ซีเซียม-137 คืออะไร อันตรายแค่ไหน และจะเกิดอะไรขึ้นหากถูกสารนี้เข้าไป

ซีเซียม-137 คืออะไร อันตรายแค่ไหน และจะเกิดอะไรขึ้นหากถูกสารนี้เข้าไป

ซีเซียม-137 คืออะไร อันตรายแค่ไหน และจะเกิดอะไรขึ้นหากถูกสารนี้เข้าไป จากกรณีท่อบรรจุสารซีเซียม-137 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ความยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม จากโรงไฟฟ้าพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี หายปริศนาซึ่งอยู่ระหว่างติดตามค้นหา

กรณีท่อบรรจุสารซีเซียม-137 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ความยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม จากโรงไฟฟ้าพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี หายปริศนาซึ่งอยู่ระหว่างติดตามค้นหา ขณะที่ทางจังหวัดได้ยกระดับภัยจากภัยระดับ 1 เป็นระดับ 2 ที่อาจได้รับอันตรายจากวัสดุกัมมันตรังสีดังกล่าว

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้โพสต์ประเด็นวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ระบุ สารดังกล่าวที่สูญหายหากถูกนำไปยังโรงหลอมเหล็ก รังสีเบต้าและแกมมาซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็งจะกระจายไปในอากาศในวงกว้าง

ซีเซียม-137 เป็นโลหะอ่อนสีขาวเงินที่ตีขึ้นรูปได้ง่ายจะมีสภาพเป็นของเหลวที่อุณหภูมิประ มาณ 28 องศา มีครึ่งชีวิตที่ 30 ปี เมื่อสลายตัวจะปล่อยรังสีเบต้าและแกมมาซึ่งอันตรายมากและเปลี่ยนตัวมันจะเปลี่ยนเป็นสารแบเรียม-137 ที่สลายตัวปล่อยรังสีได้เร็ว

ในทางอุตสาหกรรม ซีเซียม-137 จะใช้ในการวัดความชื้นและความหนาแน่นในการก่อสร้าง ใช้ในเครื่องมือทางแพทย์เพื่อรักษามะเร็ง ใช้ในมาตรวัดกระแสน้ำในท่อ ใช้วัดความหนาของสิ่งต่างๆ เช่น กระดาษ แผ่นโลหะ เป็นต้น

หากแท่งซีเซี่ยม-137 สูญหายหรือถูกขโมย บุคคลที่ครอบครองไปตัดหรือแกะออกจะได้รับอันตรายจากรังสีที่แผ่ออกมาได้เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งเมื่อรับเข้าสู่ร่างกายเล็กน้อยโดยทางหายใจหรือผิวหนังรังสีจะถูดดูดซึมไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับและไขกระดูกสามารถถูกขับได้ทางเหงื่อและปัสสาวะแต่หากสูดดมหรือรับเข้าไปด้วยความเข้มข้นสูงหรือเป็นระยะเวลาพอสมควรจะก่อให้เกิดมะเร็งกับอวัยวะที่สัมผัส

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ไทม์ไลน์เหตุท่อบรรจุสารซีเซียม 137 หายจากโรงไฟฟ้า ยกระดับเร่งติดตามค้นหา

- ผู้ว่าฯ ปราจีนบุรี แถลงตามหาท่อบรรจุสารซีเซียม 137 หวั่นเกิดอันตราย

- อัปเดต เตรียมแถลงปมซีเซียม 137 วัสดุกัมมันตรังสีอันตรายหายจากโรงงานไฟฟ้า

หากท่อของสารซีเซียม-137 ดังกล่าว ถูกนำไปขายยังโรงแปรรูปเหล็กและถูกหลอมในเตาเผาจะอันตรายมาก คือรังสีจะถูกปล่อยออกมาทางปล่องควันกระจายไปในสิ่งแวดล้อมและเกิดการเปรอะเปื้อนของรังสีเบต้าและแกมมาซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอย่างรุนแรงในสภาพแวด ล้อมในวงกว้าง

ผู้ครอบครองทั้งร้านรับซื้อของเก่า โรงงานรีไซเคิล โรงงานหลอมหล่อเหล็ก ที่รับท่อหุ้มดังกล่าว ผู้ครอบครองถือว่ากำลังตกอยู่ในอันตรายหากนำไปกองไว้ฝนตก น้ำชะจะไหลปนเปื้อนลงในน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน หากนำไปหลอมยิ่งกระจายไปทางอากาศนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในอนาคตอันใกล้

 

ซีเซียม-137 คืออะไร อันตรายแค่ไหน และจะเกิดอะไรขึ้นหากถูกสารนี้เข้าไป

 

ซีเซียม-137 คืออะไร

ซีเซียม-137 (Cs-137) เป็น ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m (barium-137m) ซึ่งเป็นไอโซโทปกึ่งเสถียร (metastable) หรือไอโซเมอร์ของแบเรียม-137 (137mBa, Ba-137m) ส่วนอีก 5% สลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรง แบเรียม-137m (Ba-137m) สลายตัวให้รังสีแกมมา โดยมีครึ่งชีวิต 2.55 นาที ซีเซียม-137 ปริมาณ 1 กรัม มีกัมมันตภาพรังสี 3.215 เทราเบคเคอเรล (terabecquerel, TBq)

โฟตอนจากไอโซโทปรังสีแบเรียม-137m มีพลังงาน 662 keV สามารถใช้ประโยชน์ในการฉายรังสีอาหาร (food irradiation) ใช้ในด้านรังสีรักษา (radiotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีการใช้ซีเซียม-137 สำหรับการถ่ายภาพด้วยรังสีทางอุตสาหกรรมไม่มากนัก เนื่องจากเป็นวัสดุที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี เกลือของซีเซียมละลายน้ำได้ดีทำให้ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก จึงมีการใช้โคบอลต์-60 (Cobalt-60) ในงานด้านการถ่ายภาพด้วยรังสีมากกว่า นอกจากจะเป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าแล้ว ยังให้รังสีแกมมาพลังงานสูงกว่า การนำมาใช้งาน เราจะพบซีเซียม-137 ได้ในอุปกรณ์วัดความชื้น เครื่องวัดอัตราการไหลหรืออุปกรณ์ตรวจวัดชนิดอื่นที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกัน

การนำ ซีเซียม-137 มาใช้ประโยชน์

มีการนำซีเซียม-137 มาใช้ไม่มากนัก ถ้าปริมาณน้อยๆ จะใช้สำหรับปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาในการวัดความหนาแน่นของเครื่องมือเจาะสำรวจน้ำมัน ใช้เป้นต้นกำเนิดรังสีในการรักษามะเร็ง รวมทั้งใช้ในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความหนาของวัสดุ เครื่องวัดการไหลของของเหลว

ความเสี่ยงต่อสุขภาพของสารกัมมันตรังสีซีเซียม

ซีเซียม สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (caesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ ซีเซียมมีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก ซีเซียมมีครึ่งชีวิตทางชีววิทยา (biological half-life) ประมาณ 70 วัน จากการทดลองในสุนัข เมื่อได้รับซีเซียมในครั้งเดียวจำนวน 3800 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม (mCi/kg) (คิดเป็นซีเซียม-137 จำนวน 44 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) สุนัขนั้นตายลงภายใน 3 สัปดาห์

ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทานปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

การควบคุมดูแลซีเซียม-137 ที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ไม่รัดกุมพอ อาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของไอโซโทปรังสีและเกิดการเจ็บป่วยจากรังสีได้ กรณีตัวอย่างที่ทราบกันดี ได้แก่ อุบัติเหตุที่ (Goiania accident) ที่มีการทิ้งสารกัมมัตรังสีจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำรังสีรักษาจากคลินิกในเมือง Goiania ประเทศบราซิล ทำให้คนเก็บขยะนำไปขายให้กับคนที่รับซื้อ เนื่องจากคิดว่าเป็นของแปลก กรณีนี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการได้รับรังสีจำนวนหลายคน

 

ข้อมูลประกอบจากเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat , สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย