'โรม' ชำแหละ'สัมปทานดาวเทียม' อัด 'ชัยวุฒิ'ล้วงลูกตั้งอนุญาฯ-เอื้อนายทุน

'โรม' ชำแหละ'สัมปทานดาวเทียม' อัด 'ชัยวุฒิ'ล้วงลูกตั้งอนุญาฯ-เอื้อนายทุน

'โรม' ชำแหละ'สัมปทานดาวเทียม' อัด 'ชัยวุฒิ'ล้วงลูกตั้งอนุญาฯ-เอื้อนายทุน

ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีราชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายไม่ไว้วางใจ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์. รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ข้อกล่าวหาจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อกฎหมายว่า วันที่รัฐบาลที่มีนายชัยวุฒิ เป็นรมว.ดีอีเอากำลังทำในสิ่งที่เสียหายต่อประทศชาติและประชาชนไม่น้อยไปกว่าตอนที่ท่านกล่าวหาศัตรูทางการเมืองของท่านเอง

รัฐบาลในอดีตได้มีการจัดตั้งโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศในปี2533 มีสัญญา30ปี และจะสิ้นสิ้นสุดสัญญาในวันที่10ก.ย.นี้  ซึ่งพบว่ากรณีดังกล่าวกลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามหาศาล จนเป็นที่หมายปองของเครือข่ายการเมืองธุรกิจในการเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ ซึ่งตำแหน่งการเมืองที่เอื้อประโยชน์มากที่สุดคือรมว.ดีอีเอส ที่นายชัยวุฒิทำหน้าที่อยู่นั่นเอง

ผลประโยชน์ในเรื่องนี้มีการแบ่งออกเป็น2ก้อนใหญ่ๆคือ 1.ผลประโยชน์จากดาวเทียมะหว่างกระทรวงดีอีเอสและบริษัทไทยคมจำกัด (มหาชน) และ2.ผลประโยชน์จากดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่อยู่ในสัญญาที่กำลังจะสิ้นสุดในวันที่10ก.ย.นี้ ทั้งนี้ได้เกิดคดีความระหว่างกระทรวงและบริษัทไทยคมทั้งสิ้น3คดี ที่ปัจจุบันได้เข้าสู่ขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งมี3คน มาจากฝ่ายไทยคม1คน ,ดีอีเอส1คน,และอีก1คนเป็นประธาน

ซึ่งในทางปฏิบัติกระทรวงจะต้องส่งเรื่องไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.)เพื่อส่งตัวแทนมาเป็นอนุญาโตตุลาการ ก่อนจะมีการเสนอชื่อให้ทุกฝ่ายรับทราบต่อไป  แต่ทว่าเมื่อนายชัยวุฒิเข้ามาทำหน้าที่กลับมีหนังสือส่งลงนามโดยปลัดกระทรวงวันที่11มิ.ย.2564 ถึงอสส.เปลี่ยนตัวนางสุราง นาสมใจ ผู้ตรวจการอัยการ อนุญาโตตุลาการที่ฝ่ายกระทรวงเคยตั้งขึ้น โดยให้เป็นคนเดียวทั้ง3คดี โดยอ้างว่าทั้ง3คดีเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินทุกคดีเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

หลังจากนางสุรางทำหนังสือถึงกระทรวงเพื่อถามความชัดเจนถึงข้อกล่าวหาที่ถูกกล่าวหาทั้งที่การทำหน้าที่อนุญาโตฯในช่วงที่ผ่านมาฝ่ายไทยคมไม่เคยคัดค้าน  ปรากฏว่า กระทรวงยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงเเรื่องดังกล่าว

