ตารางโอนเงินเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท 28 พ.ย. - 2 ธ.ค.66 วันแรก 40 จังหวัด 44 สาขา

ตารางโอนเงินเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท 28 พ.ย. - 2 ธ.ค.66 วันแรก 40 จังหวัด 44 สาขา

เช็กตารางโอนเงินเกษตรกร ช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ตั้งแต่วันที่  28 พ.ย. - 2 ธ.ค.66 ซึ่งจะโอนตรงเข้าบัญชี ธ.ก.ส. ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแจ้งปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 เริ่มจาก 40 จังหวัดทั่วประเทศ 44 สาขา

ตารางโอนเงินเกษตรกร "ช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท" ตั้งแต่วันที่  28 พ.ย. - 2 ธ.ค.66 ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวมข้อมูล ณ วันที่ 27 พ.ย.66 ซึ่งจะโอนตรงเข้าบัญชี ธ.ก.ส. ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแจ้งปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 เริ่มจาก 40 จังหวัดทั่วประเทศ 44 สาขา จำนวน 8,490 ล้านบาท 

สำหรับ "เงินเกษตรกร" ช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ (รับสูงสุด 2 หมื่นบาท) วงเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท ธนาคาร ธ.ก.ส. จะดำเนินการโอนเงินเข้าวันนี้ 28 พฤศจิกายน 2566 เป็นวันแรก สามารถตรวจสอบผลการโอนเงิน ช่วยเหลือชาวนาล่าสุดผ่าน แอปพลิเคชั่น BAAC Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่านบริการ BAAC Connect ทาง Line: BAAC Family  หรือจะเช็กเงินเกษตรกร 2566 โดยตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกร จากการขึ้นทะเบียนกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2566 ที่เว็บไซต์ farmer.doae.go.th (คลิก)

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตั้งแต่  28 พ.ย. 66 ครัวเรือน พร้อมจัดทำแผนการโอนเงินส่งถึงมือเกษตรกร เป็นรายภูมิภาค แบ่งเป็น 5 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 วันที่ 28 พ.ย.2566 / 40 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท สิงห์บุรี ปทุมธานี สระบุรี อ่างทอง นนทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ชลบุรี สมุทรปราการ ระยอง จันทบุรี ตราด สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สุราษฎร์ธานี ชุมพร ภูเก็ต กระบี่ ระนอง พังงา กรุงเทพฯ ลพบุรี 

44 สาขา ประกอบด้วย เชียงใหม่ บุรีรัมย์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี พะเยา อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี ตาก เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน ลำพูน แม่ฮ่องสอน มหาสารคาม สกลนคร นครพนม หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ นครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ แม่ริม พญาแมน สลกบาตร เสลภูมิ ศรีเมืองใหม่ ดอกคำใต้ บ้านตุง

รอบที่ 2 วันที่ 29 พ.ย.2566 / 17 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก เชียงราย พะเยา  ลำปาง แพร่ เชียงใหม่ น่าน ลำพูน แม่ฮ่องสอน

รอบที่ 3 วันที่ 30 พ.ย.2566 / 10 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู เลย ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สกลนคร อุดรธานี นครพนม หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ

รอบที่ 4 วันที่ 1 ธ.ค.2566 / 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ยโสธร 

รอบที่ 5 วันที่ 2 ธ.ค.2566 / 5 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ขอนแก่น กาฬสินธุ์

สามารถกดถอน ATMได้ทันที เมื่อเงินโอนเข้า สำหรับเกษตรกรที่ได้รับเงินโอนเข้าบัญชีแล้วไม่สะดวกถอนผ่าน ATM แต่มีความประสงค์จะถอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ท่านสามารถรอการแจ้งประกาศ "จัดลำดับคิวรับเงิน" จาก สาขา ธ.ก.ส.ในพื้นที่อีกครั้ง

 

ตารางโอนเงินเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท 28 พ.ย. - 2 ธ.ค.66 วันแรก 40 จังหวัด 44 สาขา

 

ตารางโอนเงินเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท 28 พ.ย. - 2 ธ.ค.66 วันแรก 40 จังหวัด 44 สาขา

 

ในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว รัฐบาลได้มอบนโยบายในการจัดทำมาตรการคู่ขนาน เพื่อดูแลและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกแบบครบวงจร อีก 2 มาตรการ ได้แก่

1) สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 วงเงินรวม 34,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่ายให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนระหว่างชะลอการขายข้าว โดยไม่ต้องเร่งขายข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากและราคาตกต่ำ โดยรัฐบาลรับภาระในการชำระดอกเบี้ยแทนเกษตรกร

และ ธ.ก.ส. ยังพร้อมสนับสนุนค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกให้เกษตรกรอีก 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรเก็บข้าวเอง ได้รับ 1,500 บาทต่อตัน กรณีเกษตรกรฝากข้าวกับสถาบันเกษตรกร เกษตรกรจะได้รับ 500 บาทต่อตัน และสถาบันฯ จะได้รับ 1,000 บาทต่อตัน สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ลูกค้ารายย่อย สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีได้ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)

2) สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท โดยสหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและศูนย์ข้าวชุมชนที่ประกอบธุรกิจรวบรวมข้าวจากเกษตรกรสมาชิก และเกษตรกรทั่วไป โดยสถาบันฯ ชำระดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วนที่เหลือรัฐบาลรับภาระชำระแทน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศหรือ Call Center 02 555 0555