"นักกฎหมาย" เชื่อ "พิธา" ดีลตั้งรัฐบาลล่ม สุดท้าย ตาอยู่คว้าพุงปลากิน

"นักกฎหมาย" เชื่อ "พิธา" ดีลตั้งรัฐบาลล่ม สุดท้าย ตาอยู่คว้าพุงปลากิน

"นักกฎหมาย" เชื่อ พิธา ดีลตั้งรัฐบาลล่ม ชี้ พิมพ์เขียวแก้ไข ม. 112 ฉบับก้าวไกล ลดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ จุดเริ่มต้นล้มล้างการปกครอง

วันที่ 22 พฤษภาคม 2566 จากกรณีครบรอบการรัฐประหาร 9 ปี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ขณะเดียวกันอีกฟากฝั่งหนึ่ง ฟอร์มจัดตั้งรัฐบาลใหม่ นำโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและพรรคการเมืองอื่นๆรวม 8 พรรค จำนวน 313 เสียง นัดหมายกันทำ MOU ที่โรงแรมคอนราด กรุงเทพมหานคร ในเวลาเดียวกันกันที่ คสช.ทำรัฐประหาร ประเด็นการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกระแสร้อนแรง จะเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่นั้น

ล่าสุด นายณัฐวุฒิ วงศ์เนียม มือกฎหมายมหาชน ระบุว่า ในโอกาสครบรอบการรัฐประหารครบรอบ 9 ปี บริบททางการเมืองของไทย ล้มลุกคลุกคลานนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทย เป็นประชาธิปไตยเฉพาะแต่ในเนื้อหา อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แต่สภาพสังคมไทยยอมรับสภาพ ต่อบริบทการเมืองการปกครองในเหตุการณ์เฉพาะหน้าขณะนั้น จะเห็นได้จาก การลงประชามติรัฐธรรมนูญ 2550 และรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นประชาธิปไตยโดยตรง ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการออกแบบรัฐธรรมนูญจากคณะรัฐประหาร แต่งตั้งร่างขึ้น เป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆไม่มีที่ไหนในโลกนี้ ก็แปลกดี 

ตนต้องขอแสดงความยินดีกับพรรคก้าวไกลที่ชนะเลือกตั้ง ครองที่นั่งในสภาเสียงข้างมากถึง 152 เสียง คว้าที่นั่ง อันดับ 1 ที่ประชาชนเทคะแนนให้ แต่จะจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง ถือเป็นคนละเรื่องกัน เพราะตัวแปร ยังมีหลายด่าน หลายขั้นตอน อย่าเพิ่งดีใจผลการออกแบบรัฐธรรมนูญ จะชี้ให้เห็นถึง 3 ข้อ 

 ปัญหาข้อกฎหมาย  มาตรา 272 ตัวแปร คือ สว.250 เสียง มีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะก้าวไกล เพื่อไทย ชนะเสียงไม่ขาด ครั้นจะไปจับขั้วกับพรรคภูมิไทย 70 เสียง  แต่คนละขั้ว คนละอุดมการณ์ เพราะกัญชา เป็นตัวแปร จำเป็นต้องไปรวบรวมเสียงจากสมาชิกวุฒิสภา แต่ไร้หลักประกัน

ปัญหาส่วนตัวเรื่องคุณสมบัติฯของนายพิธาฯ การถือครองหุ้นสื่อ บมจ.ไอทีวี จำกัด และ ปัญหาการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กระทบต่อความรู้สึกประชาชนทั้งประเทศเพราะกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยจะเห็นได้จาก อาการฝ่อของ สว.ที่อยากจะยกมือสนับสนุนให้ นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มออกมา ต่อต้านการแก้ไข มาตรา 112 กระแสลุกลามทำให้พลิกขั้ว ทำให้นายพิธาไปไม่ถึงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ 

เมื่อถามว่า ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า ล็อคด้วยข้อกฎหมาย ตัวแปร คือ สว. คืออะไร 
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า การรวบรวม ส.ส.ของการฟอร์มทีมรัฐบาล นายพิธา จะเจอปัญหาบังคับโดยข้อกฎหมาย จำนวน อีก 60 เสียง หากไปรวบรวมจาก สว.ไม่มีหลักประกัน หากรวบรวมจากส.ส.จะเจอกับปัญหายุ่งเหยิงการต่อรองผลประโยชน์ ทำให้รัฐบาลใหม่ขาดเสถียรภาพ โอกาสจัดตั้งรัฐบาลได้น้อย 

