สวดยับสื่อดังดิสเครดิตรัฐบาล ปมซื้อ "ปลากุเลาเค็มตากใบ" ขึ้นโต๊ะเลี้ยงผู้นำเอเปค

สวดยับสื่อดังดิสเครดิตรัฐบาล ปมซื้อ "ปลากุเลาเค็มตากใบ" ขึ้นโต๊ะเลี้ยงผู้นำเอเปค

สวดยับสื่อดังดิสเครดิตรัฐบาล ปมซื้อ "ปลากุเลาเค็มตากใบ" ขึ้นโต๊ะเลี้ยงผู้นำเอเปค หน้าแหกหลัง "เชฟชุมพล" ยืนยันซื้อมาจากร้านป้าอ้วน ซึ่งเป็นสินค้า OTOP 5 ดาว

กรณีที่สื่อช่องดังได้ออกมาเผยแพร่ข่าวว่าไม่พบมีการซื้อ ปลากุเลาเค็มตากใบ ที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ของจังหวัด มาทำอาหารต้อนรับผู้นำเอเปค 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Warat Karuchit ระบุว่า

 

"จับโป๊ะ" ใครกันแน่? กรณีการลงข่าวนี้ สื่อช่องดังจะ "จับโป๊ะ" รัฐบาล หรือว่าสื่อช่องดังจะถูก "จับโป๊ะ" เสียเอง?

 

สวดยับสื่อดังดิสเครดิตรัฐบาล ปมซื้อ \"ปลากุเลาเค็มตากใบ\" ขึ้นโต๊ะเลี้ยงผู้นำเอเปค

 

 

เนื้อหาข่าวจากสื่อช่องดัง เป็นการให้สัมภาษณ์ของผู้ประกอบการในพื้นที่ตากใบ "บางคน" ที่ให้ข้อมูลว่า ไม่เห็นรู้เรื่องว่ามีการซื้อปลากุเลาเค็มจากร้านใดร้านหนึ่งใน 9 ร้านที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ของจังหวัดไปเลย จึงสรุปได้ว่า ที่รัฐบาลโปรโมทว่าจะนำเอาปลากุเลาเค็มไปทำอาหารในการประชุมเอเปคนั้น "ไม่จริง"

 

ซึ่งต่อมา เชฟชุมพล และ รองโฆษกรัฐบาล ก็ออกมาให้ข้อเท็จจริงว่า เชฟชุมพลซื้อปลากุเลาเค็มมาจากตากใบจริง จากร้านป้าอ้วน เพราะเป็นร้านเดียวที่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งต่อมาเฟซบุ๊กของร้านป้าอ้วนก็ออกมายืนยันว่ามีการสั่งซื้อไปจริง แต่ด้วยการที่ร้านขายจำนวนมากก็ไม่รู้ว่าใครซื้อไปบ้าง (แล้วก็คงบอกกันไปในกลุ่มว่าไม่รู้เรื่องที่ขายปลาเค็มไปทำอาหารเอเปค เพราะไม่เห็นมีใครมาติดต่อแจ้งอย่างนั้น)

 

สวดยับสื่อดังดิสเครดิตรัฐบาล ปมซื้อ \"ปลากุเลาเค็มตากใบ\" ขึ้นโต๊ะเลี้ยงผู้นำเอเปค

 

ผมไม่แน่ใจว่านักข่าวที่ทำข่าวนี้ เรียนจบวารสารศาสตร์มาหรือไม่ หรือ บก. ที่ตรวจข่าวนี้ (มีไหม) ใช้หลักการอะไรในการปล่อยให้ข่าวนี้ออกมาได้ แต่ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ ผมก็มีคำถามที่คนทั่วไปก็น่าจะสงสัยเหมือนกัน คือ ทำไมนักข่าวที่ทำข่าวนี้ถึง...

