อึ้ง! ทหารไม่รู้ตัว ทำผิด ป.ป.ช.-ป.ป.ท. ขาด คุณธรรม-ธรรมาภิบาล

อึ้ง! ทหารไม่รู้ตัว ทำผิด ป.ป.ช.-ป.ป.ท. ขาด คุณธรรม-ธรรมาภิบาล

ทหารไม่รู้ตัว ทำผิดกฎหมาย ป.ป.ช.-ป.ป.ท. "พล.อ.ณัฐพล" ฝากสอดแทรกคุณธรรม-ธรรมาภิบาล รับ ลดกำลังพล ยาขมคนในกองทัพ ค้าน "บิ๊กทิน" อัดโปร พลทหาร-เบี้ยบำรุงเกียรติทหารผ่านศึก ภาระงบประมาณ

วันที่ 12 มี.ค. 2567 เวลา 09.00 น. ที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก พล.อ. ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการ รมว.กลาโหม บรรยายพิเศษ "สถานการณ์ความมั่นคงในปัจจุบันและนโยบายรัฐบาลในการปรับปรุงกองทัพ" ใน
การประชุมเชิงวิชาการเพื่อร่วมกำหนดอนาคตกองทัพบกในปี 2580  (RTA 5.0 Conference)
โดยมี พลเอกเจริญชัย หินเธาว์ผู้บัญชาการทหารบก ) พร้อมด้วยผู้บังคับหน่วยระดับกองร้อยขึ้นไปทั่วประเทศเข้าร่วม

พล.อ. ณัฐพล กล่าวตอนหนึ่งว่า  ขอชื่นชมกองทัพบกที่จัดการประชุมในครั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้กำลังพล ที่เป็นกำลังสำคัญของกองทัพ มารับทราบนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลในห้วงเวลาที่ผ่านมาเพื่อให้ไปกำหนดแนวทางของกองทัพบกในอนาคตข้างหน้า ซึ่งเชื่อว่ามีกำลังพลที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ขอให้เปิดกว้างฟังด้วยความเข้าใจ 

รัฐบาลชุดปัจจุบันมีนโยบายให้การปรับโครงสร้างของหน่วยงานความมั่นคงให้มีความทันสมัยและสามารถตอบสนองไปคุกคามและความมั่นคงในรูปแบบใหม่ และร่วมการพัฒนากองทัพให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของประเทศพร้อมประชาชนโดยการเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจปรับปรุงการฝึกนักศึกษาวิชาทหารให้เปลี่ยนแปลงแบบสร้างสรรค์รถกำลังพลนายทหารสัญญาบัตรระดับสูงซึ่งถือเป็นยาขม

" รมว.กลาโหม บอกว่า ฝากให้พี่เล็กดูแลเป็นทหารเก่าน่าจะเข้าใจขอให้พูดคุยกันเอง"

ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เป็นประสบการณ์สมัยที่ตนอยู่ในกองทัพบก ไม่รู้ว่าเป็นปัญหาจริงหรือไม่ บางครั้งพวกเราทำโดยที่ไม่รู้ว่าผิดคุณธรรม ข้อกำหนดองค์กรคุณธรรมของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)จึงอยากฝากไว้อาจจะต้องมีการสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและธรรมาภิบาล เพื่อให้กำลังพลในกองทัพ ได้รับรู้ว่าบางอย่างทำไม่ได้

ส่วนเรื่องการปรับปรุงรูปแบบการตรวจเลือกทหารกองประจำการเป็นแบบสมัครใจ โดยปีที่แล้วมียอดความต้องการเกณฑ์ทหาร 93,000คน สมัครใจประมาณ 40,000 คน เป้าหมายยังไกลมาก จึงได้หารือกับ ผบ.ทบ. ให้มาคิดใหม่ด้วยการลดจำนวนความต้องการตามสถานการณ์ ได้ตั้งเอาไว้ เช่น 120,000 คน คือ 100% ถ้า 83,000 บาท 70%