ดังนั้น จะเห็นปรากฎการณ์ ตาอยู่คว้าพุงปลาไปกิน  ม็อบที่จัดตั้ง ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้พรรคการเมืองที่คว้าที่นั่งลำดับหนึ่งเป็นรัฐบาล ให้ประชาชนดูว่า พรรคการเมืองใดรวบรวมเสียงได้ ครบ 376 เสียง ทั้ง ส.ส.และสว.รวมกัน ให้เทียบเคียงฟอร์มทีมรัฐบาล ปี 2562   โดยเฉพาะมาตรา 272 ให้อำนาจ สว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ เสียงที่นั่งที่พรรคก้าวไกลรวบรวมได้เพียง 313 เสียงเป็นเพียงความชอบธรรมที่พรรคการเมืองที่คว้าลำดับอื่นๆ ยินยอมให้จัดตั้งรัฐบาลก่อน แต่ไม่ได้มีกฎหมายใดห้ามให้พรรคการเมืองที่คว้าที่นั่งลำดับรองจับขั้วการเมืองฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาล 

ดังนั้นเร็วเกินไปกว่าจะจัดตั้งรัฐบาลได้เพราะนายพิธา จะเจอปัญหาข้อกฎหมาย ในการรวบรวมเสียงให้ครบ 376 เสียง มีอยู่ 2 ช่องทาง คือ รวบรวมเสียงพรรคที่มีอุดมการณ์ตรงกัน หากดูแล้วเสียงไม่เพียงพอ เพราะภูมิใจไทย พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์และพรรคเล็กอื่นๆ คนละขั้ว คนละอุดมการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะประเด็น ไม่เอามาตรา 112 มาเป็นชนวนสำคัญ

ส่วนอีกช่องทางหนึ่ง นายพิธา จะต้องไปรวบรวมเสียง สว.อีก 60 กว่าเสียง สว.อิสระ แตกแถว ประมาณ 20 กว่าคน รวบรวมอย่างไร ก็ไม่ถึง 376 เสียง ส่วนปม สว.รับกล้วยยกมือโหวตให้แทบจะไม่มีเลย เรียกว่า ไร้หลักประกัน แตกต่างจากพรรคการเมือง เป็นไปตามติพรรค เพราะมาตรา 112  สว.ส่วนใหญ่จะไม่เอาด้วย จะเป็นตัวจุดชนวนสำคัญที่พรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ ที่นัดลงนาม MOU วันนี้ เป็นเพียงชิงจัดตั้งรัฐบาล ให้เทียบดูปี 2562 ไม่ต่างจากพรรคเพื่อไทย เพียงเอาใจมวลชนสนับสนุน สร้างอีเวนต์รายวันเท่านั้น เห็นได้จากโผรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ ปล่อยหลุดโดยเจตนาออกมา ทำให้ประชาชนติดตามข่าวสารตื่นเต้นเท่านั้น 

ส่วนการจัดม็อบปลุกระดมหน้าอาคารรัฐสภา หรือปลุกระดับทางโซเชียล ยิ่งเติมเชื้อไฟ ให้ สว.ย่อมพิจารณาถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ให้เทียบเคียงการเลือกตั้ง ปี 2562 เพื่อไทย คว้าเสียงข้างมาก แต่จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ สุดท้ายหงายไพ่ใบสุดท้าย สนับสนุน นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ขณะนั้น เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นคู่แข่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 

อีกประการหนึ่ง กรณีซุกหุ้นสื่อไว้ มีมือดีแอบส่งข้อมูลให้นายเรืองไกร  เรียกว่า ถูกวางงาน  นายพิธา เจอปัญหาหุ้นสื่อพ่นพิษ มีผลล้มทั้งกระดาน คือ มีผลย้อนหลังถึงวันสมัครครั้งแรกในปี 2562 จะถูกเรียกเงินเดือนและเครื่องราชย์คืน ให้เทียบเคียงกับ นายสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ทำให้นายพิธา ขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 89(2) ประกอบมาตรา 98(3)และมาตรา 160(6) ทำให้ขาดคุณสมบัติเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งเป็นปัญหาความชอบด้วยกฎหมายที่ว่า ลงนามในใบส่ง ผู้สมัคร ส.ส.ทั้งสองระบบ ผลทางกฎหมายอาจเป็นโมฆะ สูญเปล่า ล้มกระดานทั้งหมด 

