สรุป! 'ล็อกดาวน์' 13 จังหวัด 'พื้นที่สีแดงเข้ม' ประชาชน-กิจการ ทำอะไรได้บ้าง?

สรุป! 'ล็อกดาวน์' 13 จังหวัด 'พื้นที่สีแดงเข้ม' ประชาชน-กิจการ ทำอะไรได้บ้าง?

อัพเดทล่าสุด "ล็อกดาวน์" 13 จังหวัด "พื้นที่สีแดงเข้ม" ประชาชนและกิจการ สามารถทำอะไรได้บ้าง พร้อมย้ำขอความร่วมมือปฎิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

หลังจากที่ ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศยกระดับ 13 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ซึ่งมีการกำหนดมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น โดยจะมีการลดการเคลื่อนย้ายเดินทางประชาชน ห้ามออกนอกเคหะสถาน ยกเว้น จัดหา อาหาร ยา เวชภัณฑ์ ส่วน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เปิดได้ถึง 20.00 น. และห้ามรวมกลุ่มเกิน 5 คน ซึ่งจะมีผลในวันที่ 20 ก.ค.2564 นี้

ทว่าหลายมาตรการที่ประกาศออกมา ทำให้ประชาชนและกิจการต่างๆ เกิดความสับสนว่าตกลงอะไรทำได้บ้างหรือห้ามทำ    

162668549068
          

วันนี้ (19 ..2564 ) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้กล่าวถึงมาตรการที่ประชาชนและกิจการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือ พื้นที่สีแดงเข้ม

ประกอบไปด้วย 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครปฐม นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา ยะลา สงขลา สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร 

  

  • ประชาชน-กิจการควรรู้ มาตรการคุมเข้มอะไรทำได้-ไม่ได้

สำหรับมาตรการที่กำหนดให้ประชาชนและกิจการใน พื้นที่สีแดงเข้ม ที่ต้องปฎิบัติ มีดังนี้

1. ห้ามออกนอกเคหะสถาน ตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. ต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน ยกเว้นได้รับอนุญาต 

2. งดการเดินทางในพื้นที่ และงดการเดินทางข้ามจังหวัด ยกเว้นการเดินทางเพื่อซื้อเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การพบแพทย์ การรับวัคซีน 

3. ให้ Work from home100% ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และความร่วมมือจากภาคเอกชน ส่วนฝ่ายเอกชน ขอความร่วมมือให้ประชุมในที่ประชุมรือจัดปฎิบัตินอกสถานที่ตั้งขั้นสูงสุดเช่นกัน 

4. ถ้าจำเป็นต้องเดินทาง ต้องมีเอกสารหรือคิวอาร์โค้ดเพื่อใช้ในการเดินทางเข้าออก

5. ในส่วนของระบบขนส่ง ให้กระทรวงคมนาคม กทม.  หรือหน่วยงานรับผิดชอบ กำกับดูแลต้องมีการจำกัดจำนวนผู้โดยสารให้ไม่เกินร้อยละ 50 ของความจุผู้โดยสารสำหรับยานพาหนะแต่ละประเภท ทั้งประเทศตอนนี้ให้ลดการเดินทางทั้งหมด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

162668553052

6. มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน คงเดิม ร้านค้าต่างๆ สามารถขายได้ถึงเวลา 20.00 .

7. การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยง การรวมกลุ่มมากกว่า 5 คน  และให้มีการอบรม สัมมนาของภาครัฐ ขอให้ประชุมอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก

8. สำหรับห้างสรรพสินค้ามีตัวเลขการติดเชื้อรายวัน หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันให้เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต และแผนกยา เวชภัณฑ์เท่านั้น  รวมถึงพื้นที่ที่เป็นการให้บริการฉีดวัคซีน และ เปิดได้ถึง 20.00 .เท่านั้น

9. ส่วนห้างที่ขายวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ไม่มีการเปิดให้บริการ 

10. สำหรับโรงแรม งดการจัดเลี้ยง สัมมนาต่างๆ

11. ตลาดสด และ ร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นเป้าหมายการติดเชื้อ แต่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของผู้คน สามารถเปิดได้ถึง 20.00 .เท่านั้นและปิดถึง 04.00 . ในวันรุ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ขอให้แต่ละจังหวัดได้ไปดูในพื้นที่ต่างๆ หากมีการติดเชื้อสูงขึ้นขอให้จังหวัดพิจารณาสั่งปิดได้ตามแต่ละเหตุผล ความจำเป็นของแต่ละพื้นที่

12. โรงเรียน สถาบันการศึกษาใช้วิธีการเรียนออนไลน์เท่านั้น

162668558326

13. ส่วนการดำเนินงานของโรงพยาบาล คลินิกรักษาโรค ร้านขายยา ร้านค้าทั่วไปโรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์  ธุรกรรมกรเงิน  ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ธุรกิจสื่อสารคมนาคม ไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ก่อสร้าง จำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั้มน้ำมัน ปั้มแก๊ส รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง ยังคงเปิดดำเนินการได้ตามความจำเป็น โดยให้ผู้เกี่ยวข้องปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด

14. ส่วนการรวมกลุ่มของคนที่ขออนุญาตและได้อนุญาตไปก่อนหน้านี้ ครั้งนี้ต้องทบทวนใหม่  ดังนั้น ขอให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตในการรวมกลุ่มไปก่อนหน้านี้ มาขออนุญาตใหม่จากเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ตรวจสอบและทบทวนมาตรการให้เข้มงวดมากขึ้น

15. สำหรับสถานออกกำลังกายกลางแจ้ง ร้านตัดผม ร้านทำเล็บ ให้แต่ละจังหวัด รอการประกาศของแต่ละจังหวัดว่าจะดำเนินการอย่างไร