เปิดประวัติวันไตโลก 2568 ไตทำงานหนัก แนวทางชะลอไตเสื่อม ทำยังไง?

เปิดประวัติวันไตโลก 2568 World Kidney Day ไตทำงานหนัก ดูแลสุขภาพ แนวทางชะลอไตเสื่อม ทำยังไง? ประเมินการทำงานของไต แบ่ง 5 ระยะอันตราย ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ทำให้เป็นคนป่วย
13 มีนาคม 2568 World Kidney Day 2025 เปิด"ประวัติวันไตโลก 2568" ไตทำงานหนัก ดูแลสุขภาพตัวเอง แนวทางชะลอไตเสื่อม ทำยังไง? ประเมินการทำงานของไต แบ่ง 5 ระยะอันตราย ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ส่องอาการเบื้องต้น โรคเบาหวาน ความดันสูง ไตอักเสบ มีส่วนทำให้เป็นคนป่วยได้
เปิดประวัติวันไตโลก 2568
วันไตโลก 2568 (World Kidney Day) เป็นกิจกรรมรณรงค์ระดับโลกที่จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 2 ของเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งปีนี้ 2568 วันไตโลก 2568 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม 2568 เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของไตและการป้องกันโรคไต
ประวัติความเป็นมาวันไตโลก World Kidney Day
จุดเริ่มต้นวันไตโลกเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 โดยความร่วมมือของสมาพันธ์โรคไตนานาชาติ (International Federation of Kidney Foundations) และสมาคมโรคไตนานาชาติ (International Society of Nephrology)
วัตถุประสงค์วันไตโลก
- เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของไต และป้องกันโรคไต ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ
- เพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับบทบาทสำคัญของไตในการรักษาสุขภาพ
- ให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและวิธีการป้องกันโรคไต
- ส่งเสริมการเข้าถึงการดูแลรักษาโรคไตอย่างเท่าเทียม
การรณรงค์ตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคไตในประเทศไทย
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรมรณรงค์ วันไตโลกในประเทศไทย
ในแต่ละปี จะมีการกำหนดประเด็นรณรงค์และคำขวัญที่แตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาโรคไตในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2568 วันไตโลก ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม 2568 โดยสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยได้กำหนดประเด็นรณรงค์ ภายใต้คำขวัญที่ว่า
"หมั่นดูแลไต ใส่ใจคัดกรอง ป้องกันโรคไต"
ความสำคัญของไต
ไต เป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่กรองของเสียและรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
โรคไตเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตเสื่อมสภาพลงอย่างช้าๆ และอาจนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง พบมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในผู้ใหญ่พบ
- ผู้หญิง 14%
- ผู้ชาย 12%
เป็นโรคไตเรื้อรังอยู่ ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ ดังนั้นการป้องกันเพื่อไม่ให้โรคไตเกิดขึ้นกับตัวเราจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
อาการของผู้ป่วยโรคไต
- ปัสสาวะลดลง
- มีอาการบวม หลังเท้า ข้อเท้า หน้าแข้งแบบกดบุ๋ม
- บวมบริเวณของหน้า
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- ความดันโลหิตสูงขึ้น
- หายใจเร็ว หอบ นอนราบไม่ได้
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ
- ปัสสาวะมีสีเข้ม กลิ่นผิดปกติ
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง เป็นผลมาจากเหตุปัจจัยอะไร?
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคไตอักเสบ
ประเมินการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 5 ระยะอันตราย โรคไตเรื้อรัง
ประเมินการทำงานของไต แบ่งระยะของ โรคไตเรื้อรังเป็น 5 ระยะ โดยประมาณเป็นเปอร์เซ็นต์จากค่าอัตราการกรองของไต estimated glomerular filtration (eGFR) จากการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ คือ
ระยะที่ 1 “การทำงานของไตปกติ”
- ไตทำงานมากกว่าหรือเท่ากับ 90 เปอร์เซ็นต์ เรียกว่า “การทำงานของไตปกติ”
ระยะที่ 2 “ไตเสื่อมเล็กน้อย”
- ทำงานเหลือ 60-89 เปอร์เซ็นต์ ให้มีการเริ่มประเมิน และชะลอการเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง
ระยะที่ 3 “ไตเสื่อมปานกลาง”
- เหลือ 30-59 เปอร์เซ็นต์ จะต้องเพิ่มการดูแลภาวะแทรกซ้อนของไต และต้องระวังในเรื่องของโรคหัวใจที่จะเป็นภาวะแทรกซ้อนและทำให้ผู้ป่วยโรคไตเสียชีวิตได้มาก
ระยะที่ 4 “ไตเสื่อมรุนแรง”
- การทำงานเหลือ 15- 29 เปอร์เซ็นต์ ต้องวางแผนการทำบำบัดทดแทนไต จะเลือกการฟอกไต ว่าจะฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม การฟอกไตทางหน้าท้อง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
ระยะที่ 5 “ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย”
- ที่ไตทำงานเหลือน้อยกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ แพทย์จะเริ่มกระบวนการบำบัดทดแทนไต หากผู้ป่วยที่เป็นในระยะสุดท้ายแล้วไม่ปรารถนาจะรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถที่จะรับการรักษาด้วยวิธีบำบัดแบบประคับประคองต่อไปได้
ไตทำงานหนัก ดูแลสุขภาพตัวเอง แนวทางชะลอไตเสื่อม ทำยังไงได้บ้าง?
การชะลอความเสื่อมของไต ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- งดสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า
- ลดน้ำหนัก
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงสารหวานที่มีผลต่อไต
ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีการ จำกัดอาหารบางชนิด ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสาเหตุและระยะของโรคไตเรื้อรัง
สอบถามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติม ปัญหาโรคไต ได้ทาง
- สำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
- กรมควบคุมโรค
- สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
อ้างอิง-ภาพ : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , กรมควบคุมโรค , กดดู รู้โรค by กรมควบคุมโรค