 

1. เชื่อมั่นว่าไม่มีการซื้อจริง ด้วยคำบอกเล่าของร้าน (บางคน) ทำไมไม่คิดว่า คนที่ไปสัมภาษณ์นั้น เขารู้จริงหรือไม่ เข้าใจผิดหรือไม่ รู้ได้อย่างไรว่าไม่มีคนซื้อไปทำอาหารเอเปค การหาข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานนี่คือหลักการวารสารศาสตร์เบื้องต้นเลย

 

2. ถ้าไม่แน่ใจว่าร้านค้าจะรู้ข้อมูลหรือไม่ ทำไมไม่ทำสิ่งที่ง่ายที่สุด ก็คือถามไปที่ต้นทาง นั่นคือ เชฟชุมพล หรือทางสำนักนายกก็ได้ว่าซื้อจริงไหม ซื้อยังไง ใครซื้อ การหาข้อมูลจากอีกฝั่ง ก็เป็นหลักวารสารศาสตร์เบื้องต้นสุด ๆ เช่นกัน (ถ้าติดต่อไม่ได้ ก็ระบุไปว่ายังไม่ได้รับคำตอบ)

 

แต่ไม่ครับ นักข่าวที่ทำข่าวนี้ ไม่ได้ทำทั้งสองข้อ แล้วก็ลงข่าวพร้อมพาดหัวเลยว่า "จับโป๊ะ" ที่แปลว่า "จับโกหก"

 

สวดยับสื่อดังดิสเครดิตรัฐบาล ปมซื้อ \"ปลากุเลาเค็มตากใบ\" ขึ้นโต๊ะเลี้ยงผู้นำเอเปค

 

 

คำถามต่อไปของผมคือ

 

1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชื่อเสียงของ เชฟชุมพล จากการเกิดความเข้าใจผิดด้วยข้อมูลบิดเบือน สื่อช่องดังและนักข่าวคนนี้จะรับผิดชอบอย่างไร?

 

2. ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชื่อเสียงของประเทศไทยในสายตาชาวโลกจากการเกิดความเข้าใจผิดด้วยข้อมูลบิดเบือน สื่อช่องดังและนักข่าวคนนี้จะรับผิดชอบอย่างไร?

 

3. สื่อช่องดัง เคยลงข่าวออนไลน์ด้วยข้อมูลที่ผิดพลาดมาแล้วหลายครั้ง และทุกครั้งก็ให้สัญญาว่าจะแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก รวมทั้งมีกลไกการตรวจสอบข่าวก่อนเผยแพร่ กลไกการป้องกัน การตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นคืออะไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ?

 

สวดยับสื่อดังดิสเครดิตรัฐบาล ปมซื้อ \"ปลากุเลาเค็มตากใบ\" ขึ้นโต๊ะเลี้ยงผู้นำเอเปค

 

เหนื่อยใจเหมือนกันนะครับ เสียเวลาด้วย ที่ต้องมาคอยแก้ไขข้อมูลผิด ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก จากองค์กรสื่อที่ได้งบประมาณจากภาษีปีละ 2,000 ล้าน ที่ควรมีมาตรฐานการทำข่าวและสร้างประโยชน์ให้สาธารณะ ไม่ใช่การสร้าง Fake News เสียเอง

 

แล้วก็ไม่เข้าใจว่าจะทำเรื่องนี้ให้เป็นดราม่าเชิงลบ สร้างความขัดแย้ง และจะมาดิสเครดิตคนทำงานที่พยายามทำเพื่อชาติทำไม ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้รับเกียรติสำคัญระดับโลกเช่นนี้ มันมีผลดีกับใครหรือครับ?

 

(รายการเด็ก สารคดี ซีรีย์ รายการอื่น ๆ ดีนะครับ แต่ข่าวออนไลน์ของสื่อช่องดังผิดซ้ำซากอย่างมีนัยสำคัญ และกรณีนี้ยิ่งชัดเจนว่าไม่มีระบบการตรวจสอบก่อนลงข่าวครับ)