อัปเดต เตรียมแถลงปมซีเซียม 137 วัสดุกัมมันตรังสีอันตรายหายจากโรงงานไฟฟ้า

อัปเดต เตรียมแถลงปมซีเซียม 137 วัสดุกัมมันตรังสีอันตรายหายจากโรงงานไฟฟ้า

(14 มี.ค.2566) มีรายงานว่าวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 (Cesium) ได้สูญหายไปจากโรงงานไฟฟ้า จ.ปราจีนบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีเตรียมแถลงข่าว 15.00 น.วันนี้

(14 มี.ค.2566) มีรายงานว่า วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 (Cesium) ได้สูญหายไปจากโรงงานไฟฟ้า จ.ปราจีนบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีเตรียมแถลงข่าว 15.00 น.วันนี้ เตือนประชาชนผู้พบเห็นห้ามเข้าใกล้หรือจับเด็ดขาด

เบื้องต้น ผู้แทนบริษัทฯได้เข้าแจ้งความกับทางเจ้าหน้าที่พร้อมตั้งรางวัลนำจับไว้ 50,000 บาท สำหรับผู้ชี้เบาะแสจนนำไปสู่การติดตามวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 กลับคืนมาได้

ซีเซียม 137 คือ สารไอโซโทปของซีเซียมซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีครึ่งชีวิต 30 ปี สลายโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา เป็นหนึ่งในผลผลิตการแบ่งแยกนิวเครียสและซีเซียม 137 ยังเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต้องได้รับสารปนเปื้อน เมื่อได้รับเข้าไปจะกระจายไปทั่ว ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับ และไขกระดูก

 

อัปเดต เตรียมแถลงปมซีเซียม 137 วัสดุกัมมันตรังสีอันตรายหายจากโรงงานไฟฟ้า

 

อัปเดต เตรียมแถลงปมซีเซียม 137 วัสดุกัมมันตรังสีอันตรายหายจากโรงงานไฟฟ้า

 

ประโยชน์จากซีเซียม

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้ในงานหรือเครื่องมือเฉพาะแต่ปริมาณรวมของการใช้ไม่มากนัก มีการใช้ในทางการแพทย์ มาตรวัดกระแสน้ำในท่อโรงงานอุตสาหกรรม และโรงงานนิวเคลียร์

1.ใช้ในการผลิต photoelectric cell เพราะเป็นธาตุที่ถูกอิออไนซ์โดยแสงได้ง่าย (เปลี่ยนเป็นอิออนบวกโดยแสงได้อย่างง่ายดาย)

2.ใช้ผลิต cesium vapor thermionic converter

3.ใช้ในระบบการผลิตพลังงานและ magnetohyhrodynamic

4.ใช้เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาไฮโดรพิเนชันและเชื้อเพลิงจรวด

5.ซิเซียมไฮดรอกไซด์ (CsOH) ใช้เป็นอิเลกโตรไลต์ของเซลล์สะสมไฟฟ้าแบบด่าง (alkaline stronge batteries)

6.ซีเซียมคาร์บอเนต (Cs2CO3) ใช้ทำแก้วที่ใช้งานเฉพาะ

อันตรายจากซีเซียม

โลหะซีเซียมเมื่อสัมผัสกับผิวหนังเกิดอาการไหม้อย่างรุนแรงเป็นพิษเมื่อเข้าสู่ร่างกาย สารประกอบของซีเซียมทั่วไปเป็นพิษไม่มากนัก แต่ที่เป็นพิษอย่างแรงก็มี เช่น CsCN และซีเซียมแกลเลียมซัลเฟต

 

สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะ และบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ ตับ ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมหรือพันธุกรรม

ความผิดปกติจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณรังสีและระยะเวลาที่ร่างกายได้รับ ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 เรื่องมาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี กำหนดให้ "อาหารมีการปนเปื้อนซีเซียม-134 และซีเซียม-137 รวมกันไม่เกิน 500 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม (Bq/kg) หรือ เบคเคอเรลต่อลิตร (Bq/l)"

กลุ่มอาการเฉียบพลันจากรังสี 

- ปริมาณรังสีต้องมีขนาดสูงพอ คือมักต้องเกิน 0.7 เกรย์ (Gray) หรือ 70 แหรดส์ (Rads)

- แหล่งที่มาของรังสีเป็นจากภายนอก (จากภายในได้แต่ว่าพบน้อยมากๆ)

- รังสีชนิดนั้นต้องเป็นแบบทะลุทะลวงถึงอวัยวะภายใน ได้แก่ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา นิวตรอน 

- ส่วนของร่างกายเกือบทั้งหมด หรือทั้งหมดโดนรังสี มิใช่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง

- รังสีทั้งหมดได้ถูกปล่อยออกมาในเวลาสั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นนาที

