ฤดูหนาวมาช้าแต่มาชัวร์ 14 -20 พ.ย.66 เตรียมรับลมหนาว อุณหภูมิเริ่มลดลง ลมแรง

ฤดูหนาวมาช้าแต่มาชัวร์ 14 -20 พ.ย.66 เตรียมรับลมหนาว อุณหภูมิเริ่มลดลง ลมแรง

กรมอุตุฯ พยากรณ์ฝนสะสม 10 วันล่วงหน้า หลายพื้นที่ยังมีฝนรบกวน ยังไม่ขาดเม็ด เป็นฝนฟ้าคะนอง ช่วง 14 -20 พ.ย.66 สัญญาณฤดูหนาวมาช้าแต่มาชัวร์ เตรียมรับลมหนาว อุณหภูมิจะเริ่มลดลง และมีลมแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 13-22 พ.ย.66 อัปเดตจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) ระบุว่า

วันนี้ (13 พ.ย.66) มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางเริ่มแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระลอกๆ ทำให้ลมหนาวที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับวันนี้ ยังมีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้พัดแทรกเข้ามาปกคลุมบางช่วง ยังมีฝนรบกวน ยังไม่ขาดเม็ด เป็นฝน/ฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล เมฆมากช่วงบ่าย ต้องเฝ้าระวังฝนฟ้าคะนองวันนี้ อีก 1 วัน แจ้งเตือน พี่น้องเกษตรกร ที่กำลังเก็บเกี่ยวและตากผลผลิต (ข้าวนาปี) งานกลางแจ้ง เช้าถึงบ่ายแดดพอมีแดด เย็นๆ มีเมฆมาก และมีฝน อากาศยังไม่เย็นลงมากนัก ความชื้นสูง ส่วนภาคใต้ยังมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ต้องเฝ้าระวัง พี่น้องชาวเรือระวังคลื่นลมแรงบริเวณที่ฝนฟ้าคะนอง

ฤดูหนาวมาช้าแต่มาชัวร์ 14 -20 พ.ย.66 เตรียมรับลมหนาว อุณหภูมิเริ่มลดลง ลมแรง

ในช่วง 14 -20 พ.ย.66 ฤดูหนาวมาช้าแต่มาชัวร์ เตรียมรับลมหนาว คาดว่าจะมีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอบนเป็นระลอกๆ ทำให้ลมหนาวพัดต่อเนื่องและแรงขึ้น ฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนเริ่มลดลง อาจจะยังมีฝนเกิดขึ้นได้บ้างช่วงที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมาระยะแรก (เช่นในวันที่ 16 พ.ย.66) หลังจากนั้นอุณหภูมิจะเริ่มลดลง และมีลมแรง ต้องเฝ้าระวังสุขภาพช่วงที่อากาศหนาวเย็นลง เป็นสัญญาณการเริ่มต้นฤดูหนาวเริ่มชัดขึ้นในช่วงนี้ เตรียมวางแผนไปสัมผัสเย็นถึงหนาวได้ โดยเฉพาะตามยอดดอย ยอดภู อากาศหนาวถึงหนาวจัด (17 - 20 พ.ย.66) พื้นราบอากาศเย็น

ฤดูหนาวมาช้าแต่มาชัวร์ 14 -20 พ.ย.66 เตรียมรับลมหนาว อุณหภูมิเริ่มลดลง ลมแรง

ช่วง 21-22 พ.ย.66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาเริ่มกำลังอ่อนลง ทำให้อากาศอุ่นขึ้น ไทยตอนบนฝนยังน้อย ส่วนภาคใต้ตั้งแต่ จ.ชุมพร ลงไป ต้องระวังฝนตกหนักต่อเนื่อง คลื่นลมแรงขึ้น ปีนี้การเริ่มต้นฤดูหนาวมาช้า อาจจะเลื่อนไปในช่วงกลางเดือน พ.ย. ช่วงแรกๆ อาจจะยังมีฝนฟ้าคะนอง

ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ

ฤดูหนาวมาช้าแต่มาชัวร์ 14 -20 พ.ย.66 เตรียมรับลมหนาว อุณหภูมิเริ่มลดลง ลมแรง

"กรมอุตุนิยมวิทยา" ยังให้รายละเอียด "พยากรณ์อากาศ" 7 วันข้างหน้า 13-19 พ.ย. 66 ระบุว่า

ในช่วงวันที่ 13 – 15 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 19 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิลดลง 4 – 6 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส

คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 13 และ 16 พ.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง

สถานการณ์"แผ่นดินไหว"(ในช่วงวันที่ 12 - 13 พ.ย. 2566) ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว

  • ขนาด 4.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา
  • ขนาด 2.4 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
  • และขนาด 1.7 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา
  • ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

ฤดูหนาวมาช้าแต่มาชัวร์ 14 -20 พ.ย.66 เตรียมรับลมหนาว อุณหภูมิเริ่มลดลง ลมแรง