'ศบค.มท.' สั่งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ยึด 6 มาตรการเข้มงวด เร่งคุม 'โควิด' ระบาด

'ศบค.มท.' สั่งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ ยึด 6 มาตรการเข้มงวด เร่งคุม 'โควิด' ระบาด

"ศบค.มท." สั่งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ยึด 6 มาตรการเข้มงวดลดการเดินทาง เร่งตรวจเชิงรุกควบคุม "โควิด" ระบาด

วันที่ 20 .. ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) เปิดเผยว่าด้วยนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ..2548 (ฉบับที่ 28) ลงวันที่ 17 ..64 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ที่ 10/2564 ลงวันที่ 17 ..64 กำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด 53 จังหวัด พื้นที่ควบคุม 10 จังหวัด และพื้นที่เฝ้าระวังสูง 1 จังหวัด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 .. เป็นต้นไป

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ และกรุงเทพมหานคร รับทราบและถือปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ และคำสั่งฯ ดังกล่าว โดยเคร่งครัด พร้อมสร้างการรับรู้แก่ผู้ประกอบการพนักงาน ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ได้ทราบว่ามาตรการตามข้อกำหนดฯ ดังกล่าวมีความมุ่งหมายเพื่อลดการออกนอกเคหสถานของประชาชน และชะลออัตราการระบาดที่รุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) นอกจากนี้ ให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่24) ลงวันที่ 19 มิ..64 ข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิ.. 64 และข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 .. 64 ใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดฯ ฉบับล่าสุด

สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้เน้นย้ำให้กรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครปฐม นนทบุรีปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสงขลา หารือกับคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ประสานการปฏิบัติกับฝ่ายทหารตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางระบบและกำกับติดตามให้เป็นไปตามมาตรการ ได้แก่ 

1.การลดและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทาง โดยให้ประชาชนเลี่ยง จำกัด หรืองดเว้นภารกิจที่ต้องเดินทางออกนอกเคหสถานหรือที่พำนักโดยไม่จำเป็น กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่ง พึงใช้ความระมัดระวังในการป้องกันตนเองตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยให้กรุงเทพมหานครและจังหวัด ประสานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ สมาคม ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม อาสาสมัคร และจิตอาสา ให้ความช่วยเหลือและกระจายอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเปราะบาง

2.ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 - 04.00 . ของวันรุ่งขึ้น ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน นับแต่วันที่ข้อกำหนดฉบับนี้ใช้บังคับ กรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นฯ ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอย่างอื่น และเอกสารรับรองความจำเป็น เอกสารเกี่ยวกับสินค้า บริการการเดินทาง หรือหลักฐานอื่น ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยกรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นฯ ตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) ได้แก่ การสาธารณสุข การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน การขนส่งหรือขนย้ายประชาชน การให้บริการหรืออำนวยประโยชน์หรือความสะดวกแก่ประชาชน และการประกอบอาชีพที่จำเป็น ให้หน่วยงาน หรือบริษัทหรือสถานประกอบการต้นสังกัด แล้วแต่กรณี เป็นผู้ออกเอกสารรับรองความจำเป็นฯ สำหรับกรณีอื่น นอกเหนือจากบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ให้ขอเอกสารรับรองความจำเป็นฯ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้อำนวยการเขตหัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่

3.การตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มีความมุ่งหมายเพื่อคัดกรอง ชะลอ หรือสกัดกั้นการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดไปยังพื้นที่อื่น โดยให้พิจารณาจัดตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัดในพื้นที่เขตติดต่อระหว่างจังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด กับจังหวัดอื่นในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม ราชบุรีกาญจนบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช พัทลุง และสตูล โดยประสานการดำเนินการให้สอดคล้องกับจังหวัดพื้นที่รอยต่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัด รวมทั้งทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความมุ่งหมายของมาตรการและกรณีข้อยกเว้นสำหรับบุคคลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเดินทางข้ามเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดไปยังพื้นที่อื่นตามข้อกำหนด คือกรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นฯ ตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) หากมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเดินทาง ให้แสดงหลักฐานหรือเอกสารซึ่งต้นสังกัด แล้วแต่กรณีเป็นผู้ออกเอกสารรับรองความจำเป็นฯ และกรณีบุคคลทั่วไป สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์หยุดเชื้อ เพื่อชาติ (https://covid-19.in.th/)” และแสดง QR Code ต่อเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ ด่านตรวจ และจุดสกัด 

4.มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร/คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ เพื่อมีคำสั่งปิดสถานที่หรือกิจการที่มีความเสี่ยง ต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นระยะเวลา 14 วัน ทั้งนี้ การยกเว้นสถานที่หรือกิจการที่ให้เปิดดำเนินการได้ตามข้อกำหนดฯ ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด

5.ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 5 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค โดยกรณีกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้จัดกิจกรรมได้ หากประสงค์จะจัดกิจกรรมในช่วงระยะเวลานี้ ให้ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมดังกล่าวดำเนินการขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อตรวจสอบและทบทวนมาตรการป้องกันโรคในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับห้วงเวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

6.ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ สั่งการให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรในความรับผิดชอบดำเนินมาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งขั้นสูงสุดเต็มจำนวน และมุ่งเน้นการปฏิบัติงานหรือจัดกิจกรรมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มากที่สุด รวมทั้งให้งดการจัดกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดการรวมกลุ่มหรือเคลื่อนที่ของคนจำนวนมาก สำหรับการปฏิบัติงานของภาคเอกชน ให้ทำความเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรของสถานประกอบการ บริษัท ปฏิบัติตามมาตรการเช่นเดียวกัน กรณีสถานประกอบการที่มีพนักงานพักอาศัยอยู่ภายนอกสถานประกอบการ ให้พิจารณาลดกำลังการผลิต หรือปรับปรุงรูปแบบการทำงาน หรือจัดให้มีที่พักในสถานประกอบการตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อลดและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางของบุคคล

สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง (64 จังหวัด) ให้จังหวัดในพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่ติดต่อกับจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด สมุทรสงคราม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรีระยอง นครศรีธรรมราช พัทลุง และสตูล ประสานการปฏิบัติกับฝ่ายทหาร ตำรวจ และจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ในการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจหรือจุดสกัด เพื่อให้ประสานสอดคล้องกัน พร้อมทั้งเน้นย้ำการคัดกรองผู้เดินทางเพื่อเข้าสู่ระบบการเฝ้าสังเกตอาการ ที่พำนัก โดยกำชับและเน้นย้ำทุกอำเภอจัดเก็บข้อมูลผู้ที่เดินทางเข้าหมู่บ้าน/ชุมชน ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานกรรมการชุมชนอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด หารือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วางมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่ ได้แก่ การตรวจหาเชื้อโควิด - 19 โดยวางระบบการตรวจหาเชื้อโควิด - 19 แบบ Antigen Test Kit (ATK) ควบคู่กับการเร่งดำเนินการในการตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วยการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR เพื่อลดการแออัดในการขอตรวจกับจุดตรวจต่างๆ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายและขั้นตอนการดำเนินการให้ชัดเจน หากผลยืนยันเป็นบวกและไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย ให้เข้าสู่กระบวนการแยกกักตัวที่บ้าน(Home Isolation : HI) หรือการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation : CI)

รวมไปถึงให้เตรียมพร้อมการจัดสถานที่รองรับผู้ติดเชื้อ ตามศักยภาพของพื้นที่ ได้แก่ 1.ระบบการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation : HI) 2.การแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolationi:iCI) 3.โรงพยาบาลสนาม 4.Hospitel 5.ICU สนาม โดยประสานการปฏิบัติ กำหนดมาตรการกำกับดูแล และการเบิกจ่ายงบประมาณ กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรณีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด มีมติให้ออกประกาศหรือคำสั่ง ให้ส่งประกาศหรือคำสั่งให้ ศบค.มท. ทราบโดยเร็ว เพื่อรายงานสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป รวมทั้งให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบประกาศหรือคำสั่งโดยทั่วกัน