บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต 'สมุนไพรปลอม' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต 'สมุนไพรปลอม' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ร่วมกับ อย. บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 'สมุนไพรปลอม' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นำโดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. , เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก. ปคบ. โดยการสั่งการของ พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. , พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ , พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว , พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ. , ว่าที่ พ.ต.อ.สุพจน์ พุ่มแหยม ผกก.4 บก.ปคบ. , นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) , ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลปฏิบัติ กรณีทลายเครือข่ายผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 'สมุนไพรปลอม' ตรวจค้น 4 จุด ยึดของกลาง 112 รายการ รวมกว่า 90,000 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 4,000,000 บาท

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

 

 

สืบเนื่องจากปัจจุบันกระแสการรักสุขภาพส่งผลให้ความนิยมผลิตภัณฑ์ 'สมุนไพร' สูงขึ้นในประชาชนทั่วไป และกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยเฉพาะในกลุ่มชาวจีน โดยผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่จำหน่ายในท้องตลาดมีความหลากหลายและสามารถหาซื้อได้ง่าย จนอาจเป็นช่องว่างให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานกระจายสู่ตลาด เจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีการเฝ้าระวังกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวเรื่อยมา

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

 

ต่อมาได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคผ่านเพจเฟซบุ๊ก 'ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค' ว่าได้ซื้อ 'ผลิตภัณฑ์สมุนไพร' อาทิเช่น ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราสมุนไพรไทยสยาม , ยาหม่องสมุนไพรไทยสยาม ตราเสือสยาม 5 เศียร และยานวดผ่อนคลาย คร๊อกโคไดล์ เฮิร์บ บาล์ม ตราสมุนไพรไทยสยาม จากพื้นที่เขตห้วยขวาง และพบว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์คนละแบบ แต่มีเลขทะเบียนยาเดียวกัน จึงสงสัยว่าเป็นผลิตภัณฑ์ปลอม หากใช้แล้วเกรงว่าจะได้รับอันตรายต่อร่างกาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวพบว่ามีการแอบอ้างนำเลขทะเบียนตำรับยาของผลิตภัณฑ์อื่นมาใช้ ซึ่งถือว่าเป็นการปลอมผลิตภัณฑ์ จึงได้สืบสวนจนทราบถึงแหล่งผลิต โกดังเก็บสินค้า และแหล่งจัดจำหน่าย จนนำมาสู่การตรวจค้นในครั้งนี้

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

 

 

ต่อมาในวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นำหมายค้นเข้าทำการตรวจค้นสถานที่ผลิต โกดังเก็บสินค้า และสถานที่จำหน่าย ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจ.ปทุมธานี จำนวน 4 จุด ดังนี้

 

1. สถานที่จำหน่ายย่าน ซอยเกษมสุข ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ15 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ขณะตรวจค้น พบนายจิงฉาย (สงวนนามสกุล) สัญชาติจีน เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม , ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่าย จำนวน 36 รายการ รวมกว่า 4,579 ชิ้น

 

2. สถานที่จำหน่ายย่าน ซ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ 6 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พบ นางเบน (สงวนนามสกุล) สัญชาติจีน เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม , ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 และเอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่าย จำนวน 26 รายการ รวมกว่า 12,807 ชิ้น

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

 

3. สถานที่ผลิตและโกดังเก็บสินค้า ภายในโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ หมู่ 3 ต.ลำลูกกา อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พบ น.ส.พิมพ์พิชชา (สงวนนามสกุล) เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม , ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 , เอกสารที่เกี่ยวข้องในการสั่งซื้อและจัดจำหน่าย , เครื่องซีลพลาสติก จำนวน 1 เครื่อง , เครื่องบรรจุ จำนวน 1 เครื่อง , ฉลากผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบในการผลิต เช่น ขี้ผึ้ง สารสกัดต่างๆ ที่เป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม รวม 14 รายการ จำนวน 64,900 ชิ้น

 

