กอนช. เตรียมรับมือฝนปี 66 ภาคอีสาน ถอดบทเรียนน้ำท่วมลุ่มน้ำชี-มูลในอดีต

กอนช. เตรียมรับมือฝนปี 66 ภาคอีสาน ถอดบทเรียนน้ำท่วมลุ่มน้ำชี-มูลในอดีต

กอนช. ซ้อมตั้งศูนย์ส่วนหน้าฯ ภาคอีสาน พร้อมรับมือฤดูฝน ปี 66 เตรียมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัยอย่างมีเอกภาพ ย้ำการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำสู่ภาคประชาชนให้เข้าถึง รวดเร็วและแม่นยำ

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์  รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ

ตั้งศูนย์ส่วนหน้า และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ณ โรงแรม กรีน โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท ขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น โดยมีผู้แทนสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเชียงราย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้แทนกรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ และหน่วยทหาร เข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้

กอนช. เตรียมรับมือฝนปี 66 ภาคอีสาน ถอดบทเรียนน้ำท่วมลุ่มน้ำชี-มูลในอดีต

รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า การจัดโครงการในวันนี้ ส่วนหนึ่งจะเป็นการถอดบทเรียนจากปี 2565 ที่เกิดสถานการณ์มรสุมพาดผ่านทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน จ.อุบลราชธานี ที่มีประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก และมีการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าฯ ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์บัญชาการ ประสานการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่วยเหลือ แก้ไขและบรรเทาอุทกภัยดังกล่าว สำหรับปีนี้คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 ไปแล้ว การจัดกิจกรรมครั้งนี้จะเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานในมาตรการที่ 8 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน) และมาตรการที่ 10 การเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ระหว่างภาครัฐกับประชาชนในพื้นที่ 

โดย สทนช. ได้ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมการฝึกเตรียมความพร้อม ด้านบุคลากร ทรัพยากร สถานที่ สิ่งอำนวยสะดวกต่างๆ สำหรับรับมือสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝนนี้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจนเห็นผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อร่วมซักซ้อมการปฏิบัติตามมาตรการให้สามารถติดตาม ประเมิน บริหารจัดการ และคาดการณ์สถานการณ์น้ำ รวมถึงแจ้งเตือน และให้ความช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบอย่างมีความเป็นเอกภาพ ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งจะเกิดประโยชน์ร่วมกันในการปฏิบัติงาน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เกิดทักษะ และประสบการณ์

ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานเครือข่ายด้วย นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติที่มีความห่วงใยประชาชนในช่วงฤดูฝนปี 2566 ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 อย่างเคร่งครัด
"สำหรับรูปแบบการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ เป็นการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TTX) จำลองสถานการณ์เกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มีขั้นตอนการฝึกประกอบด้วย การจำลองการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และใช้กลไกการปฏิบัติตามโครงสร้างของศูนย์ส่วนหน้า รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทั้งเครื่องจักรเครื่องมือแผนเผชิญเหตุ โดยแบ่งการทำงานเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ส่วนอำนวยการ ส่วนปฏิบัติการ ส่วนสนับสนุน และส่วนประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ การฝึกซ้อมตามโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการฝึกซ้อมแล้ว 1 ครั้งในพื้นที่ภาคเหนือที่ จ.เชียงราย ครั้งที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น และจะดำเนินการต่อเนื่องใน จ.เพชรบุรี จ.ยะลา จ.ลพบุรี และ จ.ปราจีนบุรี ในช่วงระหว่างเดือนก.ค. – ส.ค.นี้ 

กอนช. เตรียมรับมือฝนปี 66 ภาคอีสาน ถอดบทเรียนน้ำท่วมลุ่มน้ำชี-มูลในอดีต

กอนช. เตรียมรับมือฝนปี 66 ภาคอีสาน ถอดบทเรียนน้ำท่วมลุ่มน้ำชี-มูลในอดีต

"สถานการณ์ฝนที่ตกในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำชี-มูลสูงขึ้น แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติ ขณะเดียวกัน เขื่อนเก็บน้ำต่างๆ ในพื้นที่ยังสามารถเก็บกักน้ำฝนได้อีกมาก  โดยสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่จำนวน 13 แห่ง ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำ 3,816 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 44 เทียบกับระดับเก็บกัก  หรือ มีปริมาตรน้ำใช้การ 2,063 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 30 เทียบกับความจุใช้การ ซึ่งเขื่อนอุบลรัตน์มีการปรับปรุงเกณฑ์ปฏิบัติการน้ำแบบพลวัต (Dynamic Operation Curve) ให้สอดรับกับสถานการณ์ ซึ่งปัจจุบันมีปริมาตรน้ำ 800 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็นร้อยละ 33 เทียบกับระดับเก็บกัก) หรือ มีปริมาตรน้ำใช้การ 219 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็นร้อยละ 12 เทียบกับความจุใช้การ) ทั้งนี้ กฟผ. จะร่วมวางแผนการบริหารจัดการน้ำกับกรมชลประทานต่อไป เพื่อให้การเก็บกักน้ำและบริหารจัดการน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ รวมถึงแหล่งน้ำต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย"นายบุญสม กล่าว