เมื่อถามว่า ร่างพิมพ์เขียว แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล ผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร 

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า  หากร่างพิมพ์เขียวที่ว่อนเน็ตและแชร์ส่งต่อกันมาเป็นจริง พบว่า มีการแก้ไขเพิ่มเติมจากเดิม การคุ้มครองพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อยู่ในหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หมวด 1 แก้ไขเพิ่มเติมใหม่เป็น ลักษณะ 1/2 ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 

โดยร่างพิมพ์เขียว นำไปบัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 135/5 มาตรา 135/6 โดยแยกมาตราระหว่างพระมหากษัตริย์ โดยกำหนดโทษเบาระวางไม่เกินหนึ่งปีและปรับไม่เกินสามแสนบาท ส่วนพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยกำหนดโทษเบาระวางโทษเพียงหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยเรื่องการพิสูจน์กลับนำข้อความในหมิ่นประมาทของประชาชนนำมาเขียนไว้ในมาตรา 135/7 สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ผู้นั้นไม่มีความผิด โดยเฉพาะมาตรา 135/8 วรรคหนึ่ง หากพิสูจน์ได้ว่า เรื่องจริงไม่ต้องรับโทษ 

ทั้งกำหนดในมาตรา 135/9 วรรคสอง ให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ร้องทุกข์ การเปลี่ยนหมวดและกำหนดโทษใหม่เป็นโทษเบา ทำให้ข้อกฎหมายเปลี่ยนไป ไม่ต่างจากการยกเลิกมาตรา 112 เพระจากความผิดอาญาแผ่นดินมาเป็นความผิดต่อส่วนตัว ถามว่า จะเป็นไปได้อย่างไร รัฐธรรมนูญมาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดไม่ได้ หลักการต้องปกป้องสถาบัน จะลงโทษให้หนักขึ้น

 คือแก้ไขเพิ่มเติมระวางโทษให้หนักขึ้น ปรับให้หนักขึ้น ไม่ใช่ ไปแก้ไขให้โทษเบาลง เพราะมีเพียงกลุ่มเดียวที่ไปกระทำความผิด ดังจะเห็นข้อเทียบเคียง แยกมาตรา พระราชินี องค์รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทน โทษเบาเพียงหกเดือน หากเทียบเคียงประชาชนทั่วไป พสกนิกร ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 ต้องระวางโทษจำคุกหนึ่งปี โดยหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา มาตรา 328 ระวางโทษจำคุกสองปี ส่วนที่นัดทำ MOU เปิดเผยทางสื่อว่าไม่มีการแก้ไข มาตรา 112 เป็นเพียงลับลวงพรางทางการเมือง สับขาหลอก เพราะแนวคิดแก้ไขยังมีอยู่

ร่างพิมพ์เขียวก้าวไกล หากร่างเป็นฉบับจริง จะเป็นการลดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ เป็นจุดเริ่มต้นล้มล้างการปกครองหรือไม่ อย่างไร จะเป็นชนวนสำคัญเงื่อนไขกฎหมายพรรคการเมืองในร้องยุบพรรคก้าวไกล ให้พี่น้องประชาชนไปหาอ่านร่างพิมพ์เขียวแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายมาตรา 112 ฉบับก้าวไกล กลไกลในการจัดตั้งรัฐบาล รวบรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลผสมเป็นความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาลสามารถกระทำได้ แต่การมีเจตจำนงไปแก้ไขมาตรา 112 เชื่อว่าพสกนิกรประชาชนคนไทยส่วนใหญ่และพลังเงียบที่ไม่ได้เลือกพรรคก้าวไกล เสียงย่อมมีมากกว่า คงไม่ยินยอม เพราะสถาบันกษัตริย์อยู่คู่กับสยามประเทศช้านาน ใครคิดไม่ดีกับประเทศย่อมมีอันเป็นไปทุกราย พระสยามเทวาธิราชมีจริง