4. สถานที่ผลิต ในบ้านพักอาศัยย่านถนนบางบอน แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร โดย น.ส.พิมพ์พิชชา (สงวนนามสกุล) เป็นผู้นำตรวจค้น ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งอยู่ระหว่างการผลิตและบรรจุ รวม 4 รายการ จำนวน 853 ชิ้น และอายัดวัตถุดิบในการผลิต เช่น น้ำมันหอมระเหย และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผสมแล้วรอการบรรจุ เครื่องบรรจุและหม้อต้ม รวมถึงอุปกรณ์ส่วนควบที่ใช้ในการผลิต รวม 26 รายการ รวม 8,652 ชิ้น

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

 

โดยจากการตรวจค้นทั้ง 4 จุด พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นความผิด รวม 27 ยี่ห้อ ดังนี้

 

1. ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราสมุนไพรไทยสยาม (ปลอม)
2. ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราหาญตำรับ (ปลอม)  
3. ยาหม่องผสมเสลดพังพอน ตราสมุนไพรบัวทอง (ปลอม)
4. ยาหม่องสมุนไพรไทยสยาม ตราเสือสยาม 5 เศียร (ปลอม) 
5. ยาหม่องสมุนไพรไทย ตราเสือสยาม5ดาว (ปลอม)  
6. ยาหม่องเสือสยาม ตราสมุนไพรบัวทอง (ปลอม) 
7. ยาหม่องเสือสยาม ตราหาญตำรับ (ปลอม) 
8. ยาหม่องเสือสยาม PUREสมุนไพรธรรมชาติ (ปลอม)
9. ยาหม่องสมุนไพร100ปี แซ่วู (ปลอม)  
10. ยาหม่องสมุนไพร รวม5ดาว สูตรร้อน(ปลอม)
11. ยานวดผ่อนคลาย คร๊อกโคไดล์เฮิร์บ บาล์ม (ปลอม) 
12. ยาหอมชนะลม ตราเรือใบ (ปลอม)
13. น้ำมันนวด กฤษณา ทิพย์มาตย์ ไม้หอมไทย 
14. น้ำมันนวด สมุนไพรสยาม ตราหนุมานหาว5ดาว (ปลอม)
15. น้ำมันนวดผา (ปลอม)  
16. น้ำมันนวดสมุนไพร Herb 
17. น้ำมันนวดสมุนไพร ตราสมุนไพรไทยสยาม (ปลอม)
18. น้ำมันนวดสมุนไพร สมุนไพรธรรมชาติ สกัดจากสมุนไพร 18 ชนิด 
19. น้ำมันนวดสมุนไพร ตราสมุนไพรบัวทอง สกัดจากสมุนไพร 18 ชนิด 
20. น้ำมันนวดสมุนไพร ตราหาญตำรับ สกัดจากสมุนไพร 18 ชนิด
21. หัวน้ำมันสมุนไพรสกัดเย็น
22. น้ำมันสมุนไพร ตราสมุนไพรบัวทอง 
23. ขี้ผึ้งสมุนไพรรวม ตราเสือ (ปลอม)  
24. ยานวดผ่อนคลาย คร๊อกโคไดล์เฮิร์บ บาล์ม (ปลอม)
25. ยาสอดกระชับช่องคลอด บริสุทธิ์ (ปลอม)
26. THONG TIGER Massage Palm ยานวดผ่อนคลาย (ปลอม)
27. ยาหอมชนะลม ตราเรือใบ (ปลอม)

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

 

รวมตรวจค้น 4 จุด ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม 38 รายการ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่นที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 จำนวน 42 รายการ เครื่องจักร รวมถึงอุปกรณ์ส่วนควบที่ใช้ในการผลิตสมุนไพรปลอม และพยานหลักฐานอื่น 32 รายการ รวมทั้งสิ้น 112 รายการ มูลค่าความเสียหายกว่า 4,000,000 บาท

 

โดยในวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 พนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ได้ดำเนินคดีกับ บริษัทสมุนไพรไทยสยาม จำกัด ในฐานะนิติบุคคล และกรรมการ ทั้ง 3 ราย ในฐานะส่วนตัว ได้แก่ 1. นางสาวพิมพ์พิชชา (สงวนนามสกุล) , 2. นายจิงฉาย (สงวนนามสกุล) และ 3. นายจือคาง (สงวนนามสกุล) ในความผิดตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ฐานร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม , ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต , ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับ โดยผู้ต้องหาทั้ง 3 รายให้การรับสารภาพตลอดทุกข้อกล่าวหา

