ภาค 1 โจทก์ พันตำรวจเอกรุ่งโรจน์ พุทธิยาวัฒน์ จำเลย ที่ 1 กับพวกรวม 21 คน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานองค์การคลังสินค้า ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง บริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด จำเลยที่ 2 เป็นนิตินิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โดยจำเลยที่ 3 กรรมการผู้มีมีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท โดยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 4 ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการองค์การคลังสินค้า จำเลยที่ 5 เป็นพนักงานองค์การคลังสินค้า ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนงานการตลาดดิจิตอล จำเลยที่ 6 ถึงจำเลยที่ 17 และจำเลยที่ 19 ถึงจำเลยทำเลยที่ 21 เป็นบุคคลธรรมดา
และ บริษัท ไทย สไมล์ เทรด จำกัด จำเลยที่ 18 เป็นนิติบุคคล ผู้เกี่ยวข้องในการซื้อหรือขายถุงมือยางกับองค์การคลังสินค้าจำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดได้ร่วมกันในลักษณะแบ่งหน้าที่และให้การช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกันในการกระทำความผิด โดยจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 และจำเลยจำเลยที่ 5 ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าพนักงานของรัฐ และพนักงานในหน่วยงานของรัฐ
อีกทั้งจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ยังเป็นพนักงานของรัฐ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในการซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ขององค์การคลังสินค้า ได้กระทำความผิดโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ในการทุจริต ด้วยการร่วมกับจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ถึงจำเลยที่ 21 นำบริษัท ไทย สไมล์ เทรด จำกัด จำเลยที่ 18, GALORE MANAGEMENT, LLC และ KRENEK LAW OFFICES, PLLC ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการค้าขายถุงมือยางเข้ามาเป็นผู้ซื้อถุงมือยางจากองค์การคลังสินค้า ทั้งที่ยังไม่ได้มีการวางหลักเกณฑ์หรือระเบียบในการจัดหาและจำหน่ายสินค้า
จากนั้นได้เร่งรีบเสนอโครงการจัดซื้อถุงมือยางโดยที่ไม่ได้อยู่ในแผนการดำเนินการจัดชื้อจัดจัดจ้าง ไม่เผยแพร่ในเว็บไซต์ขององค์การคลังสินค้า ไม่ติดประกาศในที่เปิดเผย ไม่มีราคาอ้างอิง โดยใช้ข้ออ้างว่ามีลูกค้ารองรับซื้อต่อล่วงหน้าแล้วเพื่อมุ่งหมายและมีวัตถุประสงค์ที่จะเอื้ออำนวย ให้บริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด จำเลยที่ 2
โดยจำเลยที่ 3 เข้าทำสัญญาซื้อขายถุงมือยางกับองค์การคลังสินค้า โดยไม่ต้องแข่งชันราคากับผู้เสนอราคารายอื่นอันเป็นการหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม รวมทั้งเพื่อเป็นข้ออ้างในการถอนเงินขององค์การคลังสินค้าที่ได้ฝากประจำไว้ยังสถาบันการเงินไปจ่ายเป็นเงินล่วงหน้า ประกอบกับไม่ดำเนินการส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดให้ความเห็นชอบ อีกทั้งยังได้อนุมัติให้ทำสัญญาและอนุมัติให้จ่ายเงินโดยไม่มีอำนาจ อันเป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้เงินจากองค์การคลังสินค้าไป เพื่อประโยชน์แก่บริษัท การ์เดียนโกลฟส์ จำกัด จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การคลังสินค้า และราชการอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้องค์การคลังสินค้า ได้รับความเสียหาย เป็นเงินจำนวน 2,000,000,000 บาท และดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ถอน เงินฝากจากบัญช็องค์การคลังสินค้าก่อนกำหนดเพื่อนำมาจ่ายเป็นเงินล่วงหน้า จำนวน 3,770,499,980 บาท รวมเป็นเงินที่ได้รับความเสียหาย 2,003,770,491.80 บาท
การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 มาตรา 8 และมาตรา 11 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 4 มาตรา 11 และมาตรา 12 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86 โดยจำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดให้การปฏิเสธ และศาลพิพากษายกฟ้อง
ต่อมาอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 มีความเห็นแย้ง โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า สัญญาที่ PWO No .00003/20220 ลงวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563 ได้พิมพ์ข้อความว่า PURCHASE CONTRACT ซึ่งแปลว่า "สัญญาซื้อ" นอกจากนี้ยังกำหนดรายละเอียดในสัญญา ประกอบด้วย ข้อ 1. ผลิตภัณฑ์และคุณภาพ ข้อ 2. ปริมาณ ข้อ 3. ราคา ข้อ 4. มูลค่ารวม ข้อ 5. การขนส่ง ข้อ 6. วิธีการชำระเงิน ข้อ 7. หน้าที่ ข้อ 8. การรับประกัน ข้อ 9. ใบอนุญาต ภาษีและอากร และค่าภาระใช้ท่าเรือ ข้อ 10. อนุญาโตตุลาการ ข้อ 11. เงื่อนไขเพิ่มเติม ข้อ 12. ข้อกำหนดเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดครบถ้วนเป็นสัญญาซื้อขายแล้ว ได้ความว่า จำเลยที่ 15 ประกอบอาชีพค้าขายโค กระบือ ไม่เคยทำธุรกรรมโอนเงินระหว่างประเทศ พูด เขียน อ่านภาษาอังกฤษไม่ได้
แต่จำเลยที่ 15 อ้างว่าในการเป็นตัวแทนซื้อขายถุงมือยางของบริษัท KRENEK LAW OFFICES, PLLC ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในมลรัฐเท็กชัส สหรัฐอเมริกา มีนายเมธา ชักเช็ด เป็นผู้ประสานงานให้ ซึ่งนายเมธาอ้างว่าได้ติดสื่อสารกับบริษัท KRENEK LAW OFFICES, PLLC ทางอีเมลแต่จากถ้อยคำของนายจิรกานต์ เพชรชาติ ผู้อำนวยการสำนักนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 2 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้ถ้อยคำว่าได้ตรวจสอบข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยการสอบถามข้อมูลไปยังสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองลอสแอนเจลิส ซึ่งมีเขตรับผิดชอบในมลรัฐเท็กชัส แคลิฟอร์เนีย มลรัฐเนวาด้า มลรัฐแอริโซน่า มลรัฐโอเรกอน มลรัฐไอดาโฮ เป็นต้น ตั้งแต่ 2563 จนถึงปัจจุบัน ไม่ปรากฏว่ามีรายชื่อ KRENEK LAW OFFICES, PLLC เป็นผู้นำเข้าสินค้าถุงมือยางในมลรัฐดังกล่าว
รวมทั้งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส ได้ตรวจสอบข้อมูลของบริษัท KRENEK LAW OFFICES, PLLC ปรากฏว่าบริษัท KRENEK LAW OFFICES, PLLC ไม่มีทั้ง website และ e - mail ติดต่อ เจ้าของกิจการชื่อ Mr. Edddie M. Krenek จดทะเบียนใบอนุญาตประกอบอาชีพทนาย สำหรับ primary location ของบริษัทพบว่าถูกใช้เป็นที่อยู่ในการจดทะเบียนบริษัท KT Captive Insurance Management LLC ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเปิดที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้
