'ผู้สูงอายุ' เกือบ 100 % ไม่ได้ฉีดวัคซีน เสี่ยงเสียชีวิตพุ่ง

'ผู้สูงอายุ' เกือบ 100 % ไม่ได้ฉีดวัคซีน เสี่ยงเสียชีวิตพุ่ง

ท่ามกลางการระบาดของสายพันธุ์ 'เดลตา' ที่กระจาย 72 จังหวัด 'ผู้สูงอายุ' นับเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ป่วยหนัก และเสียชีวิต จากการสำรวจจาก CCR Team พบผู้สูงอายุเกือบ 100% ไม่ได้ ฉีดวัคซีน ชุมชนเมืองซับซ้อน เข้าไม่ถึงการรักษา

การระบาดของโควิด-19 ทั้งกทม. ปริมณฑล และกระจายไปทั่วประเทศ ข้อมูลล่าสุด 19 ก.ค. 64 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 11,784 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 81 ราย โดยสายพันธุ์ 'เดลตา' ระบาดกว่า 62% ใน 72 จังหวัด เฉพาะกทม.เจอ 77% รวมถึง เบต้า ที่ระบาดในชายแดนใต้ ซึ่ง ศบค. คาดการณ์ว่าหากไม่มีมาตรการคุมเข้ม ไทยพบ “ผู้ป่วยรายใหม่” ได้สูงสุดถึง 31,997 รายต่อวัน และหากไม่ได้ ฉีดวัคซีนโควิด-19 มากกว่านี้ จะพบผู้ป่วยรายใหม่ 2 หมื่นกว่ารายต่อวัน

ขณะเดียวกัน จากการลงพื้นที่ของ ทีมปฏิบัติการเชิงรุก Comprehensive COVID-19 Response Team (CCR Team) โดยความร่วมมือ กระทรวงสาธารณสุข และกทม. รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ เช่น คลินิกชุมชนอบอุ่น ภาคเอกชน ภาคประชาชน พบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนที่ซับซ้อนเกือบ 100% ไม่ได้ฉีดวัคซีน เพราะลงทะเบียนไม่เป็น หรือลงทะเบียนได้ แต่ไม่มีผู้พาไปฉีดวัคซีน ซึ่งมีความกังวลว่า หากไม่ดำเนินการฉีดวัคซีนภายในระยะเวลานี้ ภายใน 7-14 วัน ภาพสถานการณ์ไม่เกิน 1 เดือนข้างหน้า กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้อาจติดเชื้อ ซึ่งจะมีโอกาสอาการรุนแรง เสียชีวิตได้

เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ติดต่อได้ทางละอองฝอยของสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอจามหรือการพูดคุยใกล้ชิด ในระยะ 1-1.5 เมตร และการสัมผัสสารคัดหลั่งที่อยู่ตามสิ่งของต่างๆ แล้วไปโดนเยื่อบุต่างๆ เช่น ตา จมูก ปาก ประกอบกับการแพร่เชื้อสามารถติดต่อจากผู้ที่ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการได้

หากมีการติดเชื้อในผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรงรวมถึง ผู้สูงอายุ จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป เนื่องด้วยสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรังโรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

  • 'ผู้สูงอายุ' 10 ราย จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย

ขณะเดียวกัน มาตรการล็อกดาวน์ในจังหวัดที่มีการระบาดและติดเชื้อสูง ทำให้ประชานประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง รวมทั้งผู้สูงอายุ เก็บตัวอยู่ในบ้านให้มากที่สุด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุจำนวนมากต้องการการดูแลจากญาติหรือผู้ดูแลที่ยังมีความจำเป็นต้องออกไปนอกบ้านเพื่อทำงาน หรือ ไปซื้อของกินของใช้เข้ามาในบ้าน จึงมีโอกาสนำเชื้อจากภายนอกมาสู่ผู้สูงอายุ ซึ่งจากรายงาน ศบค. พบว่า ผู้สูงอายุ 10 ราย จะมีผู้เสียชีวิต 1 ราย ถือเป็น 10% นับว่าเป็นอัตราที่สูง

สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รายงานสถิติผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในกรุงเทพฯ ผ่านเฟซบุ๊ก ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-16 ก.ค.64 จำนวน 1,422 ราย เป็นชาย 55% หญิง 45% โดยพบว่ากลุ่มที่เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ กลุ่มอายุ 61-70 ปี จำนวน 356 ราย รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 71-80 ปีเสียชีวิต 305 ราย กลุ่มอายุ 51-60 ปี เสียชีวิต 287 ราย และกลุ่มอายุ 41-50 ปี เสียชีวิต 118 ราย ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯ มีผู้สูงอายุ จำนวน 1,669,072 คน

  • สังเกต 'ผู้สูงอายุป่วยโควิด'

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรง และปลอดภัยจากเชื้อดังกล่าวเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก "นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์” อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า ผู้สูงอายุมีภูมิต้านทานโรคค่อนข้างต่ำ ทำให้ติดเชื้อง่ายกว่าวัยอื่นๆ ทั้ง  3 กลุ่ม คือ 

1.กลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี ซึ่งผู้สูงอายุกลุ่มนี้มักจะออกไปมีปฏิสัมพันธ์นอกบ้าน กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อค่อนข้างสูง

2.กลุ่มติดบ้าน จะมีความปลอดภัย แต่จะต้องระวังว่าคนในครอบครัวจะนำเชื้อจากภายนอกเข้ามาติดผู้สูงอายุได้

3.กลุ่มติดเตียง ซึ่งมีทั้งที่อยู่บ้าน และอยู่ในสถานพยาบาล หากจ้างผู้ดูแลจากภายนอกจะต้อง มีการวัดไข้ ล้างมือ ฟอกสบู่ให้เรียบร้อยใส่หน้ากากอนามัยก่อนเข้าบ้าน

“กลุ่มติดเตียงที่อยู่ในสถานดูแลของภาครัฐและเอกชน จะต้องเน้นการคัดกรองผู้ที่มาเยี่ยม และต้องล้างมือก่อนสัมผัสตัวผู้สูงอายุทุกครั้ง ทั้งนี้ ผู้ที่ดูแล ผู้สูงอายุ ควรสังเกตว่าผู้สูงอายุผิดปกติ วิธีการสังเกตว่าผู้สูงอายุติดเชื้อ กรณีที่ผู้สูงอายุมีการติดเชื้อเกิดขึ้น อาการอาจไม่ชัดเจนและไม่ตรงไปตรงมา เช่น อาจไม่มีไข้ หรืออาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ซึมสับสนเฉียบพลัน ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่อาการจะรุนแรงมากกว่าในวัยอื่นๆ”

162670576516

 

 

  • สูงอายุ ป่วยโควิด จุดอยู่ในกลุ่มสีเหลือง

“นพ.สกานต์ บุนนาค” ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ติดเชื้ออายุเกิน 65 ปีขึ้นไป จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วย “สีเหลือง” หรือ ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง โดยผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะต้องถูกส่งไปยังโรงพยาบาลหลักเท่านั้น ไม่สามารถส่งเข้า รพ.สนาม หรือ Hospital ทั่วไปได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หากไม่มีญาติติดเชื้อด้วย

กลุ่มนี้หากติดเชื้อต้องเข้าเฉพาะโรงพยาบาลหลักเท่านั้น ไม่สามารถเข้าโรงพยาบาลสนาม หรือ Hospital ได้เลยเพราะ รพ.สนาม กับ Hospital ผู้ป่วยต้องดูแลตัวเองได้และบุคลากรทางการแพทย์จะอยู่วงนอก แต่ถ้าอยู่โรงพยาบาลหลัก เจ้าหน้าที่จะต้องสวมชุด PPE คอยดูแลแทน” นพ.สกานต์ ระบุ

การดูแล 'ผู้สูงอายุ' ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แนะให้ยึดหลัก 5 อ. ดังนี้ 

1. อาหาร ต้องสะอาด ปรุงสุกใหม่ เลี่ยงอาหารรสจัด เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง และครบ 5 หมู่ และต้องรักษาสุขภาพช่องปาก 

2. ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือเท่าที่ทำได้ตามสภาพร่างกายและสมองของผู้สูงอายุ

3. อารมณ์ หากิจกรรมที่ชื่นชอบและมีความสุข ไม่ทำให้เครียด หลีกเลี่ยงสุราและยาเสพติด

หากมีความเครียดให้ปรึกษาผู้รู้ใจหรือสายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร.1323 4. เอนกายพักผ่อน การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง/วัน และ 5. ออกห่างจากสังคมนอกบ้าน ทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแล ไม่ควรออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น