ปัญหาและทางออกของประเทศไทย | วิทยากร เชียงกูล

ปัญหาและทางออกของประเทศไทย | วิทยากร เชียงกูล

"ปัญหาการเมือง" พรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีโอกาสได้รับเลือกตั้งเข้าไปมาก ส่วนใหญ่คืออพรรคตัวแทนของเจ้าที่ดิน นายทุนนักธุรกิจ นายธนาคาร มีฐานเสียงจากการใช้ระบบอุปถัมภ์ นโยบายประชานิยม,อำนาจบารมีและปัจจัยต่างๆ ทำให้ร่วมมือกันตั้งรัฐบาลผสม

รัฐบาลผสมที่มุ่งหาอำนาจและเพื่อประโยชน์ต่อธุรกิจของ ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ใช้นโยบายประชานิยมเพื่อหาเสียงและกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต (ที่พวกเขาจะได้ประโยชน์ด้วย)

แต่ไม่คิดจะปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งระบบ พวกเขาเป็นพวกจารีตนิยมเป็นหลัก เสรีนิยมทางเศรษฐกิจบ้าง แต่ไม่ได้เสรีนิยมทางการเมืองและสังคม

พรรคก้าวไกลอาจจะเป็นตัวแทนของนายทุนใหม่ ชนชั้นกลาง และคนหนุ่มสาว ที่มีนโยบายเสรีนิยมที่มุ่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมให้ประชาชนมากหน่อย แต่พวกเขาก็ยังเป็นกลุ่มคนชั้นกลางที่เสนอนโยบาย/การแก้ไขปัญหาสังคมเป็นเรื่องๆ ภายใต้ระบบทุนนิยมมากกว่าคิดปฏิรูปทั้งระบบ บางเรื่องค่อนข้างก้าวหน้า

คืออยากปฏิรูปการเมืองและระบบอำนาจแบบเก่า ให้ประชาชนได้ประโยชน์  แม้จะใช้ภาษาแบบพวกหัวรุนแรง แต่ความคิดทางเศรษฐกิจไม่ใช่พวกสังคมนิยม อาจพอจัดว่าเป็นพวกขวากลาง(ปฏิรูปทุนนิยมให้ทันสมัย)ได้ ขณะที่พรรคอื่นๆล้วนเป็นขวาคือจารีตนิยมมากกว่า

แต่พรรคก้าวไกลมีจุดอ่อนเรื่องคนระดับนำชอบพูดจา/เสนอนโยบายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงบางเรื่อง ล้ำหน้ามวลชน บ่อยครั้งด้วยท่าทีที่เชื่อมั่นใจตนเองหรือก้าวร้าว โผงผาง เหมือนวัยรุ่นเอาแต่ใจตัวเอง.ดูไม่ค่อยมีวุฒิภาวะ หรือไม่น่าเชื่อถือ ไม่สามารถประทับใจคนส่วนใหญ่ได้ ทำให้พวกจารีตนิยมหวาดกลัวเกินความจริงด้วย

ปัญหาและทางออกของประเทศไทย | วิทยากร เชียงกูล

ก้าวไกลได้ผู้สนับสนุนเฉพาะคนที่ชอบแนวคิด การแสดงออกแบบนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่ง แต่มองทั้งประเทศแล้วยังสร้างพันธมิตรหรือแนวร่วมจากประชาชนได้ไม่มาก

การเลือกตั้ง ส.ส.คราวที่แล้ว แม้ก้าวไกลจะได้ ส.ส.มากที่สุด แต่คะแนนเสียงรวมแล้วคิดเป็นราวสามสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ของคะแนนของคนใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศเท่านั้น

ความขัดแย้งแบบขาวดำ 2 ขั้วสุดโต่งระหว่างพวกจารีตนิยมและพวกหัวรุนแรง ทำให้การเมืองไทยพัฒนาโดยการเจรจาตกลงกันแบบออมชอม หรือหาแนวทางสายกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ยาก  แต่แนวทางสายกลางที่ปฏิรูปเป็นทางออกที่ดีกว่า พวก๒ขั้วสุดโต่งต่างไม่มีใครเอาชนะกันได้ และถึงใครชนะแบบชั่วคราวก็ไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ทั้งคู่

        ดังนั้น คนที่มีวุฒิภาวะ มองการ์ณไกลแบบรอบด้าน ต้องช่วยกันอธิบายเรียกร้อง ให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่าประชาชนทั้งหมดคือเพื่อนร่วมชาติ อยู่ในสังคมเดียวกันแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน  ต้องร่วมมือพัฒนาประเทศไปด้วยกัน 

ทุกฝ่ายควรพยายามใจกว้าง อดกลั้น คุยกันด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริง มากกว่าใช้ศัรทธา ความเชื่ออารมณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป

ปัญหาและทางออกของประเทศไทย | วิทยากร เชียงกูล

        หัดมองประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาเศรษฐกิจสังคมและแก้ปัญหาได้ดีกว่าไทยนั้น เพราะเขาเน้นเรื่องการปฏิรูป/พัฒนาเศรษฐกิจสังคมในแนวเสรีประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า

กระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษาที่มีคุณภาพ การงานทำ การบริการทางสาธารณสุขและบริการทางสังคมอื่นๆ สู่ประชาชนอย่างทั่วถึง เป็นธรรม   และการปฏิรูปการศึกษาให้ประชาชนฉลาด มีประสิทธิภาพ ปฏิรูปประชาธิปไตยทางการเมือง(และเศรษฐกิจสังคมด้วย) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

ไม่เกี่ยวกับการโต้แย้งกันในเรื่องฝ่ายหนึ่งอยากแก้ไข ฝ่ายหนึ่งอยากปกป้อง ไม่ให้แก้ไขมาตรา ๑๑๒ แต่อย่างใด  หมายถึงในประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ราว ๓๐ประเทศ แต่ประเทศที่เป็นสาธารณรัฐแล้วกว่าร้อยประเทศ หลายประเทศเช่นสหรัฐ ยุโรปส่วนใหญ่ เขาก็พัฒนาประเทศของเขาไปได้ดี โดยไม่เกี่ยวกับเรืองนี้ด้วยเช่นกัน

ประเด็นที่ควรจะคุย ศึกษาต่อ คือประชาชนจะปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปความคิดอ่าน การจัดตั้งองค์กรของประชาชนให้ประชาชนฉลาด รวมกลุ่ม มีอำนาจต่อรองได้เข้มแข็งเพิ่มขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้ประชาชนทุกคนทุกกลุ่มต้องช่วยกันทำ การพัฒนาพรรคการเมืองเป็นส่วนหนึ่ง แต่ไม่ต้องรอหรือหวังพึ่งแต่พรรคการเมืองเสมอไป  องค์กรประชาชนต้องพัฒนาตัวเองคู่ขนานกันไป

เป้าหมายคือ สร้างสังคมประชาธิปไตยทั้งทางการเมืองเศราฐกิจสังคม)แบบกระจายอำนาจแนวราบ ประชาชนจัดการตนเองได้เพิ่มขึ้น แนวทางคือ เผยแพร่ความรู้ที่ก้าวหน้าและมีเหตุผล จัดตั้งองค์กรประชาชน ปฏิรูประบบโครงสร้างทาการเมืองและเศรษฐกิจสังคม

ปัญหาและทางออกของประเทศไทย | วิทยากร เชียงกูล

2.ปัญหาเศรษฐกิจสังคม

ปัญหาการพัฒนาแนวทุนนิยมสุดโต่ง นำไปสู่การผูกขาด(หรือค่อนข้างผูกขาด)เรื่องปัจจัยการผลิต ทุนทรัพย์ ความรู้ โดยชนนายทุนกลุ่มน้อย และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

ทำให้เกิดปัญหาการกระจายทรัพย์สิน รายได้ การศึกษา โอกาสในการหางานที่เหมาะสมทำ บริการทางสาธารณสุขและอื่นๆ ที่ไม่ทั่วถึง ไม่เป็นธรรม สร้างความไม่สมดุล ความขัดแย้ง เศรษฐกิจไม่อาจจะเติบโตจากการพัฒนาคนและตลาดภายในประเทศ 