ประกอบกับข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 15 อ้างว่าได้ประสานกับบริษัท KRENEK LAW OFFICES, PLLC ในวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563 เพื่อให้จัดทำหนังสือเจตจำนงค์ในการซื้อ (Letter of Intent) จนบริษัท KRENEK LAW OFFICES. PLLC มีหนังสือเจตจำนงค์ในการชื่อ (Letter of Intent) เมื่อวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นระยะเวลากระชั้นชิด แต่ในหนังสือเจตจำนงค์ในการซื้อ (Letter of Intent) ดังกล่าวกลับระบุว่ามีความต้องการถุงมือยางในไตรจำนวนมากถึง 500,000,000 กล่อง ราคากล่องละ 230 บาท เป็นจำนวนเงินสูงถึง 115,000,000,000 บาท อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีการนำเอกสารดังกล่าวใช้ประกอบการทำสัญญา จำเลยที่ 35 ไม่มีเอกสารแต่งตั้งตัวแทนในการซื้อขายถุงมือยาง และไม่มีหนังสือเจตจำนงค์ในการซื้อ (Letter of Intent) ในวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่ลงนามสัญญา
สำหรับนายเมธาและนายศิษฏ์แม้มีชื่อเป็นพยานบุคคลในบัญชีพยานจำเลยที่ 15 ฉบับลงวันที่ 21 มิถุนายน 2567 แต่ไม่เคยมาเบิกความเป็นพยานต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 จึงยากที่จะรับฟังถึงถึงการยู่และความถูกต้องแท้จริงของเอกสารต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 15 โดยทนายความเป็นผู้นำส่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำเบิกความชั้นพิจารณาของจำเลยที่ 15 ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ประกอบบันทึกปากคำของจำเลยที่ 15 ผู้ให้ถ้อยคำในชั้นไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ตามเอกสารของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
ซึ่งจำเลยที่ 15 เริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีนี้ในฐานะผู้ให้ถ้อยคำโดยเวลาผ่านไปแล้วเกือบ 6 เดือน นับแต่วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563 ซึ่งมีการลงนามในสัญญาซื้อขาย (อันนำตัวอย่างมาจากจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นตัวอย่างสัญญาของบริษัท เมดิน่า แอนด์ ชีพพลาย จำกัด ที่จำเลยที่ 7 เป็นกรรมการบริษัท) ระหว่างองค์การคลังสินค้าโดยจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 15 นั้น มีลักษณะเป็นทำนองจำเลยที่ 15 เป็นตัวแทน/นายหน้าของนายเมธายิ่งกว่าจะเป็นตัวแทน/นายหน้าของบริษัท KRENEK LAW OFFICES, PLLC เสียด้วยซ้ำ
ประกอบกับเพิ่งมีการอ้างส่งหนังสือให้ถ้อยคำในฐานะพยานของนายเมธาต่อคณะผู้ไต่สวนเบื้องต้น ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม 2564 แต่ส่งถึงคณะผู้โต่สวนเบื้องต้น (ณ สำนักไต่สวนการทุจริตภาครัฐวิสาหกิจ 1) เมื่อวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2564 ภายหลังจากที่จำเลยที่ 15 โดยทนายความได้นำนายศิษฏ์มาให้ถ้อยคำในวันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม 25664 (สัปดาห์ที่ผ่านมา) เพื่อรับรองหนังสือต่าง ๆ ของบริษัท KRENEK LAW OFFICES, PLLC อาทิ ฉบับลงวันที่ 17 สิงหาคม 2563 1 บลงวันที่ 20 สิงหาคม 2563 (LETTER OF INTENT) ฉบับลงวันที่ 21 สิงหาคม 2563 (LETTER OF INTENT) ฉบับลงวันที่ 24 สิงหาคม 2563 (DECLARATION AND ATTESTATION) ฉบับลงวันที่ 25 สิ่งหาคม 2563 (LETTER OF ATTESTATION) และฉบับลงวันที่ 25 สิงหาคม 2563 (LETTER OF INTENT) รวมทั้งรูปถ่ายที่นายศิษฏ์ไปร่วมพูดคุยกับตัวแทนถุงมือยางยี่ห้อแครนเบอร์รี่ และยี่ห้อ Sky med ซึ่งนายศิษฏ์ไม่ได้เป็นผู้ถ่ายภาพ โดยทนายความของจำเลยที่ 15 นำมาให้นายศิษฏ์ก่อนให้ถ้อยคำ โดยนายเมธาก็ไม่เคยปรากฏตัวทั้งในชั้นไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และชั้นพิจารณาของศาล
การไม่พยายามนำนายเมธามาให้ถ้อยคำพร้อมกับจำเลยที่ 15 5 ต่อคณะผู้ไต่สวนเบื้องต้นก็ดี และ/หรือการไม่พยายายามนำนายเมธามาเบิกความพร้อมกับจำเลยที่ 15 ในชั้นพิจารณาของศาลก็ดีล้วนเป็นข้อพิรธชวนให้เคลือบแคลงระแวงสงสัยในความสุจริตของกระบวนการต่อสู้คดีในลักษณะเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 15 กล่าวอ้างว่าเป็นตัวแทน/นายหน้าของบริษัท KRENEK LAW OFFICES, PLLC ในความเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์กับองค์การคลังสินค้าจึงไม่น่าเชื่อถือ