ทำให้นางสุรางได้ทำหนังสือโต้แย้งฉบับที่2นะบุถึงความไม่ชอบมาพากลหลังนายชัยวุฒิรับตำแหน่งรมว.ดีอีเอส และอาจมีการใช้อำนาจขัดต่อกฎหมาย อีกทั้งยังพบว่า อสส.มีการตั้งลงนามตั้งตัวเองเข้ามาทำหน้าที่ทั้งที่เคยถูกตั้งคำถามในเรื่องการทำหน้าที่ในช่วงที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลที่เข้ามาเป็นอนุญาโตฯ คนดังกล่าวยังเข้าไปเรียนหลักสูตรนิติธรรมเพื่อประธาธิปไตย(นธป.) รวมรุ่นกับนักธุรกิจรายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทไทยคม ขอถามว่าการที่นายชัยวุฒิเลือกบุคคลดังกล่าวเข้ามาสังคมได้ประโยชน์อะไรในเรื่องนี้

นายรังสิมันต์ ยังกล่าวว่า ต่อมาวันที่วันที่7ก.ย.2564 หลังทำหน้าที่เพียง1เดือนปรากฏว่า อสส.ที่ทำหน้าที่เป็นอนุญาฯกลับถอนตัว และมีการตั้งเลขานุการของตนซึ่งเคยเป็นอนุญาฯแต่เดิมเข้ามาทำหน้าที่ แต่บุคคลดังกล่าวถอนตัว และมีการตั้งอดีตอธิบดีอัยการคนหนึ่งเข้ามาทำหน้าที่

นอกจากนี้ยังพบว่า บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเรียนหลักสูตรเดียวกับนักธุรกิจรายซึ่งถือหุ้นในบริษัทไทยคมอีกเช่นกัน ฉะนั้น การที่หนึ่งในคณะทำงานสู้คดีดาวเทียมไทยคม 7 และ 8 ให้กับฝ่ายกระทรวงดิจิทัลฯ ย่อมรู้จุดแข็งจุดอ่อนของข้อมูลและสำนวนคดี ไม่ต่างอะไรกับการเอาอดีตทนายความที่เคยถูกจ้างให้ทำคดีมาเป็นผู้พิพากษาในคดีเดียวกัน และย่อมเป็นที่กังขาถึงความเป็นกลาง ถึงความเป็นอิสระ ถึงประโยชน์ทับซ้อนได้

ดังนั้น ทั้งเรื่องสายสัมพันธ์ที่น่ากังขาและโดยตำแหน่งแล้ว ต่อให้สุดท้ายผลการพิจารณาออกมาชี้ขาดว่าฝ่ายกระทรวงฯ เป็นผู้ชนะ ก็จะถูกฝ่ายไทยคมฯ เอาไปเป็นเหตุขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาด โดยอ้างว่ากระทรวงฯ ตั้งคนที่ตัวเองรู้ดีว่าเป็นคณะทำงานสู้คดี มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตน

ทั้งนี้บริหารจัดการดาวเทียมทที่จะสิ้นสุดสัมปทานในเดินก.ย.64 เมื่อไม่สามารถทำตามแนวทางของ พ...การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ หรือที่เรียกกันว่า PPP (Public Private Partnership) ได้กระทรวง จึงเสนอแนะว่าควรมอบหมายให้บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเป็นผู้บริหารจัดการแทน

ปัจจุบัน CAT ได้ควบรวมกิจการกับ TOT ตั้งเป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลฯ หรือก็คือกำกับโดยชัยวุฒิ

นอกจากนี้ยังขอตั้งคำถามว่า ชัยวุฒิใช้ตำแหน่งรัฐมนตรีมาเอื้อประโยชน์บางบริษัทที่เคยเป็นกรรมการสุดท้ายแล้ว ผลประโยชน์ในวงการดาวเทียม เมื่ออยู่ภายใต้อำนาจของชัยวุฒิที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างนายรังสิมันต์อภิปรายมีส.ส.ซีกรัฐบาลลุกขึ้นประท้วงประเด็นที่นายรังสิมันต์ อภิปรายคนนอกอยู่เป็นระยะ โดยนายศุภชัย โพธิ์ศุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมได้กำลังชับให้นายรังสิมันต์ใช้ความระมัดระวังในประเด็นดังกล่าวเ