เพราะประชาชนมีรายได้ต่ำ ขาดอำนาจซื้อ  ผลิตภาพการทำงานยังค่อนข้างต่ำ การไปเน้นการพึ่งพาการลงทุนและการค้าต่างประเทศ นั้นเติบโตบางส่วนได้ในช่วงสั้นๆ แต่ไม่สมดุล และมีความเสี่ยงสูง ทั้งถูกต่างประเทศได้เปรียบ ทำให้ความมั่งคั่งที่จะจัดสรรแบ่งปันกันภายในประเทศเหลือน้อยลง 

ควรพัฒนาเศรษฐกิจแบบผสม ในแนวทุนนิยมที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรม ส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดย่อม คนงาน เกษตรกร เข้มแข็ง มีอำนาจต่อรอง ได้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมขึ้น กับการให้บริการทางสังคมและสวัสดิการโดยรัฐและองค์กรประชาชน ที่มีประสิทธิภาพ อย่างทั่วถึงเป็นธรรม

        การพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพในการผลิตของประชาชน กระจายรายทรัพย์สินและรายได้สู่คนทั้งประเทศ ๖๗ ล้านคน (ใหญ่ราวอันดับที่ ๒๒ ของโลก พอๆกับอังกฤษและฝรั่งเศส) จะทำให้คนไทยผลิตได้มากขึ้น มีรายได้และอำนาจซื้อมากขึ้น เศรษฐกิจจะโตจากทรัพยากรและตลาดภายในประเทศได้มากขึ้น  ลดการพึ่งพาต่างชาติลงได้ คนไทยส่วนใหญ่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ปัญหาและทางออกของประเทศไทย | วิทยากร เชียงกูล

     เน้นการพัฒนาแนวอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติ สภาพแวดล้อม เช่นเกษตรอินทรีย์ เกษตรทางเลือก พลังงานทางเลือกฯลฯ เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม   เพิ่มการจ้างงานในท้องถิ่น การแบ่งปันที่เป็นธรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

   การปฏิรูปการคลังและระบบภาษีอากร  เก็บจากคนรวยในอัตราสูงขึ้น เพื่อมาช่วยพัฒนาประชาชนทั้งประเทศ รวมทั้งรัฐสวัสดิการ  คือนโยบายที่ฉลาด มองการณ์ไกลเ พื่อประโยชน์สำหรับประชาชนทุกคน รวมทั้งคนรวยและลูกหลานของพวกเขา 

เมื่อประชาชนมีรายได้ มีอำนาจซื้อมากขึ้นนายทุนนักธุรกิจก็จะขายของได้มากขึ้น  ตัวเขาและลูกหลานก็จะได้อยู่ในสังคมที่มีความรักความเมตตา ความสามัคคีมากขึ้น ขัดแย้งกันลดลง อาชญากรรม ปัญหาสังคมต่างๆก็จะลดลง รวมทั้งเมื่อเน้นการพัฒนาในแนวอนุรักษ์/ฟื้นฟูธรรมชาติ ก็จะเป็นเป็นสังคมที่มีธรรมชาติสภาพแวดล้มที่ดีขึ้นด้วย

ประเด็นที่ควรจะอภิปราย ค้นคว้าต่อคือ ประชาชนจะหาทางผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจ และปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปทางสังคม เพื่อกระจายสิทธิเสรีภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจสังคมต่างๆ ให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึงเป็นธรรมได้มากขึ้นอย่างได้ผลจริง และอย่างครอบคลุม ไม่ใช่แค่ประชานิยมเป็นส่วนๆ ได้อย่างไร

เป้าหมายคือ การปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมแนวเสรีนิยมที่ก้าวหน้า สร้างระบบเศรษฐกิจผสมที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพและยั่งยืน (Green Left) ศึกษาจากโมเดลของประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฯลฯ

แนวทางคือ เผยแพร่ความรู้ ความคิดอ่าน จิตสำนึกเพื่อสังคม และการจัดตั้งองค์กรประชาชน