ในทางตรงกันข้าม ข้อเท็จจริงกลับมีมูลน่าเชื่อว่า จำเลยที่ 15 ได้ร่วมกันมาตั้งแต่ต้นกับจำเลยที่ 14 จำเลยที่ 13 และจำเลยที่ 11 แอบอ้างว่าเป็นตัวแทนของบริษัท KRENEK LAW OFFICES, PLLC ในการซื้อขายถุงมือยางกับองค์การคลังสินค้าเพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่ามีลูกค้ารองรับซื้อต่อล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการถอนเงินขององค์การคลังสินค้าที่ได้ฝากประจำไว้ยังสถาบันการเงินไปจ่ายเป็นเงินล่วงหน้า และเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาขายถุงมือยางกับองค์การคลังสินค้า โดยไม่ต้องแข่งขันราคากับผู้เสนอราคารายอื่น และโดยมีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ได้รับเงินล่วงหน้า 2,000,000,000 บาท จากองค์การคลังสินค้า ซึ่งพฤติการณ์การกระทำต่าง ๆ ได้กระทำอย่างเร่งร้อนรีบด่วนผิดปกติอย่างยิ่งทั้งที่ช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ระหว่างการสรรหาผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้าคนใหม่
อันปรากฏจากคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ของจำเลยที่ 1 เองว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2563เวลาประมาณ 10.00 น. จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 5 ยกร่างสัญญาถุงมือยางตามคำสั่งของจำเลยที่เลยที่ 4 ที่ห้องประชุมชั้น 5 องค์การคลังสินค้า โดยมีจำเลยที่ 6 จำเลยที่ 3 และทีมงานของจำเลยที่ 3 จากจำเลยที่ 2 ร่วมรับฟังการยกร่างด้วย หลังจากยกร่างสัญญาซื้อขายถุงมือยางดังกล่าวกันอย่างเร่งรีบเสร็จสิ้นแล้ว ต่อมาเวลาประมาณ16.30 น. จำเลยที่ 5 แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ขายถุงมือยางจัดส่งหนังสือเสนอราคาซึ่งระบุปริมาณ ราคา และเงื่อนไขในการชำระเงินค่าถุงมือยางมายังองค์การคลังสินค้าว่าต้องวางเงินมัดจำ 2,0000 ล้านบาท แต่ขณะนี้เงินทุนหมุนเวียนขององค์การคลังสินค้ามีไม่เพียงพอ เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบเรื่องแล้วก็รู้สึกกังวลใจเพราะยอดเงินดังกล่าวเป็นจำนวนเงินสูงมาก ประกอบกับในขณะนั้นเงินทุนหมุนเวียนขององค์การคลังสินค้ามีไม่เพียงพอ
ด้วยเหตุจำเลยที่ 1 จึงนำจำเลยที่ 5 ไปพบจำเลยที่ 4 พร้อมนำหนังสือเสนอราคาของจำเลยที่ 2 ไปให้จำเลยที่ 4 ดูด้วย โดยจำเลยที่ 1 แจ้งให้จำเลยที่ 4 ทราบว่าขณะนี้เงินหมุนเวียนในการซื้อสินค้าขององค์การคลังสินค้ามีไม่เพียงพอ ถ้าจะใช้เงินจากบัญชีเงินฝากประจำมาสำรองหมุนเวียนในการจัดชื่อชื่อถุงมือยางมาขาย ก็ต้องรอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาการนำเงินไปลงทุนเสียก่อน ซึ่งเดิมมีกำหนดประชุมในวันพุธที่ 9 กันยายน 2563 อันเป็นช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 พ้นจากตำแหน่งรักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้าเนื่องจากวันอังคารที่ 1 กันยายน 2563 เป็นวันที่จะมีการเสนอชื่อนายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุต ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การคลังสิงสินค้า จำเลยที่ 4 จึงสั่งการให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการอย่างไรเพื่อให้โครงการนี้สำเร็จก่อนจำเลยที่ 1 จะพ้นจากตำแหน่งรักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า หากสิ้นเดือนสิงหาคม 25263 ไม่มีการลงนาม แล้วทำให้โครงการล้มเหลว จะถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่สนองนโยบายของรัฐมนตรีและขัดคำสั่งของจำเลยที่ 4
