เมื่อการเมืองไม่ตอบรับแก้คอร์รัปชัน | บัณฑิต นิจถาวร

เมื่อการเมืองไม่ตอบรับแก้คอร์รัปชัน | บัณฑิต นิจถาวร

คอร์รัปชันเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศเรา เป็นปัญหาที่ฉุดรั้งประเทศไม่ให้เติบโต ไม่ให้เดินหน้าอย่างที่ควรจะเป็น

ล่าสุดผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมืองและนักการเมืองไทยในการเลือกตั้งปี 2566 โดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมูลนิธิเพื่อคนไทย

ก็ตอกย้ำประเด็นนี้ คือสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแก้ไขเป็นอันดับแรกคือ การทุจริตคอร์รัปชัน และต้องการเห็นพรรคการเมืองกําหนดนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันเป็นนโยบายหลัก

รวมถึงมีแนวทางชัดเจนที่จะแก้ไขปัญหา นี่คือความต้องการของประชาชนในการเลือกตั้งคราวนี้

การแก้คอร์รัปชันกับนักการเมืองดูจะไม่ไปด้วยกัน มีพรรคการเมืองเพียง 3 พรรคที่มีนโยบายแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ที่เหลือเงียบหมด ไม่มีนโยบาย

สะท้อนถึงความไม่พร้อมของนักการเมืองส่วนใหญ่ที่จะพูดถึงหรือแก้ปัญหานี้

จึงเป็นโอกาสของพรรคการเมืองส่วนน้อยที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จะผลักดันการแก้คอร์รัปชันให้เกิดขึ้นจริงจังผ่านการเลือกตั้งคราวนี้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่รออยู่และต้องการสนับสนุน นี้คือประเด็นที่จะเขียนวันนี้

การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเป็นจุดหักเหสําคัญของประเทศในหลายมิติเพราะผลที่จะเกิดขึ้นตามมา ในแง่การเมืองคือ การไปต่อของระบบประชาธิปไตย

เรื่องเศรษฐกิจคือการเริ่มแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างตรงจุดที่จะขับเคลื่อนให้ประเทศเดินหน้า และด้านสังคมซึ่งปัญหาสำคัญสุดคือการทุจริตคอร์รัปชันที่ทำลายการแข่งขัน

เมื่อการเมืองไม่ตอบรับแก้คอร์รัปชัน | บัณฑิต นิจถาวร

ทําลายแรงจูงใจในระบบเศรษฐกิจ ทําลายโอกาสคนในสังคม และเป็นที่มาของความรุนแรงของปัญหาความเหลื่อมลํ้าที่ประเทศเรามี เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข

การทุจริตคอร์รัปชันในประเทศเรารุนแรงขึ้นต่อเนื่องช่วงสิบห้าปีที่ผ่านมา ไม่ว่าใครหรือพรรคการเมืองไหนมาเป็นรัฐบาล

สะท้อนความลึกของปัญหาที่ฝังอยู่ในพฤติกรรมของคนในสังคมและความไม่พยายามที่จะลดหรือแก้ไขปัญหาของฝ่ายการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทําให้ปัญหาไม่มีการแก้ไขและรุนแรงมากขึ้น

เท่าที่สังเกต มีสามปัจจัยที่ทําให้คอร์รัปชันในประเทศเราไม่ไปไหนและนับวันรุนแรงมากขึ้น

1.การเติบโตของระบบอุปถัมภ์ในสังคม ที่แต่เดิมการอุปถัมภ์คือการทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่นหรือการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกันของคนในสังคมซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เป็นลักษณะหนึ่งของความเข้มแข็งของสังคม

แต่ระบบอุปถัมภ์ได้ถูกนําไปใช้ในทางที่ผิด คือสร้างให้เกิดเครือข่ายการทุจริตคอร์รัปชันและปกป้องผู้ที่ทําผิด ไปถึงช่วยเหลือพวกพ้องหรือคนรู้จักแม้จะเป็นเรื่องที่ผิดและไม่ควรช่วยเหลือ จุดแข็งที่สังคมมีจึงกลายเป็นจุดอ่อน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทุจริตคอร์รัปชันในประเทศเราเติบโต

เมื่อการเมืองไม่ตอบรับแก้คอร์รัปชัน | บัณฑิต นิจถาวร

2. การเมือง ในบ้านเราคอร์รัปชันกับการเมืองแยกกันไม่ออกและทําให้การทุจริตคอร์รัปชันเติบโต ผ่านการใช้อำนาจและอิทธิพลของฝ่ายการเมืองแทรกแซงการทําหน้าที่ของภาครัฐ

