ศบค. เผยฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ติดโควิดได้ แต่อัตราตายต่ำ

ศบค. เผยฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ติดโควิดได้ แต่อัตราตายต่ำ

ศบค. เผยผลการรวบรวมข้อมูล 18 ก.ค. – 7 ส.ค. 64 ผู้เสียชีวิต 2,417 ราย ส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีน ขณะที่กลุ่มได้รับ 2 เข็ม สัดส่วนเสียชีวิต 0.5% เน้นย้ำ เร่งฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยง สูงวัย โรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์

วันนี้ (9 ส.ค. 64) ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน โดยระบุว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 19,603 ราย แบ่งเป็น ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 776,108 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 149 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมสูงถึง 6,259 รายแล้ว

162849434267

ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 6,353 รายแล้ว กลุ่มคนไข้อาการหนักที่ 5,218 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจอีก 1,084 ราย โดยวันนี้มียอดผู้ติดเชื้อหายกลับบ้าน 19,819 ราย ค่อนข้างใกล้เคียงกับยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ สัดส่วนการรายงานติดเชื้อต่างจังหวัดยังสูง 59% โดยกทม.ปริมณฑล 41%

162849434226

  • เสียชีวิตที่บ้าน 26 ราย  

สำหรับรายละเอียดผู้เสียชีวิต 149 ราย  อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 97 ราย คิดเป็น 65% และ อายุน้อยกว่า 60 ปี มีโรคเรือรัง 29 ราย คิดเป็น 19% รวมทั้งสองกลุ่มคิดเป็น 84% มีทารกอายุ 4 เดือน 1 ราย คิดเป็น 0.7% ชาวเมียนมา จ.สมุทรปราการ ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิตที่บ้านกว่า 26 ราย แบ่งเป็น กทม. 24 ราย และ ชลบุรี 2 ราย

162849434115

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

  • เด็กป่วยโควิดกว่า 3 หมื่นราย

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวต่อไปว่า หากดูข้อมูลจากเพจ ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย ซึ่งระบุว่า ในตัวเลขเด็กติดเชื้อ โควิด-19 ขณะนี้อยู่ที่ราว 3 หมื่นกว่าราย รายงานเสียชีวิต 9 ราย ในจำนวนนี้ 8 ใน 9 มีรายงานโรคประจำตัว

สิ่งที่ กรมควบคุมโรค อยากเน้นย้ำ คือ หากมีเด็ก สูงวัย ผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน มีคำแนะนำในการดูแลตัวเองสำหรับท่านที่ยังแข็งแรง ที่ต้องเดินทางไปทำงาน แนะนำให้แยกห้องนอน ผู้สูงอายุ หรือมีฉาก ม่านกั้น เน้นให้ผู้สูงอายุอยู่ในห้องอากาศถ่ายเท แยกของใช้ ชาม ช้อน ผ้าเช็ดตัว ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วม เช่น ตู้เย็น ลูกบิดประตู โถส้วม อ่างล้างหน้า ราวบันได

บางครอบครัวที่มีข้อจำกัด อาจให้ผู้สูงอายุเข้าห้องน้ำก่อนและทำความสะอาดบ่อยๆ ขณะที่ “กรมอนามัย” มีการออกคู่มือการอยู่ร่วมบ้านกับผู้สูงอายุ หรือเด็กเล็ก ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ ภายในบ้านอย่างไร สามารถศึกษารายละเอียดได้ สิ่งสำคัญ คือผู้สูงอายุ ที่ติดเตียง ต้องมีคนดูแล ช่วยพลิกตัว ป้อนอาหาร

162849434225

“กรมควบคุมโรค” แนะนำให้มีผู้ดูแลเพียงคนเดียว และควรจะเป็นคนที่มี การอยู่บ้านมากที่สุด เดินทางไปชุมชนน้อย ขณะที่การดูแลผู้สูงอายุต้องสวมหน้ากากอนามัย ด้านผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจ ควรสวมหน้ากากอนามัยให้ท่านด้วย อาจจะสวมถุงมือทิ้งขยะให้ถูกต้อง

ด้าน “กรมสุขภาพจิต” เน้นย้ำว่า ต้องสังเกตอาการ ผู้สูงอายุด้วย เพราะบางทีลูกหลาน เดินทางไปชุมชน ไปที่ทำงาน กลับมาบ้านอาจจะมีการติดเชื้อสู่ผู้สูงอายุ และไม่ทราบว่าผู้สูงอายุเจ็บป่วย หากมีอาการซึมลง รับประทานอาหารน้อย เหนื่อยมากขึ้น ต้องสังเกตอาการ วัดอุณหภูมิวันละ 2 ครั้ง การแยกส่วนพื้นที่ให้ผู้สูงอายุ อาจจะต้องใช้วิธีการวิดีโอคอล หรือโทรศัพท์คุยกันเพื่อไม่ให้ท่านรู้สึกอ้างว้าง

 

  • ฉีดวัคซีนครบ อัตราตาย 0.5%

สำหรับเคสผู้เสียชีวิตที่รวบรวมจาก 18 ก.ค. – 7 ส.ค. 64 จำนวน 2,417 ราย พบว่า มีกลุ่มเสียชีวิตที่ไม่ได้รับวัคซีน 838 ราย ค่อนข้างเป็นตัวเลขใหญ่ ขณะที่กลุ่มเสียชีวิตหลังจากได้รับวัคซีน 1 เข็ม ระยะติดเชื้อน้อยกว่า 2 สัปดาห์ 149 ราย และ ผู้ได้รับวัคซีน 1 เข็ม เกิน 2 สัปดาห์ มีการติดเชื้อเสียชีวิต 82 ราย และกลุ่มเสียชีวิตได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 13 ราย เป็นตัวเลขที่เล็กที่สุด คิดเป็น 0.5%

162849434266

“จึงเป็นข้อสำคัญ ที่สธ.พยายามเน้นย้ำในการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง หญิงตั้งครรภ์ และจะเห็นว่าแม้ติดเชื้อ เสียชีวิต คนที่ฉีดวัคซีนแล้วก็มีอัตราเพียง 0.5%” 

  • ฉีดวัคซีนแล้ว 20.6 ล้านโดส 

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 8 ส.ค. 2564) รวม 20,669,780 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 8 สิงหาคม 2564  ยอดฉีดทั่วประเทศ 191,145 โดส


เข็มที่ 1 : 143,071 ราย


เข็มที่ 2 : 23,693 ราย


เข็มที่ 3 : 24,381 ราย

ได้รับวัคซีนสะสม

 

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 15,986,354 ราย 

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 4,461,861 ราย 

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 221,565 ราย

162848862022

  • ยืนยัน ฟาวิพิราเวียร์ เพียงพอ 

สำหรับ เรื่องของ ยาฟาวิพิราเวียร์ พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ที่ประชุม ยืนยันว่า สต็อกยา โดยองค์การเภสัชกรรม มีการนำเข้าเพียงพอ โดย 7 ส.ค. มาอีก 2.5 ล้านแคปซูล และน้อมรับข้อร้องเรียนของผู้ป่วย ญาติ และสถานบริการขนาดเล็ก อาจจะมีการรับยาไม่ทันท้วงที จากการกระจาย ตอนนี้ทีมบริหารจัดการ พยายามเร่งแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด และจะนำเรียนความคืบหน้าให้ทราบ