จากนั้นจำเลยที่ 4 ย้ำว่าจำเลยที่ 4 จัดเตรียมทั้งคนซื้อและคนขายมาให้ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่ควรจะทิ้งโครงการอันดีนี้ ในช่วงนี้จำเลยที่ 5 แจ้งให้จำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 1 ทราบว่าเงิน 3,100 ล้าน ที่ฝากประจำดังกล่าวเป็นเงินที่ต้องเตรียมไว้สำหรับจ่ายค่าปรับปรุงข้าวถุงประมาณ 1,400 ล้าน และขณะนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรับรองงบปี 2562 ขององค์การคลังสินค้าแล้ว ซึ่งในปี 2557 และ 2558 องค์การคลังสินค้ามีผลกำไรในช่วง 2 ปีนั้น หากได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจให้จ่ายเงินโบนัสองค์การคลังสินค้าต้องส่งเงินให้แก่กระทรวงการคลังและจ่ายโบนัสให้พนักงานอีกประมาณ 700 ล้าน รวมทั้งสิ้น2,400 ล้านบาท ซึ่งถ้านำเงินดังกล่าวมาชำระค่าถุงมือยางล่วงหน้าจะทำให้มีเงินเหลือไม่เพียงพออย่างแน่นอน
จำเลยที่ 4 ถามว่าแล้วเงินนี้จะต้องจ่ายเมื่อใด จำเลยที่ 5 ตอบว่ายังไม่มีกำหนดแน่นอน จำเลยที่ 4 พูดว่า "ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าคุณทั้งสองคน (จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5) ไม่เข้าใจธุรกิจ หลักการทำธุรกิจนั้นโดยทั่วไปแล้วหลังจากที่เราเซ็นสัญญากับเราจะต้องไปเซ็นสัญญากับบริษัทที่ซื้อสินค้าจากเราในฐานะที่เราเป็นผู้ชาย โดยในการเซ็นสัญญานี้ เราสามารถเรียกหลักประกันเป็น L/C หรือเงินสดจากผู้ซื้อมายึดถือไว้ก่อน หากถึงกำหนดที่เราต้องชำระเงินดังกล่าวแล้วเงินในบัญชีไม่เพียงพอ เราก็สามารถนำ L/C ไปเรียกเก็บเงินโดยเสียค่าธรรมเนียมและตอนนี้คุณสองคนก็เห็นแล้วใช่ไหมว่ามีคำสั่งซื้อมาแล้ว เดือนหน้าหลังจากมีการกำหนดวันส่งมอบถุงมือยางที่ชัดเจนแล้ว ทุกบริษัทก็พร้อมจะวาง L/C ให้องค์การคลังสินค้า โดยเฉพาะบริษัทของคุณณัฏฐ์ บรรทัดฐาน พร้อมจะวางหลักประกันกันเป็นเงินสด 1,000 ล้านบาท ตอนนี้ก็เห็นแล้วว่ามีคนมาแย่งซื้อถุงมือยางจากเรามากแค่ไหน แบบนี้คิดว่าจะมีปัญหาหรือไม่"
เมื่อจำเลยที่ 4 พูดจบ จำเลยที่ 1 ก็ยังรู้สึกไม่สบายใจจึงบอกจำเลยที่ 4 ว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่รับปากว่าจะทำหรือไม่ เพราะต้องสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการพิจารณาการนำเงินไปลงทุนเสียก่อน หากทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย จำเลยที่ 1 ก็ยินดีสนองนโยบายเพราะถือว่าจะเกิดผลดีต่อองค์การคลังสินค้า แต่ถ้าหากทำไมได้จะกลับมารายงานให้ทราบต่อไป (ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาซื้อขายถุงมือยางระหว่างองค์การคลังสินค้า กับบริษัท ไทย สไมล์ เทรด จำกัด GALORE MANAGEMENT. LLC และ KRENEK LAW OFFICES, PLLC ลงวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563 รวมทั้งกับบริษัท 24 คลีนเอเนอร์จี้ จำกัด และบริษัท ควีน พาวเวอร์ จำกัด ลงวันอังคารที่ 1 กันยายน 2563 ตลอดจนกับบริษัท เคเค.ออยล์แอนด์แก๊ส จำกัด และบริษัท เอ แอเมทิสต์ จำกัด ลงวันพุธที่ 9 กันยายน 2563 ล้วนไม่มีข้อกำหนดเงื่อนไขให้ทั้ง 7 บริษัทนี้ต้องชำระเงินล่วงหน้าเป็นค่าสิ่งของดังเช่นที่องค์การคลังสินค้าต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 2 ภายใน 3 วันนับถัดจากวันลงนามในสัญญาคือวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563 แต่อย่างใด)
โดยพฤติการณ์ความรีบร้อนเร่งด่วนดังกล่าวประจักษ์ใด้จากความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในสัญญาซื้อขายถุงมือยางเลขที่อคส.ถม. 357/2563 ลงวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563 ข้อ 10 (การขอขยายเวลาส่งมอบ) ที่มีข้อความทั้งถุงมือยางในไตรและถุงมือยางลาเท็กซ์ ทั้งที่สัญญาซื้อขายถุงมือยางฉบับนี้เป็นเรื่องสัญญาซื้อขายถุงมือยางไนไตรเพียงอย่างเตียวเท่านั้นดังที่ได้กล่าวถึงพฤติการณ์และการกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดและบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามลำดับเวลามาอย่างละเอียดข้างต้น
ต่อมาภายหลังเกิดเหตุ คณะกรรมการ ป.ป.ช. คงติดตามทรัพย์สินกลับคืนมาได้จากการอายัดรวม 5 รายการ คือ 1.เงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในบัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รวมเป็นเงิน 315,946,014.79 บาท พร้อมดอกเบี้ย 2.เงินของจำเลยที่ 2 ที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดนครปฐม 14,697,500 บาท 3.เงิน 200,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 นำไปวางเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญากับองค์การคลังสินค้าถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคำสั่งอายัดเงิน 200 ล้านบาท ที่จำเลยที่ 3 จ่ายให้แก่บริษัท เมดิน่า แอนด์ ชัพพลาย จำกัด ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคำสั่งอายัดไว้ และ 5.ที่ดินของจำเลยที่ 2 ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 358809 เลขที่ดิน 8 หน้าสำรวจ 183515 ตำบลท่าโรงช้าง อำเภอทุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื้อที่ 33 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง
เมื่อหักลบกลบกันแล้วพบว่าจำนวนเงินขององค์การคลังสินค้ายังคงหายไปกว่า 1,000 ล้านบาท อันยังมิอาจติดตามนำมาคืนได้โดยจำเลยที 1 จำเลยที 2 โดยจำเลยทำเลยที่ จำเลยที่ 4 ถึงจำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 15 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญอันทำให้เกิดความเสียหายแก่องค์การคลังสินค้าดังที่กล่าวมาในตอนต้น ส่วนจำเลยที่เหลือนอกจากนั้นก็มีบทบาทเกี่ยวข้องกับความเสียหายดังกล่าวขององค์การคลังสินค้าเช่นกันลดหลั่นมากน้อยไปตามความเสียหายและ/หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิดของจำเลยผู้เกี่ยวข้องซึ่งจำเลยแต่ละคนจะต้องมีความรับผิดและ/หรือโทษในทางอาญาหนักเบามากน้อยเพียงใดและ/หรือแม้แต่การรอลงโทษหรือไม่ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งหรือขันตอนตอนต่อไปซึ่งต้องพิจารณาตามสัดส่วนแห่งความผิด (The principle of proportionality in criminal law)
ทว่าศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ในคดีนี้หาควรพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมดทุกคนคือจำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดอย่างสิ้นเชิงในเมื่อเป็นความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งเกิดจากพฤติการณ์กระทำที่ไม่สุจริตอันถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดโดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพ.ศ. 2559 ในการจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแล้ว ด้วยเหตุผลทั้งหมดดังประมวลมา ข้าพเจ้าจึงมิอาจเห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ที่ยกฟ้องคดีนี้
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1
วันที่ 20 พฤษภาคม 2568