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

 

จากการสืบสวนเพิ่มเติมพบว่า เครือข่ายการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอมดังกล่าวมีกลุ่มนายทุนชาวจีนร่วมลงทุน โดยจ้างให้คนไทยเป็นผู้ผลิตเพื่อขายให้นักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งจะใช้เลขทะเบียนตำรับยาของผลิตภัณฑ์อื่นมาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำปลอมขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคที่ซื้อหลงเชื่อว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของแท้ โดยจะผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรขึ้นให้มีคุณลักษณะตามที่นิยมในท้องตลาด โดยผสมส่วนผสมต่างๆเข้าด้วยกัน จากนั้นบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์โดยใช้กำลังคนซึ่งไม่ได้มาตรฐาน และไม่ผ่านการรับรองจาก อย. จากนั้นส่งสินค้าไปยังร้านค้าที่เจ้าของเป็นคนจีนในพื้นที่เขตห้วยขวาง และแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยจะมีมัคคุเทศก์มารับสินค้าไปหลอกลวงขายให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีนต่ออีกทอดหนึ่ง

 

ซึ่งผลิตภัณฑ์สมุนไพรดังกล่าวจะไม่มีการวางจำหน่ายร้านค้าทั่วไป เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากหน่วยงานราชการ และการตรวจพบจากผู้รับอนุญาตเลขทะเบียนยาที่แท้จริง โดยจะขายส่งราคาชิ้นละ 20-30 บาท และมีการขายทำกำไรต่อในราคาหลักร้อยถึงหลักพันบาท โดยเริ่มผลิตและจำหน่ายมาแล้วประมาณ 1 ปี

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

 

การกระทำของผู้ต้องหาดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562

 

1. ฐาน 'ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม' ตามมาตรา 58(1) ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ฐาน 'ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต' ตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ฐาน 'ร่วมกันผลิตและขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับ' ตามมาตรา 58(4) ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน

 

ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้ อย. ขอขอบคุณตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ที่สืบสวน ขยายผลจนสามารถตรวจยึด ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผิดกฎหมายได้จำนวนมาก จากการจับกุมพบผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอมลักลอบผลิต ปลอมโดยใช้เลขทะเบียนตำรับอื่นมาแสดงที่ฉลาก การผลิตไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลในการรักษา อย. และ ปคบ.จะร่วมมือกันขยายผลจับกุมเครือข่ายผู้กระทำผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

 

จึงขอย้ำเตือนพี่น้องประชาชนว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหาร ยา เครื่องสำอาง จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนจำหน่าย โดยสามารถดูเลขทะเบียนหรือเครื่องหมาย อย. ได้ที่ฉลากสินค้า ควรซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน

 

กรณีซื้อออนไลน์ให้ซื้อจากร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เรียบร้อยแล้ว สำหรับยาไม่สามารถซื้อขายทางออนไลน์ได้ ต้องซื้อจากร้านยา หรือได้รับการตรวจวินิจฉัยและจ่ายโดยแพทย์จากสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนเท่านั้น

 

ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th และ Line@FDAThai หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Email : [email protected] Line@FDAThai , Facebook : FDAThai หรือ ตู้ปณ. 1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. ได้กล่าวฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่า ควรใช้ความระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบในการเลือกซื้อ ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่างๆ ควรตรวจสอบเลขทะเบียนตำรับยาก่อนซื้อ และเลือกซื้อจากสถานที่จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ โดยซื้อจากร้านขายยา หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเท่านั้น เนื่องจากเป็นสิ่งที่ใช้และส่งผลโดยตรงกับร่างกาย กระบวนการผลิตต้องได้มาตรฐานตามหลัก อย. และขอเตือนผู้ที่ลักลอบผลิต และขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการจับกุมอย่างต่อเนื่อง หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ. 1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา

 

บุกโรงงานทลายเครือข่ายทุนจีน ลอบผลิต \'สมุนไพรปลอม\' ลวงขายนักท่องเที่ยวจีน