จ่อเสนออาคารชลประทาน เขื่อนพระราม 6 ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

จ่อเสนออาคารชลประทาน เขื่อนพระราม 6 ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

ชลประทาน ลงพื้นที่ เขื่อนพระราม 6 เสนอรายชื่อขึ้นทะเบียนอาคารชลประทาน ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นมรดกโลก

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 ดร.วัชระ เสือดี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) รองประธานคณะกรรมการว่าด้วยการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (Thai National Committee on Irrigation and Drainage: THAICID) พร้อมด้วย นายชัยวัฒน์ ปรีชาวิทย์ ที่ปรึกษากรมชลประทานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ THAICID  นายประจักษ์ อั้นจุกฉุน ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ นายสุปัญญา กาญจนธีรวัฒน์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน นายทนงศักดิ์ มูลใจตา หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม และเจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารโครงการ ลงพื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 10 พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักใต้ สำรวจเขื่อนพระราม 6 ซึ่งเป็นอาคารชลประทานที่สำคัญก่อสร้างขึ้นในปี 2467 และจะมีอายุครบ 100 ปี ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เพื่อเก็บข้อมูลและพิจารณาเสนอรายชื่อขึ้นทะเบียนอาคารชลประทานเป็นมรดกโลก (ICID REGISTER OF WORLD HERITAGE IRRIGATION STRUCTURES) ซึ่งจะต้องเป็นอาคารชลประทานที่สำคัญที่มีอายุมากกว่า 100 ปี 

จ่อเสนออาคารชลประทาน เขื่อนพระราม 6 ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
 

ที่ผ่านมา กรมชลประทาน ภายใต้การดำเนินงานของ THAICID ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอาคารชลประทานมรดกโลกสำเร็จแล้ว 3 โครงการ ประกอบด้วย เขื่อนสรีดภงส์ (Sareadphong Dam) จังหวัดสุโขทัย ในปี 2558 คลองรังสิตและประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ (Rangsit Canal & Chulalongkorn Regulator) จังหวัดปทุมธานี ในปี 2558 ณ การประชุม 66th IEC Meeting ประเทศฝรั่งเศส 

จ่อเสนออาคารชลประทาน เขื่อนพระราม 6 ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
 

ในปีนี้ THAICID จะดำเนินการส่งรายชื่อประตูน้ำบางนกแขวก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีขึ้นทะเบียน และเตรียมส่งรายชื่อเขื่อนพระราม 6 ขึ้นทะเบียนเป็นอาคารชลประทานมรดกโลกต่อไปในปีหน้า หากได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการชลประทานและการระบายน้ำ (International Commission on Irrigation and Drainage: ICID) ก็จะได้รับใบประกาศในการประชุมเวทีระดับโลกซึ่งจัดโดยประเทศสมาชิกของ ICID

จ่อเสนออาคารชลประทาน เขื่อนพระราม 6 ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก