ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง โปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นักเรียน ครู และพนักงานของโรงเรียนจิตรลดา เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงห่วงใยและให้ความสำคัญกับสุขภาพอนามัยและการโภชนาการที่ดีของเด็ก เยาวชน ตลอดจนประชาชนทุกหมู่เหล่า ให้มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง โดยเฉพาะเด็ก และเยาวชน เนื่องจากเป็นวัยที่สำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโต และการวางรากฐานที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต สมควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมทางร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง และมีจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส 

ในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานอาหารไปพระราชทานเลี้ยงแก่นักเรียน ครู และพนักงานของโรงเรียนจิตรลดา ณ โรงเรียนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2566

วันนี้ (26 ก.ค.66) เวลา 10.56 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศตรี ธีระ เชียงทอง รองเลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้เชิญอาหารพระราชทานไปพระราชทานเลี้ยงแก่นักเรียน ครู และพนักงานของโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 1,469 คน โดยมีรายการอาหาร อาทิ สเต๊กหมู ไก่ และปลา บะหมี่หมูแดง ข้าวขาหมูไข่พะโล้ ข้าวเหนียวไก่ย่าง เต้าทึงเย็นและน้ำแข็งไส ไอศกรีม เยลลี่ น้ำเก๊กฮวย และน้ำดื่มจากโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา การได้รับพระราชทานพระมหากรุณาในครั้งนี้ นำมาซึ่งความสุข ความอิ่มเอมและปลื้มปีติด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของนักเรียน ครู และพนักงานของโรงเรียนฯ อย่างหาที่สุดมิได้

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ทั้งนี้ โรงเรียนจิตรลดา ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2498 ด้วยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการศึกษาในระดับอนุบาลขึ้น ณ พระที่นั่งอุดร ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งเป็นที่ประทับในขณะนั้น เพื่อให้พระราชธิดาและพระราชโอรสได้ทรงศึกษาเล่าเรียน เมื่อทรงเจริญพระชนมายุพร้อมจะทรงพระอักษรได้ 

ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษาพร้อมที่จะทรงพระอักษรและเข้าเรียน ทรงเป็นนักเรียนจิตรลดารุ่นที่ 2 ด้วยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงให้พระราชธิดาและพระราชโอรส ได้ทรงพระอักษรร่วมกับนักเรียนอื่นซึ่งมีวิถีชีวิตที่ต่างกัน เพื่อจะได้เข้าพระราชหฤทัยในสิ่งแวดล้อมและเข้าใจผู้อื่น 

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในเวลาต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างอาคารเรียนถาวรในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตขึ้น และพระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนจิตรลดา” ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาที่ 6 มีนักเรียน รวม 1,180 คน มีปรัชญาโรงเรียนว่า “รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีวินัย ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม”

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา

ในหลวง พระราชทานเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นร. ครู โรงเรียนจิตรลดา