การเมือง “2 ขั้ว” ปิดประตู “2 ป.”

การเมือง “2 ขั้ว” ปิดประตู “2 ป.”

โพลของแต่ละสำนัก ที่ออกมาตอนนี้ มีผลในทิศทางเดียวกันคือ "ขั้วประชาธิปไตย" มีคะแนนนะ "ขั้วสืบทอดอำนาจ" กลายเป็นเรื่องน่าวิตก หาก "2ป." ยังอยากต่อท่ออำนาจ เพื่อไม่ให้ถูกเช็คบิล

หลังจากผลสำรวจของหลาย “สำนักโพล” ต่อคะแนนนิยมของ “ผู้สมัคร ส.ส.-พรรคการเมือง-แคนดิเดตนายกฯ” ในศึกเลือกตั้ง 66 ออกมาในช่วง 25 วัน ก่อนการหย่อนบัตร เสมือนว่าสมรภูมิเลือกตั้งรอบนี้ มีผู้เล่นหลัก อยู่แค่ 3 พรรค 4 แคนดิเดตนายกฯ คือ พรรคเพื่อไทย แพทองธาร ชินวัตร และเศรษฐา ทวีสิน พรรคก้าวไกล พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรครวมไทยสร้างชาติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆ แทบกลายเป็นตัวประกอบ ไม่ติด Top 3 ทั้ง พรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พรรคภูมิใจไทย อนุทิน ชาญวีรกูล พรรคประชาธิปัตย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์

 

สะท้อนให้เห็นว่า พรรคที่เป็นฝั่งประชาธิปไตย มีสัดส่วนความนิยมที่สูงกว่าขั้วอำนาจเก่า ที่ถูกเรียกว่า “ฝ่ายสืบทอดอำนาจ” ซึ่ง “ภูมิธรรม เวชยชัย” แกนนำพรรคเพื่อไทย ยิ้มรับกับผลสำรวจที่เกิดขึ้น

 

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ก้าวไกล” คือ คู่แข่งที่น่ากลัว ทั้งในมุมของการสร้างกระแสพรรค และตัวผู้สมัคร ส.ส. ในพื้นที่เขตหัวเมือง

การเมือง “2 ขั้ว” ปิดประตู “2 ป.”

ดังนั้นความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่กองอำนวยการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยต้องทำหลังจากนี้ คือการตอกย้ำกระแสเพื่อไทยแลนด์สไลด์ให้เข้มแข็งในทุกภูมิภาค

 

ในมุมของผลสำรวจว่าฝ่ายใดจะชนะเลือกตั้ง ที่ผลโพลย้ำให้เห็นว่าฝั่งที่เรียกตัวเองว่า “ฝั่งประชาธิปไตย” มีความได้เปรียบ สะท้อนให้เห็นความถดถอยของ “ฝ่ายสืบทอดอำนาจ” และอาจเป็นเวลาที่ “3 ป.” ควรหาทางลงจากหลังเสืออย่างไร โดยไม่ถูกเช็กบิล

ทว่าในมุมวิเคราะห์ของนักวิชาการ “อ.สติธร ธนานิธิโชติ" ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตยสถาบันพระปกเกล้า มองว่า ยังเร็วไปที่ 3 ป. จะถอดใจอำนาจ แค่ผลโพลก่อนวันเลือกตั้ง เพราะผลโพลที่ออกจากนั้น ไม่ได้แปลว่าฝั่ง 3 ป.จะไม่มีที่ยืน เพราะบางพื้นที่ “พรรคของ 3 ป.”ยังชนะขาด

สำหรับผลโพลที่ออกมากแน่นอนว่าคือ สะท้อนการเมืองที่ถูกแบ่งเป็น 2 ขั้วชัดเจน “อ.สติธร” ขยายความไว้ด้วยว่า หากประเมินขั้วประชาธิปไตย มีเปอร์เซ็นต์อยู่ที่ 60% ขณะที่อีกฝั่งมี 40% ดังนั้นหากแปรเป็นตัวเลข ส.ส. ยังไม่ทิ้งห่างกัน คิดเป็น 280-290 เสียง ต่อ 220-210 เสียง 

นอกจากนั้น ในขั้ว 3 ป. ยังมี “250 ส.ว.” ในสมการตั้งรัฐบาล ตามกติกาของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ทั้งนี้ในกติกาเลือกนายกฯ ไม่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขด้านเวลา ว่าต้องเลือกนายกฯ ให้ได้ในระยะเวลาเท่านั้น จึงเป็น “โอกาส”ปลายเปิดที่จะทำให้เกิดการต่อรองผสมขั้วการเมืองหลังเลือกตั้ง เพราะคุณธรรมของนักการเมืองหลังเลือกตั้ง เชื่อถือได้น้อย

การเมือง “2 ขั้ว” ปิดประตู “2 ป.”

“ประวัติศาสตร์การเมืองไทยเคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งการเสียสัตย์เพื่อชาติ หรือตั้งรัฐบาลเพื่อชาติ โดย ส.ว.250 คน คือตัวล็อคคนที่จะเป็นนายกฯ ไว้ก่อน เพื่อให้ต่อรองรวมขั้วตั้งรัฐบาล แต่หากจะปิดประตูนักการเมืองไม่ให้ฝืนมติของประชาชนตอนเลือกตั้ง ต้องรวมเสียงข้างมากให้ได้ 350 เสียง ดังนั้นการเลือกตั้งปี 2566 ผมขอนิยามว่า คือการเลือกตั้งที่ไม่แน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่หาก 3 ป.จะไม่รอด ผมยังมองว่ามีแค่ 1 ป.ที่รอด คือ ป.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เพราะพรรคพลังประชารัฐ อยู่ในทุกสมการของสูตรตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง” อ.สติธร วิเคราะห์

แม้ว่า หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย แพทองธาร จะประกาศยี่ห้อ “ชินวัตร” ไม่จับมือกับคนที่มีส่วนร่วมกับการรัฐประหาร ทว่า อ.สติธร ประเมินเป็นแค่กลยุทธ์ ที่จะชิงกระแสจาก “ก้าวไกล” เพราะในหลายพื้นที่ คนเลือกตั้งที่อยู่ในฝั่งประชาธิปไตย ยังลังเลระหว่างจะเลือกพรรคเพื่อไทยหรือพรรคก้าวไกล 

 

การเมือง “2 ขั้ว” ปิดประตู “2 ป.”

ทำให้พรรคเพื่อไทยต้องใช้กลยุทธ์ที่เกาะกระแส แต่ไม่ใช่การปิดประตูไม่จับมือกับพรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประวิตร เพราะในสมการตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยในทุกสูตรจะขาดพรรคพลังประชารัฐไม่ได้ หากต้องการเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลในสมการ 376 เสียง

 

สนามเลือกตั้ง ยังมีเวลาเหลือ 25 วัน ที่ทุกพรรคจะแข่งขันชิงคะแนนเลือกตั้ง ที่จะเป็นฐานสำคัญในการขึ้นสู่บัลลังก์อำนาจ-ผู้นำประเทศ จากผลสำรวจต้องยอมรับ “ฝั่งประชาธิปไตย” มีคะแนนนำ แต่ “ยี่ห้อ 3 ป.-ขั้วรัฐบาลเดิม” คงไม่ยอมให้ตัวเองเสียเปรียบ

การเมือง “2 ขั้ว” ปิดประตู “2 ป.”

ดังนั้นช่วงโค้งสุดท้าย หรือ 3 วันก่อนวันหย่อนบัตร คงจะได้เห็น “กลยุทธ์กระสุนดินดำ-พลังอำนาจที่สะสม” ซึ่งรอจังหวะปล่อย เพื่อเรียกกระแส-เปลี่ยนทิศทาง-พลิกผลโพล

อย่างน้อย ต้องไม่ปล่อยให้ตัวเองแพ้ย่อยยับ และถูกตามเช็กบิลหลังเลือกตั้ง