เปิดแนวทางรักษา 'ผู้ป่วยโควิด 19' ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงสูงอายุ

เปิดแนวทางรักษา 'ผู้ป่วยโควิด 19' ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงสูงอายุ

ทุกวันจะมีข่าวผู้เสียชีวิตที่บ้าน เพราะต้องรอเตียงในโรงพยาบาล ขณะเดียวกันจำนวน 'ผู้ป่วยโควิด 19' รายใหม่ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 'วิกฤตเตียงเต็ม' ห้องไอซียูแน่นจนขยายไม่ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่กทม.

เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2564 ที่ผ่านมา กรมการแพทย์ ได้ปรับปรุง แนวทางในการดูแลรักษา 'ผู้ป่วยโควิด 19' อีกครั้ง (หลังจากมีการปรับปรุงมาแล้วหลายรอบ)  และต่อให้เป็นแนวทางการ 'รักษาโควิด 19' เวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของของแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข แต่มีหลายส่วนที่ประชาชนควรรับทราบ 

 ‘กรุงเทพธุรกิจ’ ได้สรุปรวบรวมมาให้ดังนี้

  • อาการที่จะได้ตรวจหาเชื้อเข้าสู่การรักษา

มีประวัติไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5°C ขึ้นไป

ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย

หายใจลําบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว

มีประวัติเสี่ยง ในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มป่วย อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

- เดินทางไปหรือมาจากหรืออยู่อาศัยในประเทศที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 1 เดือน ย้อนหลังนับจากวันที่ออกจากพื้นที่นั้น

- สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโควิด 19

- ไปในสถานที่ชุมนุมชนหรือสถานที่เสี่ยง 

- ทำงานในสถานกักกันโรค

- ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่แพทย์สงสัยว่าเป็นโควิด

- เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่อาการและแพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็นโควิด 19

- พบผู้มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเป็นกลุ่มก้อนตั้งแต่ 5 ราย ขึ้นไป

- ผู้สัมผัสเสี่ยงสงู ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ

  • 4 กลุ่มอาการที่ตามระดับความรุนแรง

1.ผู้ป่วยไม่มีอาการอื่น ๆ หรือสบายดี

ข้อแนะนํา:

-ให้แยกกักตัวที่บ้าน หรือในสถานที่รัฐ จัดให้อย่างน้อย 14 วัน

- ให้ยาฟ้าทะลายโจร ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์

2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง

ข้อแนะนำ:

-พิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เร็วที่สุด

-หากตรวจพบเชื้อมาเกิน 7 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่จําเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้น่าจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

-ให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่รัฐจัดให้ 14 วัน

-หากเข้าเกณฑ์รักษาแบบ home isolationหรือ community isolation ก็สามารถให้การรักษาได้ โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค เป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง

3.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง แต่ที่มีปอดบวม (pneumonia) เล็กน้อย/มีปัจจัยเสี่ยง คือ

-กลุ่มผู้สูงอายุ มากกว่า 60 ปีขึ้นไป  และ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง. โรคอ้วน(น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ≥30 กก./ตร.ม.) โรคมะเร็ง และ โรคเบาหวาน รวมถึงตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำา และ lymphocyte น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม.

ข้อแนะนำ:

-ให้รักษาในโรงพยาบาลโดยให้อยู่ในระบบการรักษาและการแยกโรคอย่างน้อย14วันนับจากวันที่เริ่มมี อาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น

-ให้ยาฟาวิพิราเวียร์  โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุดให้ยานาน5วัน หรือมากกว่า ขึ้นกับอาการและความเหมาะสมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

- พิจารณาให้corticosteroidร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์  ในกรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการและภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง

4.ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดบวมที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 ≥3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates

ข้อแนะนำ:

-ให้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์  เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก

-อาจพิจารณาให้lopinavir/ritonavir5-10วันร่วมด้วย(ตามดุลยพินิจของแพทย์)

  • วิธีดูแล'ผู้ป่วยโควิด 19' อายุน้อยกว่า 15 ปี 

มีการให้ใช้ยาในการรักษาจําเพาะดังนี้

1.กลุ่มไม่มีอาการ

-ให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์

2.กลุ่มมีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดบวม ไม่มีปัจจัยเสี่ย

-ให้ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5 วัน

3.กลุ่มที่อาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการปอดบวมเล็กน้อย และอายุน้อยกว่า 1 ปี หรือมีภาวะเสี่ยงอื่น ๆ เหมือนเกณฑ์ในผู้ใหญ่

-ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5 โดยแพทย์พิจารณาตามความเหมาะสม

4.กลุ่มที่มีอาการปอดบวม หายใจเร็วกว่าอัตราการหายใจตามกําหนดอายุ

-ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5-10 วัน (อาจพิจารณาให้ร่วมกับ lopinavir/ritonavir เป็นเวลา 5-10 วัน)

  • การใช้ยาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

การใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ในหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิด teratogenic effect

- ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนเริ่มยานี้ ให้พิจารณาเริ่ม ยาต้านไวรัส ตามข้อบ่งชี้เช่นเดียวกับผู้ป่วยอื่นๆ

-หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาศที่ 1ที่อาการไม่รุนแรงไม่มีปอดอักเสบให้รักษาตามอาการ

-หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ที่มีปอดอักเสบ อาจพิจารณาใช้ remdesivir เนื่องจากมีข้อมูลความปลอดภัย

162735664532

-หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3 ถ้าแพทย์พิจารณาใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง โดยเป็นการตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยและญาติ แต่ถ้ามีปอดอักเสบ อาจพิจารณาใช้ remdesivir

-การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกแบบ vertical transmission นั้น พบประมาณร้อยละ 2-5 และส่วนใหญ่ของทารกไม่เกิดอาการรุนแรง การรักษาจึงเน้นการรักษาแม่เป็นหลัก

-การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อบ่งชี้ในการพิจารณาให้ remdesivir กรณีหญิงตั้งครรภ์ที่มีปอดอักเสบ

  • ใช้ 'ยาฟ้าทะลายโจร'ในการรักษาโควิด 19

อย่างที่ทราบกันดีว่า ยาฟ้าทะลายโจร อาจมีฤทธิ์ anti-SARS-CoV-2, anti-inflammatory และลดอาการไข้หวัด เจ็บคอ 

-มีการพิจารณาใช้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ไม่มีปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิด โควิด 19 รุนแรง และไม่มีข้อห้ามต่อการใช้ ฟ้าทะลายโจร

-ข้อมูลจากการศึกษาเบื้องต้น พบว่าอาจช่วยลดโอกาสการดําเนินโรคไปเป็นปอดอักเสบได้ ขณะนี้กําลังมีการศึกษาเพิ่มเติม

-ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาผลการใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาต้านไวรัสชนิดอื่น และไม่แนะนําให้ใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด 19

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 4แนวทาง รักษา 'ผู้ป่วยโควิด-19' และชนิดของยาที่ใช้รักษา

                    เช็ค 4 หลักเกณฑ์ กทม.แยกผู้ป่วย 'โควิด-19' รักษาตัวที่บ้าน

                    สธ.ปรับแผนใช้ ‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ใช้กับผู้ป่วยทุกกลุ่มเสี่ยง                  

  • ส่งต่อ 'ผู้ป่วยโควิด 19' ต้องปฎิบัติตามนี้

 1.กลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่ไม่มีอาการ

-ให้แยกกักที่บ้านหรือสถานที่รัฐจัดให้

2.กลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการไม่รุนแรง ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ โรคร่วมสําคัญ

-ให้แยกกักที่บ้านหรือสถานที่รัฐจัดให้ หรือ โรงพยาบาล

3.กลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย มีปัจจัยเสี่ยง/ โรคร่วมสําคัญ

-ให้ส่งไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่รัฐจัดให้

4.กลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการปอดอักเสบ หรือ มี SpO2 ที่ room air น้อยกว่า 96%

- ให้ส่งไปยังโรงพยาบาล

ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเกินกว่าที่โรงพยาบาลต้นทางจะดูแลได้ ควรส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่ายที่ศักยภาพสูงกว่า นั้น โรงพยาบาลต้นทาง ควรประสานการส่งต่อผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก

  • กักตัว 14 วันหลังรักษาโควิดหาย

อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว ต้องปฎิบัติดังต่อไปนี้

1.งดออกจากบ้านไปยังชุมชนทุกกรณี ยกเว้นการเดินทางไปโรงพยาบาลโดยการนัดหมายและการจัดการโดยโรงพยาบาล

2.ให้แยกห้องนอนจากผู้อื่น

- ถ้าไม่มีห้องนอนแยกให้นอนห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย3-5เมตร

- ต้องเป็นห้องที่เปิดให้อากาศระบายได้ดี

-ผู้ติดเชื้อนอนอยู่ด้านใต้ลม หากไม่สามารถจัดได้อาจจะต้องให้ผู้ติดเชื้อพักที่ศูนย์แยกโรคชุมชน

จนพ้นระยะการแยกโรค

3.ถ้าแยกห้องน้ำได้ควรแยก

-ถ้าแยกไม่ได้ให้เช็ดพื้นผิวที่มีการสัมผัสด้วยน้ำยาทําความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์หลังการใช้ทุกครั้ง

4.การดูแลสุขอนามัยให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น

5.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจํา โดยเฉพาะหลังจากถ่ายปัสสาวะ หรืออุจาระหรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์70%

6.ไม่รับประทานอาหารร่วมวงกับผู้อื่น

7.หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะไม่เกิน 2 เมตร การพบปะกันให้สวมหน้ากากตลอดเวลา

8.ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอรับประทานอาหารที่สุก สะอาด และมีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ

9.หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบหายใจไม่สะดวก เบื่ออาหารให้ติดต่อสถานพยาบาล หากต้องเดินทางมา สถานพยาบาลแนะนําให้สวมหน้ากากระหว่างเดินทางตลอดเวลา

10.หลังจากครบกำหนดการกักตัวตามระยะเวลานี้แล้วสามารถประกอบกิจกรรมทางสังคมและทํางานได้ตามปกติตาม