ความต้องการทหารกองประจำการปีนี้ กำหนดไว้ที่ 83,000 คน  คือลดจำนวนลงมา ทำให้เป้าหมายคนสมัครใจเต็มระบบอยู่ ไม่ใกล้ไม่ไกล แต่เป็นการลดแบบมีเหตุผล พิจราณาสถานการณ์ หากมีความเสี่ยงรุนแรงที่จะต้องใช้กำลังในการทำการรบการสงครามเราก็ต้องกลับไปตัวเลข 120,000 คน คือ 100% ถ้าสถานการณ์ที่ยังมีโอกาสเกิดความรุนแรง เราก็จะใช้ 96,000 คน คือ 90% แต่สถานการณ์ปัจจุบันมีแนวโน้ม ไม่น่าจะใช้กำลังรบ จะมาเป็นตัวเลข 83,000 คน คือ 70% 

"เป็นตัวเลขที่รู้สึกสบายใจ ซึ่งเป้าหมายก็ใกล้ที่จะถึง จึงเป็นที่มาความต้องการพลทหารซึ่งในอนาคตหากสถานการณ์ มีความเสี่ยงขึ้นก็จะยกระดับไปที่ 96,000 หรือ 120,000  ไม่ต้องกังวลว่ากระทรวงกลาโหมลดแล้ว ต่อไปจะทำอย่างไรเราจะลดเป็นระดับเพื่อให้สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน ทางด้านความมั่นคงการเมืองเศรษฐกิจสังคม" พล.อ.ณัฐพล กล่าวและว่า 

เรื่องการสร้างแรงจูงใจให้สมัครใจเป็นทหารกองประจำการ ตนได้ท้วงติง รมว.กลาโหม เรื่องค่าประกอบเลี้ยงของทหารเกณฑ์ ที่จะให้ไปของบกลางมาใส่เพิ่มเติมในปีนี้ ปัจจุบันมีพลทหารทั้งหมด 140,000 นาย ค่าประกอบเลี้ยงหักจากเงินเดือน ประมาณเดือนละ 2,200 บาท ต้องใช้งบประมาณ 3,700 ล้านบาท หากทำเช่นนี้ เราตะตอบกระทรวงการคลังยากว่า ในส่วนเงินเดือนพลทหารเอาไปทำอะไร เมื่อตอบไม่ได้ จะเกิดปัญหา นอกจากนี้จะเป็นภาระงบประมาณกองทัพในปีต่อไป

"ปีนี้รัฐบาลบอกจะให้ก่อนคือใช้งบกลาง 3,700 ล้านบาท แต่ปีหน้าต้องตั้งงบเอง และเราจะเจอภาระด้านงบประมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ข้อยุติ และขอพูดตรงๆว่าผมไม่เห็นด้วย หากไม่ได้ อยากให้กำลังพลเข้าใจ"


อีกประเด็นคือเบี้ยบำรุงเกียรติทหารผ่านศึก 3,000 บาท ตนเห็นกำลังแย้งรมว.กลาโหม เพราะทหารผ่านศึกมีประมาณ 700,000 นายต้องใช้งบประมาณ 22,000 ล้านต่อปี ซึ่งบอกตนท่านไปว่าทำไม่ได้ เพราะปัจจุบันงบขององค์การทหารผ่านศึกปีละ 2,300 ล้าน ขอถามว่าการเพิ่มเบี้ยบำรุงเกียรติทหารผ่านศึก 3,000 บาททำได้หรือไม่

"วันนี้ครบ 6 เดือนที่ทำงานกับรมว.กลาโหม มีเรื่องเพียง 2 เรื่องคือค่าประกอบเลี้ยง พลทหารและเรื่องเงินบำรุงเกียรติทหารผ่านศึก หากไม่ได้ก็มาต่อว่าตนได้เลย ทั้งหมดนี้คือข้อเท็จจริง ที่ต้องชี้ให้เห็น


ส่วนอีกประเด็นเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพถือเป็นยาขมของแท้ ขอให้เห็นใจผบ. ทบ.ที่ต้องขยับในเรื่องนี้ ท่านไม่ได้ริเริ่มแต่เป็นนโยบายจากรัฐบาลและรมว.กลาโหม โดยมีตนเป็นผู้กำกับดูแล 

"ขอให้รับทราบตราบใดที่เรายังใส่เครื่องแบบทหาร จะไม่มีคนมาพูดเรื่องนี้ แต่เมื่อเกษียณฯไปแล้วจะรู้ แต่เมื่อแต่งเครื่องแบบก็มีคนเกรงใจไม่กล้าพูดกลัวเราจะโกรธ แต่ยืนยันเป็นสิ่งที่ต้องทำ"