ทําให้ระบบราชการสถาบันรักษากฎหมายและระบบยุติธรรมของประเทศอ่อนแอ ไม่สามารถเอาผิดลงโทษผู้ที่ทุจริตได้อย่างที่ควรเป็น ทั่วถึง และตรงไปตรงมา ผ

ลคือเครือข่ายทุจริตเติบโต ขยายไปสู่การร่วมมือกันอย่างเป็นระบบของนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และนักธุรกิจที่พร้อมทําผิดกฎหมายหรือหาประโยชน์จากการคอร์รัปชัน เกิดเป็นวัฒนธรรมไม่กลัวกฎหมาย

คือผู้ที่ทุจริตคอร์รัปชันมั่นใจว่าตนเองมีผู้ปกป้องจึงกล้าทำผิดอย่างไม่เกรงกลัว การทุจริตคอร์รัปชันจึงเติบโตและโจ่งแจ้ง

3. ความโปร่งใส ซึ่งสำคัญมากเพราะเป็นหัวใจของการแก้คอร์รัปชัน ในบ้านเรา ความโปร่งใสในการทําหน้าที่และพร้อมให้ตรวจสอบทั้งในภาคราชการ ภาคธุรกิจ และภาคการเมืองมีข้อจํากัดมาก

เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การเสียภาษี การเปิดเผยทรัพย์สิน และเปิดเผยที่มาของเงินที่ใช้หาเสียง

เมื่อสังคมมีความไม่โปร่งใส การทุจริตคอร์รัปชันก็เติบโต ความไม่โปร่งใสหมายถึงการปกปิด ความไม่ชัดเจน ความคลุมเครือในการทําหน้าที่ที่เอื้อให้เกิดการกระทําผิด เอื้อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน หรือซ่อนอำพรางความผิดที่ได้ทําไปเพื่อไม่ให้มีการตรวจสอบหรือถูกจับได้

นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านเรา เป็นจุดอ่อนที่ทำให้ปัญหาคอร์รัปชันรุนแรงขึ้นและไม่มีความพยายามที่จะแก้ปัญหา ส่งผลต่อการสูญเสียทรัพยากรเศรษฐกิจของประเทศ กระทบความเป็นอยู่ของคนในประเทศ และลดทอนโอกาสที่ประเทศจะเติบโตเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของคนในประเทศ

เมื่อการเมืองไม่ตอบรับแก้คอร์รัปชัน | บัณฑิต นิจถาวร

ที่มาภาพ:องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

 

เป็นปัญหาใหญ่ที่ประชาชนต้องการให้แก้ไขโดยเร็วและพร้อมสนับสนุน กล่าวคือ

ร้อยละ 63 ของประชาชนที่ให้ความเห็นในการสำรวจมองว่านโยบายต่อต้านคอร์รัปชันมีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้ง ร้อยละ 83.6 จะไม่เลือกพรรคการเมืองที่ไม่มีนโยบายต่อต้านการทุจริต และร้อยละ 86.2 จะไม่เลือกพรรคการเมืองที่ใช้เงินซื้อเสียง

นี่คือความรู้สึกของประชาชนขณะนี้ ซึ่งชัดเจนว่าประชาชนให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชันและพร้อมสนับสนุนพรรคการเมืองที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา

จึงเป็นโอกาสของพรรคการเมืองที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จะเสนอตัว เสนอนโยบายและแนวทางแก้ไข ประกาศเป็นคํามั่นสัญญากับประชาชนว่าจะเข้ามาแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ให้เป็นทางเลือกและเป็นความหวังให้กับประชาชน

พรรคที่เสนอทางเลือกเช่นนี้คาดได้ว่าจะได้รับการสนับสนุนล้นหลามจากประชาชนในแง่คะเเนนเสียงเลือกตั้ง เพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศรออยู่ ไม่ใช่การลดแลกแจกแถมแบบที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่ทําอยู่ขณะนี้

ที่สำคัญในการเลือกตั้งคราวนี้ ผู้ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่คือกลุ่มคนหนุ่มสาวในวัยทำงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลง ต้องการให้ประเทศดีขึ้น เป็นเหมือนกันหมดทุกวงการ

เมื่อการเมืองไม่ตอบรับแก้คอร์รัปชัน | บัณฑิต นิจถาวร

เศรษฐศาสตร์บัณฑิต

ดร.บัณฑิต นิจถาวร

ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

[email protected]