กลุ่มอาการกดไขกระดูก (ระบบเลือด) เกิดได้ตั้งแต่โดนรังสี 0.3 Gray หรือ 30 rads แต่มักมีอาการชัดเจน เมื่อได้เกิน 0.7 Gray หรือ 70 rads อาการแบ่งได้ 4 ระยะ

ระยะแรก (Prodroma stage) : คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงถึง 2 วันหลังโดนรังสี อาการเป็นได้นานเป็นนาทีถึงหลายๆ วัน

ระยะสอง (Latent stage) : เซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกตายไปเรื่อยๆ ระยะนี้จะเป็นอยู่ตั้งแต่ สัปดาห์แรกถึง 6 สัปดาห์ผู้ป่วยอาจดูปกติหรือไม่มีอาการ

ระยะสาม (Manijfest illness stage) : เบื่ออาหาร มีไข้ อ่อนเพลีย ปริมาณเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือด ทั้งหมดลดระดับลงเรื่อยๆ ในเวลาหลายๆสัปดาห์ และจะเสียชีวิตในเวลา 2-3 เดือน ผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเลือดออกมากและไม่สามารถหยุดได้

ระยะฟื้นตัว (Recovery): ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากภาวะที่ไขกระดูกโดนกด โดยจะดีขึ้นได้จากตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ถึง 2 ปี ผู้ป่วยราวครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตที่ 60 วัน หากได้รับรังสี 2.5-5 Gray 

กลุ่มอาการทางเดินอาหาร (Gastrointestinal syndrome)

เกิดจากโดนรังสีเกิน 10 Gray (ส่วนน้อยเป็นได้ตั้งแต่ 6 Gray ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเสียชีวิตใน 2 สัปดาห์ จากการที่ระบบทางเดินอาหารและไขกระดูกโดนทำลายและไม่สามารถซ่อมแซมได้

ระยะแรก (Prodromal stage) : คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย เริ่มมีอาการภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังโดนรังสี

ระยะสอง (Latent stage): เซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกและเยื่อบุทางเดินอาหารตายไปเรื่อยๆ ระยะนี้ผู้ป่วยอาจดูปกติหรือไม่มีอาการ ระยะนี้จะไม่เกิน 1 สัปดาห์

ระยะสาม (Manifest illness stage): เบื่ออาหาร มีไข้ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ขาดน้ำ เกลือแร่ต่างๆ ผิดปกติ มักเสียชีวิตในเวลา 2 สัปดาห์ จากการติดเชื้อ ขาดน้ำ เกลือแร่ผิดปกติ

ระยะฟื้นตัว (Recovery) : เสียชีวิตทั้งหมดหากได้รังสีเกิน 10 Gray (LD 100 = 10 Gray)

กลุ่มอาการทางระบบหัวใจหลอดเลือดหรือระบบประสาท มักโดนรังสี > 50 Gray (บางคน > 20 Gray)

ระยะแรก (Prodromal stage): วุ่นวายไม่ค่อยรู้ตัว คลื่นไส้อาเจียนถ่ายเหลวอย่างมาก ผิวไหม้ เกิดในเวลาเป็นนาที

ระยะสอง (Latent stage): กลับมามีอาการปกติได้ แต่มักไม่กี่ชั่วโมง

ระยะสาม (Manijfest iliness stage): อาเจียนท้องเสียมากๆอีกครั้ง ร่วมกับมีชัก โคม่า มักเกิดภายใน 5-6 ชั่วโมงหลังโดนรังสี และมักเสียชีวิตใน 3 วัน

ระยะฟื้นตัว (Recovery) : ไม่มี

กลุ่มอาการด้านผิวหนังจากรังสี (Cutaneous Radiation Syndrome)

มักเกิดจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ผิวหนังหรือเสื้อผ้า บริเวณที่โดนรังสี จะเกิดการอักเสบ แดง มีการหลุดลอกผมหรือขนจะหลุดร่วง อาการแดงของผิวหนังอาจเกิดได้ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงหลังโดนรังสี แล้วอาจเข้าสู่ช่วงที่ผิวหนังดูค่อนข้างปกติ

จากนั้น ผิวจะกลับมาแดงขึ้นมากๆอีก ร่วมกับมีถุงน้ำและแผลอักเสบ (ulcer) ต่อมาอาจจะดีขึ้น หรืออาจนำไปสู่ผิวหนังเสียหายถาวร เช่น ต่อมเหงื่อโดนทำลาย ผิวหนังตาย มีการอักเสบเรื้อรัง เกิดพังผืด หรือผิวหนังฝ่อ

 

ข้อมูลประกอบจาก ดร.ชัยวัฒน์ เจนวาณิชย์

ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

เพจ : Drama-addict

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข