นิพนธ์ ลุยนราธิวาส เตรียมพื้นที่ทำโครงการโคบาลชายแดนใต้

นิพนธ์ ลุยนราธิวาส เตรียมพื้นที่ทำโครงการโคบาลชายแดนใต้

นิพนธ์ เดินหน้ายุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านอาหาร ลุยโครงการโคบาลชายแดนใต้ ลงพื้นที่ดูการเตรียมความพร้อมในพื้นที่ นราธิวาส

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2566 นายนิพนธ์ บุญญามณี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ติดตามการเลี้ยงโคพันธุ์ โคทาจิมะ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นราธิวาส โดยมีนายจักรพงษ์ ขานโบ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นราธิวาส พร้อมด้วย นายสมพงษ์ เพ็ชรพรหม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์นราธิวาส ให้การต้อนรับ และรายงานถึงวิธีการเลี้ยงโคพันธุ์โคทาจิมะ

พร้อมกันนี้ได้นำชมโรงทดลองโค และศึกษาข้อมูลถึงวิธีการเลี้ยงโคพันธุ์โคทาจิมะ

โดยโคพันธุ์โคทาจิมะ เป็นโคพันธุ์ที่ให้เนื้อมีคุณภาพดีมากๆสายพันธ์หนึ่งโดยลักษณะเนื้อจะเป็นสีแดง มีความนุ่ม มีไขมันแทรกสูง ซึ่งจะเป็นไขมันชนิดคุณภาพดี ส่วนลายเนื้อจะมีลักษณะคล้ายหินอ่อน และเนื้อมีรสชาติดี ได้รับความนิยมสูง

นิพนธ์ ลุยนราธิวาส เตรียมพื้นที่ทำโครงการโคบาลชายแดนใต้

 

 

 

นายนิพนธ์ กล่าวว่า เมื่อวานหลังจากที่ได้ไปเปิดโครงการสร้างการรับรู้เรื่องโคบาลชายแดนใต้ ที่จ.ปัตตานี ซึ่งจะขยายผลให้ครอบคลุม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางด้านอาหาร วันนี้จึงต้องการมาดูความพร้อมของระบบการจัดการต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ในการที่จะไปส่งเสริมให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งการติดตามนี้เป็นต้นทางของการดำเนินโครงการโคบาลชายแดนใต้ เพราะ เราต้องทีโคเนื้อในพื้นที่ให้ได้เสียก่อน และพันธุ์ของโคนั้นจะต้องเป็นที่นิยมของตลาดอย่างในโรงทดลองโคนี้ เป็นโคสายพันธุ์มาจิมะ ที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค นอกจากนี้จะต้องมีการรับรองพันธุ์ตามมาตรฐานในการที่นำไปให้เกษตรกรเลี้ยงอีกด้วย เพราะการเลี้ยงใช้เวลานานหากไม่ได้มาตรฐานหรือตลาดไม่นิยมก็จะทำเกษตรกรได้รับความเสียหาย ส่วนในเรื่องกระบวนการแปรรูป ส่งออกก็ต้องดำเนินการควบคู่กันไปแต่สิ่งสำคัญคือต้องมีลูกโคเพื่อนำไปสู่การเลี้ยงดู การขุนในพื้นที่ที่ได้มาตรฐานต่างๆเสียก่อน 

นิพนธ์ ลุยนราธิวาส เตรียมพื้นที่ทำโครงการโคบาลชายแดนใต้

นอกจากนี้ นายนิพนธ์ยังมีความสนใจที่จะสนับสนุนให้นำโคพันธุ์โคมาจิมะ  นำมาเลี้ยงเพื่อที่จะเป็นต้นแบบทดลองเพื่อศึกษาในเบื้องต้นเพื่ออธิบายรวมทั้งได้ทราบปัญหาและอุปสรรคที่จะไปปรับปรุงการเลี้ยงได้อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ต้นน้ำแล้วจะพัฒนาไปสู่กระบวนการกลางน้ำและปลายน้ำต่อไป